ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม กำหนดศึกษาดูงานด้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ที่ อบต.คลองปาง อ.รัษฎา จ.ตรัง

วันที่ลงข่าว: 08/06/16

ที่ห้องประชุม อบต.คลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม พร้อมด้วยคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบรองรับสังคมสูงวัยและผู้ด้อยโอกาส และคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปเชิงประเด็น (Quick Win) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เดินทางมาศึกษาดูงาน และตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ ตลอดจนรับฟังปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ โดยมี นายวรวิทย์ ช้อนทอง นายอำเภอรัษฎา พร้อมด้วย นายก อบต.คลองปาง , อบต.เขาไพร , อบต.หนองปรือ , หัวหน้าส่วนราชการ , ปลัดอำเภอ และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับ

ทั้งนี้ นายวรวิทย์ ช้อนทอง นายอำเภอรัษฎา ได้สรุปข้อมูลและกิจกรรมการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของอำเภอรัษฎา ดังนี้ 1.ข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป อบต.เขาไพร จำนวนรับเบี้ยยังชีพ 231 คน อบต.คลองปาง 421 คน อบต.ควนเมา 712 คน อบต.หนองปรือ 800 คน อบต.หนองบัว 555 คน ทต.คลองปาง 271 คน รวม 2,990 คน อายุ 60 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยะ 12.68/*อายุ 50-60 ปี ร้อยละ 14.54 2.ขั้นตอนการดำเนินงานรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุการ (ไม่รวมผู้รับบำนาญ) ประชาสัมพันธ์ขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ 59 ปี ปีละครั้งทุกเดือนพฤศจิกายน จัดทำประกาศ อบต. ส่งข้อมูลให้ท้องถิ่นจังหวัด ได้รับเบี้ยยังชีพเริ่มปีงบประมาณเดือนตลาคม อายุ 60 ปี ผู้ที่ตกค้างรอปีถัดไป 3.กิจกรรมช่วยเหลือผู้สูงอายุด้านอื่นๆ ได้ดำเนินการซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส รายได้น้อยสภาพบ้านทรุดโทร ลูกไม่ดูแล และสร้างห้องน้ำให้ผู้สูงอายุที่ป่วย พิการ (อบต.หนองปรือ) 4.ในการด้านการพัฒนาผู้สูงอายุ ได้จัดตั้งชรมผู้สูงอายุตำบลที่มีการจัดตั้ง 2 ชมรม จำนวน 3 ตำบล คือ ควนเมา คลองปาง หนองปรือ ตำบลที่จัดตั้งชมรม 1 ชมรม มี 2 ตำบล คือ เขาไพร หนองบัว สถานีอนามัยร่วมกับ อปท.จำนวน 8 ชมรม (กองทุนใช้งบ สปสช. และท้องถิ่นตั้งสมทบ) และจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ (ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ) มีด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านจิตใจ ด้านอาชีพ ด้านนันทนาการ

สำหรับในด้านปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ นั้นมีดังนี้ 1.หน่วยงานดูแลผู้สูงอายุมีหลายหน่วยงาน (ระดับบน) แต่ละระดับพื้นที่ (อบต.) ไม่มีกฎหมายรองรับจึงมีข้อจำกันในการดูและผู้สูงอายุ (ซ้ำซ้อน จ่ายงบประมาณไม่ได้) 2.การดำเนินการสนับสนุนช่วยเหลือด้านการอุปกรณ์ อบต. ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้เนื่องจากต้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.เนื่องจากผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น งบประมาณด้านการช่วยเหลือมีจำกัดไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทั่วถึง 4.ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง เนื่องจากลูกหลานต้องทำงานไม่มีเวลาดูแล ไม่มีที่อยู่อาศัยไปอยู่ในที่สาธารณะประโยชน์) เช่าบ้านอยู่อาศัย ถูกทำร้าย 5.ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ย้ายที่อยู่ หลักฐานหาย (เกิดก่อน 2499) ไม่ได้รับสิทธิจากรัฐ 6.มีปัญหาสุขภาพ ความดัน เบาหวาน หัวใจ หลอดเลือด (กินหวานมันเค็ม กินงานศพมาก กินผักน้อย) 7.ผู้สูงอายุยากจนไม่มีที่ทำกิน ไม่มีรายได้ (ยังชีพด้วยเงินช่วยเหลือ) บางรายลูกหลานมาเอาเงินยังชีพไปอีก ขาดหลักประกัน 8.ปัญหาครอบครัวลูกเอาที่อยู่ไปจำนอง ไม่มีที่อยู่ โอนทรัพย์สินให้ลูกแล้วถูกทอดทิ้งไม่ดูแล

 

ที่มาของข่าว สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก