ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“สวนดุสิตโพล” เผยคนอาเซียนเชื่อเออีซีเศรษฐกิจเข้มแข็ง แต่ประชาชนขาดความพร้อมอาจเสียเปรียบ

วันที่ลงข่าว: 30/12/15

เผยความคิดเห็นของพลเมืองต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ของสวนดุสิตโพล เชื่อผลดีของการเข้าสู่เออีซี ทำให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง มีความเสรีทางการค้า ตลาดใหญ่ขึ้น สร้างรายได้เข้าประเทศ แต่เกิดการแข่งขันด้านแรงงานสูง ประเทศที่ประชาชนยังขาดความพร้อมอาจเสียเปรียบ ฝากถึงกลุ่มประเทศต่าง ๆ ทำงานร่วมกัน สามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ เคารพซึ่งกันและกันและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ส่วนเรื่องที่อยากให้ประชาคมอาเซียนให้ความสำคัญหรือเน้นมากที่สุด คือ การศึกษา

       

       วันนี้ (28 ธ.ค.) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้มีโครงการศึกษาดูงานสำนักโพล มหาวิทยาลัยและสื่อต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ประกอบด้วย มาเลเซีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว บรูไน เมียนมา เวียดนาม สิงคโปร์ และหน่วยงานในประเทศไทย และได้มีการดำเนินงานในลักษณะความร่วมมือกันเพื่อดำเนินการสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของพลเมืองอาเซียน ต่อ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558” เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของพลเมืองอาเซียนแต่ละประเทศต่อการรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน โดยได้สำรวจความคิดเห็นจากประชากรของ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ทั้งสิ้น 650 ตัวอย่าง สำรวจระหว่างเดือนมีนาคม-กันยายน 2558

       

       1. ความคิดเห็นของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558 กรณี “ผลดี - ผลเสีย”

       

       “ผลดี” ของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558

       

       1. ทำให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง มีความเสรีทางการค้า ตลาดใหญ่ขึ้น สร้างรายได้เข้าประเทศ 34.29%

       2. เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 18.11%

       3. เกิดความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีศักยภาพ เข้มแข็ง และสามารถแข่งขันกับทวีปอื่นได้ 12.50%

       4. คุณภาพชีวิตของประชาชนแต่ละประเทศดีขึ้น สังคมพัฒนามากขึ้น 10.26%

       5. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้รู้จักและเข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ 8.97%

       อื่น ๆ เช่น สามารถเดินทางเข้า - ออกประเทศในอาเซียนง่ายขึ้น เกิดการพัฒนาด้านการศึกษา เปิดโอกาสให้มีงานทำมากขึ้น เป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยว ได้รับบริการทางการแพทย์ที่ดี 15.87%

       

       “ผลเสีย” ของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558

       

       1. เกิดการแข่งขันด้านแรงงานสูง ประเทศที่ประชาชนยังขาดความพร้อมอาจเสียเปรียบ 25.06%

       2. การแข่งขันด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก กิจการขนาดเล็กได้รับผลกระทบ 22.35%

       3. ปัญหาสังคมเหลื่อมล้ำ เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ เนื่องจากแต่ละประเทศพัฒนาไม่เท่ากัน 14.00%

       4. ปัญหาการก่อการร้าย อาชญากรรม การค้ามนุษย์ อาจเกิดได้ง่ายขึ้น 13.77%

       5. ความแตกต่างทางด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 12.41%

       อื่น ๆ เช่น อาจสูญเสียเอกลักษณ์วัฒนธรรมของตนเอง มีปัญหายาเสพติด สังคมแออัด แรงงานต่างด้าวทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านการคมนาคม ขนส่งและภาคการเกษตร

       12.41%

       

       ความคิดเห็นของพลเมืองอาเซียน ต่อ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558

       

       2. สิ่งที่อยากฝากถึงกลุ่มประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมอาเซียน คือ

       

       1. การทำงานร่วมกัน สามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ เคารพซึ่งกันและกันและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข 42.34%

       2. ช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนให้อาเซียนเข้มแข็ง 15.17%

       3. เคารพวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน การรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดี ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น 11.86%

       4. สนับสนุนด้านการศึกษาและภาษาต่างประเทศ พัฒนาการศึกษาให้มีมาตรฐานทัดเทียมกัน 13.10%

       5. มีความยุติธรรม ซื่อสัตย์ เน้นความเสมอภาค เช่น มีมาตรฐานค่าจ้างแรงงาน ไม่ละเมิดสิทธิ 9.10%

       อื่นๆ เช่น มีมาตรการรักษาความปลอดภัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกฎระเบียบข้อบังคับให้ชัดเจน ดูแลด้านสาธารณสุข การรักษาโรค การป้องกันโรคติดต่อ 8.43%

       

       3. เรื่องที่อยากให้ประชาคมอาเซียนให้ความสำคัญหรือเน้นมากที่สุด คือ

       

       1. การศึกษา 14.87%

       2. เศรษฐกิจอาเซียน 14.41%

       3. ความมั่นคงอาเซียน 12.04%

       4. คุณภาพชีวิตของประชาชน 10.74%

       5. ส่งเสริมความร่วมมือกับนานาประเทศ 7.87%

       6. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 7.57%

       7. เทคโนโลยี 7.44%

       8. สังคมวัฒนธรรมอาเซียน 7.19%

       9. ด้านอาหาร 6.42%

       10. การแข่งขันกับนานาประเทศ 5.24%

       11. การเกษตร 5.18%

       12. คอร์รัปชัน 0.15%

       อื่น ๆ ปัญหาว่างงาน สุขภาพ การยึดครองที่ดิน ค่าตอบแทน เก็บภาษี 0.88%

ที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 28 ธันวาคม 2558
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก