ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

โปรเจ็กต์′ออนเทนนะ′ เพื่อผู้พิการทางหู

วันที่ลงข่าว: 02/11/15

"ทัต สึยะ ฮอนดะ" นักออกแบบยูสเซอร์ อินเตอร์เฟซ (ยูไอ) ชาวญี่ปุ่น เริ่มต้นทำ "โปรเจ็กต์ ออนเทนนะ" มาตั้งแต่ปี 2012 เมื่อตอนที่ยังเป็นนักศึกษาปี 4 ของฟิวเจอร์ ยูนิเวอร์ซิตี้ ฮาโกดาเตะ ในเมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น หลังจากได้พบและทำความรู้จักกับประธานสมาคมวิจัยทางภาพและเสียงแห่งฮาโกดา เตะ ผู้พิการทางหูซึ่งบังเอิญเดินทางมาเที่ยวชมมหาวิทยาลัย และฮอนดะอาสานำชมโดยใช้ภาษาท่าทาง

 

ฮอนดะไม่เพียงกลายเป็นนักวิจัย อาสาสมัครของสมาคม เท่านั้น ยังทุ่มความสนใจในการให้ความช่วยเหลือผู้พิการทางหูอย่างเต็มความสามารถ ตั้งแต่การเข้าเรียนภาษาสัญลักษณ์เพื่อสื่อสารกับผู้พิการทางหู, อาสาสมัครเป็นล่ามให้กับผู้พิการทางหู และจัดตั้งชมรมช่วยผู้พิการทางหูขึ้นในมหาวิทยาลัย ก่อนที่จะตัดสินใจทุ่มเวลาส่วนใหญ่ให้กับการพัฒนา "ออนเทนนะ" ขึ้นมาเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้ผู้พิการทางหูได้รับรู้และเข้าใจเสียงรอบ ตัว โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

 

ความพยายามของฮอนดะไม่สูญเปล่า หน่วยงานส่งเสริมวิศวกรรมซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานส่ง เสริมไอทีของรัฐบาลญี่ปุ่นเห็นความสำคัญของโครงการนี้ จึงให้ทุนสนับสนุนในการวิจัยและพัฒนา "ออนเทนนะ" ของฮอนดะมาตลอดแม้จะสำเร็จการศึกษาแล้วก็ตาม

 

"ออนเทนนะ" คืออุปกรณ์อัจฉริยะที่ทำหน้าที่แปลงเสียงให้กลายเป็นรูปแบบของแสงและการสั่น สะเทือน เพื่อให้ผู้ใช้ซึ่งเป็นผู้พิการทางหูได้รับรู้และเข้าใจเสียงต่างๆ ดังกล่าว ซึ่งฮอนดะคิดค้นและปรับปรุงมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ ผู้พิการทางหู ที่อาสาเป็นผู้ทดลองใช้และให้ความคิดเห็นในการปรับปรุงอุปกรณ์อัจฉริยะนี้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด

 

ในตอนแรกสุด ฮอนดะสร้างอุปกรณ์ต้นแบบขึ้นมาเป็นทรงสี่เหลี่ยม สำหรับใช้ติดผิวหนัง เพื่อให้ผู้พิการทางหูได้รับแรงสั่นสะเทือนได้มากที่สุด แต่หลังจากได้รับปฏิกิริยาตอบกลับจากผู้ใช้ ทั้งเรื่องความคมของเหลี่ยมต่างๆ ของต้นแบบ และอาการผื่นคันที่เกิดจากการใช้เครื่อง "ออนเทนนะ" ก็ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็กลายเป็นอุปกรณ์ที่หนีบติดไว้กับศีรษะเหมือนกิ๊บหนีบผมอย่างใน ภาพ

 

"ออนเทนนะ" สามารถแปลงเสียงตั้งแต่ความดังในระดับ 30 เดซิเบล เรื่อยไปจนถึง 90 เดซิเบล ให้กลายเป็นแรงสั่นสะเทือนและแสงแตกต่างกันถึง 256 ระดับ เพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปแบบและคุณภาพของเสียงที่อยู่รอบตัวผู้ใช้ เช่นเสียงเตือนภัยไฟไหม้ เป็นต้น ระดับความแตกต่างของแสงและการสั่นสะเทือนทำให้ผู้พิการทางหูที่ใช้งานออนเท นนะอยู่สามารถ "รู้สึก" ได้ถึงเสียงต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัว รู้ถึงจังหวะจะโคนของเสียง, รูปแบบของเสียง, ที่มาของเสียง และความดัง-ค่อยของเสียง รวมถึงคุณลักษณะอื่นๆของเสียง ซึ่งผู้พิการทางหูไม่เคย "รู้สึก" ได้มาก่อนในชีวิต

 

"ออนเทนนะ" ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสาร แต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้พิการทางหูสะดวกสบาย มากขึ้น และรับรู้เรื่องราวรอบตัวมากขึ้น เช่น ผู้ใช้ออนเทนนะสามารถแยกความแตกต่างระหว่างเสียงกริ่งโทรศัพท์กับเสียงกดออด หน้าประตูได้ หรือในกรณีของเด็กหญิงผู้พิการทางหูชาวญี่ปุ่นรายหนึ่ง ซึ่งทดลองใช้ออนเทนนะระบุว่า เธอสามารถรู้สึกได้ว่าเสียงจักจั่นเป็นอย่างไรเมื่อใช้อุปกรณ์นี้ โดยที่ก่อนหน้านี้เธอได้แต่รับรู้จากตำราเรียนเท่านั้นว่าจักจั่นร้องอย่าง ไร แต่ไม่เคยได้ยินมาก่อนในชีวิต

 

ทัตสึยะ ฮอนดะ บอกว่า โปรเจ็กต์ออนเทนนะของตัวเองยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา

 

แต่พยายามจะทำให้สมบูรณ์สำหรับวางจำหน่ายให้ผู้พิการทางหูทั่วไปได้ใช้งานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

ที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก