ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ไทยเสนออาชีพเภสัชทำงานได้เสรีในเออีซี

วันที่ลงข่าว: 29/09/15

ไทยเสนอเภสัชกรเป็นอาชีพเคลื่อนย้ายการทำงานเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่จะมีการหารือกันในประเทศสมาชิกอาเซียน

 

ภก.ดร.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี กรรมการสภาเภสัชกรรมเปิดเผยถึงการส่งเสริม อาชีพเภสัชกรสู่อาเซียน ว่า แม้ขณะนี้วิชาชีพเภสัชกรยังไม่ได้เป็น ๑ ใน ๘ อาชีพที่มีข้อตกลงให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรีเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี (AEC) อย่างเต็มรูปแบบในช่วงปลายปี ๒๕๕๘ แต่ตนเห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพในการริเริ่มให้มีการร่างกรอบข้อตกลงการเคลื่อนย้ายการทำงานได้อย่างเสรีในประเทศอาเซียนของอาชีพเภสัชกร เหมือนเช่นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาลที่มีการทำข้อตกลงไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากจำนวนเภสัชกรไทยมีมากเพียงพอที่จะใช้ในประเทศและพร้อมให้ออกไปทำงานในต่างประเทศไม่เฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันไทย ผลิตบัณฑิตด้านเภสัชศาสตร์ประมาณ ๑,๓๐๐-๑,๔๐๐ คน มีเภสชักรเป็นสมาชิกของสภาเภสัชกรรมราว ๕๐,๐๐๐ คน โดยสภาเภสัชกรรมจะเป็นผู้ดำเนินการและเตรียมที่จะยกร่างกรอบข้อตกลง กติกา และวิธีการต่อไป

 

ภก.ดร.นิลสุวรรณ กล่าวอีกว่า ในการร่างกรอบข้อตกลงจะต้องมีการตีกรอบขอบเขตการทำงาน อาจเป็นการร่างกรอบในลักษณะให้การเคลื่อนย้ายได้เสรีแบบมีเงื่อนไข เหมือนวิชาชีพแพทย์ เช่น แพทย์ไทยที่จะเดินทางไปทำงานในประเทศมาเลเซียจะต้องเข้าทำงานในโรงพยาบาลขนาด ๑๐๐ เตียงขึ้นไป จะทำงานในโรงพยาบาลขนาดเล็กไม่ได้ หรือเปิดคลินิกไม่ได้เว้นแต่จะต้องมีแพทย์มาเลเซียด้วย ส่วนในเรื่องใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม เภสัชกรที่ต้องการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศจะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพฯของประเทศนั้นให้ได้ ซึ่งหากประเทศต้นทางมีเงื่อนไขการสอบที่สูงกว่าประเทศปลายทาง เภสัชกรจากประเทศนั้นสามารถไปสอบได้ทันที แต่หากประเทศต้นทางมีเงื่อนไขที่น้อยกว่าประเทศปลายทาง จำเป็นที่เภสัชกรจะต้องเรียนเพิ่มเติมหรือเข้ารับการอบรมจากประเทศนั้นก่อนการเข้าสอบใบประกอบวิชาชีพฯ ทั้งนี้ กรอบข้อตกลงอาชีพเภสัชกรจะเป็นอย่างไรต้องมีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ของประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย

 

ภก.ดร.นิลสุวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวคิดดังกล่าวนี้จำต้องมีการหารือร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีการเห็นชอบร่วมกันเกี่ยวกับกรอบข้อตกลงอาชีพเภสัชกร ซึ่งหากเภสัชกรเป็นอาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายการทำงานได้อย่างเสรีในประเทศอาเซียน ถือเป็นโอกาสที่ดี แต่ต้องใช้เวลาและมีต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาเรื่องของเพิ่มเติมความรู้ด้านภาษาที่มีการใช้ในประเทศนั้นๆ และการไปเป็นแบบธุรกิจไม่ได้ไปแบบตัวคนเดียว เช่น ธุรกิจร้านขายยาแบรนด์ไทยในประเทศอาเซียน เช่นเดียวกับร้านขายยาแบรนด์ต่างประเทศที่มาเปิดในไทย เช่น บู๊ทส (Boots) หรือวัตสัน(Watsons) เป็นต้น แต่จำเป็นต้องใช้เภสัชกรท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ เข้าร่วมด้วย ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าจะเป็นธุรกิจที่ไปได้ดีและไปรอด

ที่มาของข่าว http://dlfeschool.in.th
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181