ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

พัฒนานักเรียนอาชีวะสู่อาชีพมัคคุเทศก์

วันที่ลงข่าว: 22/06/15

อาชีวะร่วมมือ ก.การท่องเที่ยวและกีฬาให้เด็กอาชีวะเป็นมัคคุเทศก์ได้  เตรียมเปิดหลักสูตรสาขามัคคุเทศก์โดยเฉพาะ จบออกไปได้ ๓ ใบรับรองวิชาชีพรองรับ ทำงานได้ทั้งในประเทศและประเทศอาเซียน

 

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาฯ กอศ.) กล่าวภายหลังการหารือกับนายขจร วีระใจ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถึงแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลในการผลิตและพัฒนามัคคุเทศก์ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนมัคคุเทศก์ว่า ขณะนี้อัตรานักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี แต่จำนวนมัคคุเทศก์มีไม่เพียงพอ ในขณะที่ประเทศไทยไม่มีหลักสูตรผลิตมัคคุเทศก์โดยตรงทั้งระดับอุดมศึกษาหรืออาชีวศึกษา ทำให้เกิดการขาดแคลนมัคคุเทศก์จำนวนมาก ทั้งมัคคุเทศก์ที่รู้ภาษาเฉพาะและหลากหลายภาษา

 

แนวทางการดำเนินการจะแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะเข้ามาให้ความร่วมมือทั้ง ๓ ระยะ โดยในระยะสั้นจะมีการจัดอบรมภาษาหรือนำผู้ที่มีความรู้ เก่งด้านภาษาอยู่เดิมแล้ว เช่น ภาษาจีน เกาหลี สเปน ญี่ปุ่น รัสเซีย เข้ามาอบรมเพิ่มเติมเพื่อเป็นมัคคุเทศก์ ส่วนระยะกลางและระยะยาว จะเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนสาขามัคคุเทศก์ทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็นต้น รวมทั้งจะต้องมีการเพิ่มวิชาลงในหลักสูตรเพื่อให้ตอบโจทย์กลุ่มนักท่องเที่ยวในกลุ่มต่างๆ อาทิ กลุ่มคนพิการ กลุ่มชาวต่างชาติ ที่เดินทางท่องเที่ยวคนเดียว เป็นต้น

 

นายชัยพฤกษ์กล่าวต่อว่า อาชีวศึกษายังให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูที่จะทำหน้าที่สอนหลักสูตรดังกล่าว พร้อมทั้งจะมีการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนสนใจเรียนหลักสูตรดังกล่าวมากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เรียน โดยในปี ๒๕๕๘ นี้มีนักศึกษาอาชีวะที่เรียนสาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เกินเป้าถึง ๑๓๔% ซึ่งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาการท่องเที่ยวโดยตรงมีอยู่เพียง ๔๐ แห่ง และที่เปิดสอนปริญญาตรีมีเพียง ๒ แห่งเท่านั้น นักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตรมัคคุเทศก์ในอนาคตจะได้รับการรับรอง ๓ ใบ จากทั้งในส่วนสถาบันอาชีวศึกษาจากคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และคณะกรรมการวิชาชีพแห่งชาติ (National Tourism Professional Board) ที่จะทำหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน ๓๒ ตำแหน่ง (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Tourism Professionals หรือ MRA :TP) ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศสมาชิก ดังนั้นเมื่อนักศึกษาจบออกมาสามารถทำงานเป็นมัคคุเทศก์ได้ทั้งในและกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย

 

แต่เดิม พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ปี ๒๕๕๑ กำหนดให้มัคคุเทศก์ต้องสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขามัคคุเทศก์

ที่มาของข่าว http://dlfeschool.in.th
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181