ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

แนวทางการปฏิรูปการศึกษา

วันที่ลงข่าว: 13/03/15

การศึกษาเป็นเครื่องมือสําคัญในการพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ประเทศใดที่ประชากรมีความรู้และการศึกษาดี ย่อมส่งผลให้ประเทศนั้นมีการพัฒนาตามไปด้วย ดังนั้นนการศึกษาจึงมีความจําเป็นและสําคัญต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งหลายประเทศในโลกได้ใช้การศึกษาเป็นนโยบายหลักสําหรับการพัฒนาประเทศ

สำหรับแนวคิดในการปฏิรูปการศึกษานั้นมิได้เพิ่งเกิดขึ้นในความเป็นจริงเกิดขึ้นมานานแล้ว เริ่มจากสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท ี่ 5 เป็นช่วงที่ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับลัทธิ จักรวรรดินิยมและความทันสมัยของประเทศตะวันตก พระองค์ทรงพยายามที่จะปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัย แบบประเทศตะวันตกและเพื่อธํารงไว้ ซึ่งความเป็นเอกราชของประเทศ การปรับตัวที่สําคัญประการหนึ่ง คือ การปฏิรูปการศึกษา พระองค์ทรงปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นระบบแบบแผนและเป็นขั้นเป็นตอน โดยเปลี่ยนการสอนจากเดิมที่เป็นการสอนที่บ้าน วัด และในวัง เป็นการสอนในระบบโรงเรียน คือให้มีสถานที่ศึกษาขึ้น โดยเฉพาะและมีครูสอนตามเวลาที่กําหนด ที่สําคัญๆ ได้แก่ ทรงจัดตั้งโรงเรียนหลวงและโรงเรียนราษฎร์ สําหรับราษฎรทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก ทรงจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในมณฑลต่างๆ ส่งผลให้การศึกษาเล่าเรียนขยายไปทั่วราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งกรมศึกษาธิการขึ้นเพื่อรับผิดชอบในการบริหารจัดการด้านการศึกษาของประเทศ (ต่อมายกฐานะเป็นกระทรวงธรรมการ และเปลี่ยนชื่อมาเป็นกระทรวงศึกษาธิการใน ปัจจุบัน) การปฏิรูปการศึกษาของพระองค์ในครั้งนั้นนับเป็นรากฐานที่สําคัญของการศึกษาไทยจนทุกวันนี้

สําหรับแนวทางแก้ไขปัญหาหรือข้อเสนอในการปฏิรูปการศึกษา มีดังนี้

1.ปฏิรูปครู ปรับระบบการบริหารงานบุคคลต ั้งแต่ กระบวนการผลิตครูการสรรหาและคัดเลือกให้ได้คนดีคนเก่ง และมีความเหมาะสมเพื่อบรรจุเป็นครู จัดระบบเงินเดือนหรือค่าตอบแทนท ี่เหมาะสม โดยปรับระบบฐานเงินเดือนและให้มีสวัสดิการหรือผลประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ อย่างเพียงพอ เพื่อให้ครูมีขวัญกําลังใจ จะได้ปฏิบัติหน้าที่ในการสอนอย่างเต็มความรู้ความสามารถมากยิ่งขึ้น และที่สําคัญเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้สินขึ้นตามมา กําหนดมาตรการบริหาร จัดการและพัฒนาครูให้เกิดทักษะในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น กําหนดให้มีแผนเพิ่ม-ลดกระจายครู ที่เหมาะสม และแผนสมรรถนะและความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ปรับระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเร่ง แก้ปัญหาการขาดแคลนครูโดยเฉพาะครูระดับอาชีวศึกษาและครูในสาขาวิชาหลัก ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษา รวมท ั้งกําหนดมาตรการให้ครูอยู่ประจําห้องเรียนหรือคืนครูสู่ห้องเรียนเพ ื่อให้ครูมี เวลาสําหรับทําหน้าท ี่ในการสอนมากยิ่ งขึ้น

2.ปฏิรูปการเรียนรู้ โดยเร่งดําเนินการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา/คุณภาพผู้เรียนตกต่ำในกรณีเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีการเรียนภาษาไทยมากขึ้น ควรมีการเพิ่มข้อสอบแบบอัตนัยให้มากข ึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้รู้วิธีการวิเคราะห์ สังเคราะห์มากขึ้น ปรับปรุงหลักสูตรให้เน้นการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าท ี่ความเป็นพลเมือง รวมท ั้งเร่งเพิ่มทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 และทักษะการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษ ให้มากขึ้น

3.ปฏิรูปการบริหารจัดการ โดยปรับปรุง/แก้ไขกฎหมายและระเบียบท ี่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการการศึกษา ปรับโครงสร้างและบทบาทการบริหารงานกระทรวงศึกษาธิการ กระจายอํานาจ การบริหารจัดการจากส่วนกลางสู่เขตพื้นท ี่ การศึกษาและสถานศึกษาท ี่ สามารถนําไปปฏิบัติอย่างความเป็น อิสระและคล่องตัวเพ ื่ อเพ ิ่มความเป็นอิสระในการบริหารแก่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา รวมท ั้งปรับ ระบบการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาและระบบเงินอุดหนุนรายหัวให้มีประสิทธิภาพย ิ่งขึ้น

4. ปฏิรูปการกระจาย-เพ ิ่มโอกาสและคุณภาพการศึกษาอย่างท ั่วถึง เท่าเทียม โดยจัดให้มีการพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลเพื่อเพิ่มคุณภาพและโอกาสกําหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมสําหรับทุกสื่อ จัดรายการเพื่อการศึกษา ปรับระบบเงินอุดหนุนรายหัวทุกประเภททุกระดับให้เป็นธรรม ปรับระบบการให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาส รวมท ั้งพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้และ5 โรงเรียนชายขอบ และเร่งไขแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทาง การศึกษา อันจะส่งผลให้การเพิ่ม-กระจายโอกาสและคุณภาพการศึกษาเป็นไปอย่างท ั่วถึง เท่าเทียมยิ่งขึ้น

5. ปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนากําลังคนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน โดยปรับหลักสูตร อาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ ในระดับอาชีวศึกษาควรเน้นภาคปฏิบัติ ในสถานประกอบการและให้ความสําคัญกับด้านคุณภาพมากกว่าปริมาณ เพิ่มระบบจูงใจและสร้างค่านิยม และภาพลักษณ์ที่ดีให้มีผู้เรียนสายอาชีวศึกษาเพ ิ่มขึ้น ในระดับอุดมศึกษาควรปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้สูงขึ้น ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาอย่างกว้างขวาง ผลิตและพัฒนานักวิจัยระดับ ปริญญาเอก รวมท ั้งปรับปรุงหลักสูตรเน ื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนให้สนองต่อความต้องการของ สังคมและประเทศยิ่งขึ้น

6.ปรับระบบการใช้ ICT เพื่อการศึกษา จัดทำแผนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา : พัฒนาเนื้อหาสาระ สื่อต่างๆ มีระบบรับรองและควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเนื้อหา เตรียมความพร้อมของครู พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการเชื่อมต่อ network ยกเว้นภาษี-อากรการนำเข้าอุปกรณ์ สื่อเพื่อการศึกษา : BOI การศึกษา มีระบบฟรี Wifi พัฒนากองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ เร่งรัด พ.ร.บ. สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในการเป็นประธานเสวนา "ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน" ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 2558 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558 ว่า ขณะนี้ทุกภาคส่วนในสังคมให้ความสนใจและต้องการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา หลังจากทราบว่าผลการประเมินนักเรียนไทยโดยองค์กรระดับประเทศและระดับนานาชาติอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบเคียงกับนักเรียนจากประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน แม้ว่ารัฐบาลและทุกภาคส่วนในสังคมจะให้ความสำคัญและสนใจเรื่องการศึกษาอย่างมาก แต่ผลการประเมินกลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวังและที่ตั้งใจ

ทั้งนี้ ทุกรัฐบาลที่ผ่านมามีการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากให้แก่กระทรวงศึกษาธิการทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อสนับสนุนและพัฒนาการศึกษา แต่งบประมาณส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการมีจำนวนบุคลากรมากที่สุดในประเทศ อีกทั้งประเทศไทยและกระทรวงศึกษาธิการได้ปฏิรูปการศึกษามาตั้งแต่ปี 2540-2542 รวมถึงการปฏิรูปย่อยในการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านการศึกษามาโดยตลอด อาจมีผิดบ้างถูกบ้าง แต่ผลการประเมินก็ปรากฏอย่างที่เห็น ดังนั้น ในช่วงที่ทุกภาคส่วนในสังคมให้ความสนใจเรื่องการปฏิรูปการศึกษา จะต้องช่วยกันพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการเรียนการสอน การประเมินเป็นที่น่าพอใจ อยู่ในอันดับต้นของภูมิภาคหรือระดับโลก และให้ทุกฝ่ายมีความภาคภูมิใจ การจัดเวทีเสวนาดังกล่าวเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษา จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับข้อแนะนำและข้อเสนอแนะที่ดี เพื่อนำมาปรับใช้ในการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน

อ้างอิง : website กระทรวงศึกษาธิการ http://www.edreform.moe.go.th

ที่มาของข่าว สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก