ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

เร่งผลิตคนโลจิสติกส์รองรับตลาดเออีซี

วันที่ลงข่าว: 28/01/15

ประเทศไทยถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของเอเชีย ด้วยความได้เปรียบด้านทำเลภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางของการค้าและการคมนาคม ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญด้านการค้าและการขนส่งโลจิสติกส์เพื่อมารองรับการขยายตัวด้านธุรกิจและรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ

ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาเปิดสอนหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ ๑๕ แห่ง มีสถานศึกษาที่มีวิชาเอกด้านโลจิสติกส์ ๑๑ แห่ง และสถาบันอาชีวศึกษาเปิดสอนหลักสูตรนี้อีก ๒๕ แห่ง หลายสถาบันการศึกษาได้เชิญบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศมาให้คำแนะนำ เพื่อจะได้ผลิตบัณฑิตตรงกับความต้องการของตลาด

มหาวิทยาลัยภาครัฐ ๗ แห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สหสาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ฯลฯ มหาวิทยาลัยเอกชน ๔ แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีหลักสูตรของคณะนิติศาสตร์เน้นกฎหมายโลจิสติกส์ และคณะบริหารธุรกิจเน้นการบริหารจัดการโลจิสติกส์ฯลฯ ธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การขาดแคลนบุคลากรกำ ลังเป็นปัญหาใหญ่ของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ตอนนี้ มีการแข่งขันแย่งบุคลากรซึ่งส่งผลให้ต้นทุนธุรกิจเพิ่มขึ้นอีก

ปัจจุบันธุรกิจโลจิสติกส์ต้องการแรงงานระดับล่าง ประมาณ ๕ หมื่นตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการต้องการ ๓-๔ หมื่นตำแหน่ง และบุคลากรระดับบริหารที่มีประสบการณ์ประมาณ ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ ตำแหน่ง นายธนิต กล่าว

อาเซียนกำหนดกรอบความตกลงการค้าและบริการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ในการเป็น AEC จะให้มีการเคลื่อนย้ายบริการได้อย่างเสรี โดยกำหนดสาขาที่มีความสำคัญลำดับแรกๆ ไว้ ๕ สาขา คือ Air Transport. e-ASEAN, Healthcare, Tourism, และ Logistics โดย ๔ สาขาแรกเปิดเสรีภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ส่วน Logistics จะเปิดเสรีภายในปี ๒๕๕๖

ที่มาของข่าว www.dlfeschool.in.th/ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก