ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ไทยต้นแบบการแก้ความยากจนในอาเซียน

วันที่ลงข่าว: 28/01/15

ประทศไทยถือเป็นต้นแบบของความสำเร็จการลดปัญหาความยากจนในอาเซียน โดยการเน้นการส่งเสริมอาชีพจากทักษะนอกห้องเรียนและการศึกษานอกระบบให้แก่คนในพื้นที่

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงความยากจนของอาเซียนว่า ในอาเซียน หากไม่นับสิงคโปร์ มีประเทศที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจนเพียง ๒ ประเทศคือไทยและมาเลเซีย

ทั้ง ๒ ประเทศใช้นโยบายเศรษฐกิจคล้ายกัน ทั้งนโยบายภาคบริการ เกษตรกรรม อุตสาหกรรมสมัยใหม่ อีกทั้งยังมีธุรกิจเกษตรกรรมและธุรกิจท่องเที่ยวเป็นตัวช่วยกระจายรายได้สู่คนทุกระดับ จึงช่วยให้แก้ปัญหาความยากจนได้ดีกว่าประเทศอื่น

นายอาคม กล่าวว่าควรสนับสนุนกลุ่มเอสเอ็มอีและภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ใช้แรงงานมากและสร้างรายได้ลงไปถึงพื้นที่ทันที เพื่อรองรับการเติบโตสู่ประชาคมอาเซียน

อาเซียนกำหนดกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาชนบทและการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๘ มีกลยุทธการทำงาน ๖ เรื่องได้แก่ (๑) การพัฒนาชนบท (๒) การสร้างความมั่นคงทางอาหาร (๓) การสร้างเครือข่ายความคุ้มครองทางสังคมด้านการศึกษา สาธารณสุข และสวัสดิการสังคม (๔) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (๕) การพัฒนาพื้นที่เฉพาะเพื่อการสร้างงานสร้างรายได้ และ (๖) การกำกับดูแลและการประเมินความยากจนในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันเส้นความยากจนสากลอยู่ที่ระดับ ๑,๒๐๐ บาทต่อเดือน ของคนไทยล่าสุด ปี ๒๕๔๔ อยู่ที่ ๒,๔๐๐ บาทต่อเดือน ยังมีผู้มี่รายได้ต่ำกว่าเส้นดังกล่าวอีก ๘.๘ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๑๕ ของประชากรทั้งประเทศ

“สิ่งที่ต้องทำต่อจากนี้คือการทำ Poverty Mapping กำหนดพิกัดผู้ที่มีความยากจนว่าอาศัยอยู่บริเวณใด มีวุฒิการศึกษาใด อยู่ในอาชีพใด จากนั้น จะเติมเรื่องการศึกษา ส่งเสริมอาชีพนอกการศึกษาที่ใช้ทักษะฝีมือนอกห้องเรียนให้แก่คนพื้นที่ดังกล่าว โดยเน้นการมีวินัยและความเข้มแข็งในการร่วมแก้ปัญหาของชุมชน” นายอาคมกล่าว

ที่มาของข่าว www.dlfeschool.in.th/ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก