ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

สภาพัฒน์ฯ แนะรัฐเร่งผลิตคนสายวิทย์ ไอที เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน

วันที่ลงข่าว: 28/01/15

สภาพัฒน์ฯ ศึกษาข้อได้เปรียบเสียเปรียบของ 7 สาขาวิชาชีพที่จะเคลื่อนย้ายแรงงานได้เสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่าในภาพรวมศักยภาพการแข่งขันของไทยยังไม่สูงมากนัก และบุคลากรวิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาลมึศักยภาพสูงที่สุดในกลุ่มอาเซียน

นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมด้านแรงงานเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 ว่า สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช) ได้ศึกษาถึงการเตรียมความพร้อมด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน (เออีซี) เพื่อพิจารณาถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบใน 7 สาขาวิชาชีพ พบว่าสาขาวิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล มีข้อได้เปรียบคือ คุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับแนวหน้า อีกทั้งศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ของไทยสูงที่สุดในกลุ่มอาเซียน รายได้ของแพทย์และทันตแพทย์ไม่ได้แตกต่างกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน พ.ร.บ. วิชาชีพเป็นสิ่งที่ปกป้องผู้ประกอบวิชาชีพได้เป็นอย่างดี เพรามีการสอบขอใบอนุญาตเป็นภาษาไทย ส่วนข้อเสียเปรียบเป็นเรื่องของการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทและการกระจุกตัวในเมืองใหญ่ รวมทั้งปัญหาเรื่องค่าจ้างและความมั่นคงในการทำงานของพยาบาลในข้าราชการ

ขณะที่สาขาวิชาชีพบัญชี มีข้อได้เปรียบโดย พ.ร.บ. วิชาชีพ ช่วยปกป้องผู้ประกอบวิชาชีพได้เป็นอย่างดี เพราะมีการสอบขอใบอนุญาตเป็นภาษา ไทย และสภาวิชาชีพบัญชีมิได้สนับสนุนให้นักบัญชีไทยไปทำงานในต่างประเทศ ส่วนข้อเสียเปรียบคือบริษัทต่างชาติรายใหญ่ได้เปรียบทางเทคโนโลยี ซอฟท์แวร์ทางบัญชี มีต้นทุนต่ำ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในไทยแข่งขันกันเองสูงอยู่แล้ว และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษยังด้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน

ในสาขาวิชาชีพสถาปนิก วิศวกร และนักสำรวจ มีข้อได้เปรียบคือ การศึกษาสาขาวิศวกรรมของไทยอยู่ในระดับแนวหน้า ค่าตอบแทนและสวัสดิการของวิศวกรไทยไม่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียน มหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศในอาเซียน และสภาวิศวกรไม่ได้สนับสนุนให้คนต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากนัก ส่วนข้อเสียเปรียบอุปนิสัยคนไทยรักความสะดวกสบาย ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ผลวิจัยพบว่าศักยภาพการแข่งขันของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนแล้ว ยังไม่สูงมากนัก เพราะกำลังคนของไทยโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยของไทยมีจำนวนน้อย และคุณภาพของแรงงานสาขาต่าง ๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ดังนั้นทุกฝ่ายทั้งรัฐบาล หน่วยงานรัฐและเอกชน เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข จะต้องเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัย และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น รวมทั้งพัฒนาแรงงานให้มีทักษะฝีมือสูงขึ้น มีทักษะด้านภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน และไอที” นางสุวรรณีกล่าว

ที่มาของข่าว www.dlfeschool.in.th/ 1 มีนาคม 2556
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181