ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

"ศิริราชพิมุขสถาน"แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์แพทย์ไทย

วันที่ลงข่าว: 17/07/13

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนิน เมื่อวันที่ 15ก.ค. อยู่ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ตั้งอยู่บริเวณอาคารสถานีรถไฟธนบุรีเดิม ด้านหลังลานพลับพลาพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ

 

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เริ่มมาจากการเก็บและ จัดแสดงสิ่งของของแต่ละภาควิชา โดยในปี พ.ศ. 2525 มี พิพิธภัณฑ์ที่เปิดรวม 13 แห่งเมื่อระยะเวลาผ่านไปพิพิธภัณฑ์ คงเหลือเพียง 6 แห่งที่สามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชม คือ พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน และพิพิธภัณฑ์ก่อน ประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร

 

เมื่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับมอบพื้นที่บางส่วนของสถานีรถไฟธนบุรีจำนวน 33 ไร่ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 คณะแพทยศาสตร์ศิริราช เล็งเห็นว่า เพื่อให้วงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศมีการพัฒนาทั้งด้านวิชาการการวิจัย การศึกษา และการบริการ ชั้นเลิศ  จึงเสนอโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ต่อรัฐบาล

ทั้งนี้ คณะแพทย์ศิริราชได้ตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่รวบรวมเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ ภาควิชาและหน่วยงาน ต่างๆ ภายในโรงพยาบาลศิริราชเพื่อเก็บเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับโครงการ ซึ่งทั้งหมดรวมเรียกเป็น พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ในปัจจุบัน

 

สำหรับประวัติของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นนามพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า แต่เดิมเคยเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลัง ต่อมามีการสร้างสถานีรถไฟธนบุรี และโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งเป็นพื้นที่ซึ่งผูกพันกับวิถีชีวิตของชุมชนบางกอกน้อย โรงพยาบาลศิริราชจึงได้รวบรวมประวัติศาสตร์ของพื้นที่นี้ นำมาจัดแสดงในอาคารสถานีรถไฟธนบุรี(เดิม) ที่เป็นอาคารอนุรักษ์ มีสถาปัตยกรรมงดงาม

ความน่าสนใจสำหรับคนทั่วไปเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์พิมุขสถาน น่าจะได้ประโยชน์ตรงที่เป็นเหมือนได้รับรู้ประวัติศาสตร์วิถีชุมชนในอดีต เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชาติ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติความเป็นมาของการแพทย์ของไทยตั้งแต่การก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแพทย์แห่งแรก พัฒนาวิทยาการแพทย์ตั้งแต่แผนปัจจุบันและแผนไทย รวมทั้งโบราณคดีในพื้นที่วังหลังและบางน้อย

 

พิพิธภัณฑ์พิมุขสถาน ประกอบด้วยอาคารอนุรักษ์ 4 หลัง ซึ่งมีความน่าสนใจมากมาย เช่น อาคารพิพิธภัณฑ์ 1 ประกอบด้วยห้องจัดแสดง อาทิ ศิริสารประพาส เป็นห้องบรรยายบอกเล่าเรื่องราว โดยรวมของพิพิธภัณฑ์ผ่านวิดีทัศน์ ตกแต่งบรรยากาศเสมือนห้องสมุด เก้าอี้นั่งเป็นเก้าอี้ที่นักศึกษาแพทย์เคยใช้นั่งเรียนในห้องบรรยาย

ศิริราชขัตติยพิมาน เป็นส่วนจัดแสดงพระบรมสาทิสลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์ พระราชดำรัส พระราชเสาวนีย์ และพระดำรัส ในพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและพระกรุณาธิคุณต่อโรงพยาบาลศิริราช

 

สถานพิมุขมงคลเขต ความสำคัญของห้องนี้คือ พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขที่นำเสนอผ่านภาพจิตรกรรมไทยชื่อ อนุรักษ์เทเวศร์กิตติประกาศ เป็นภาพจิตรกรรมไทยแบบประเพณีพร้อมเสียงบรรยายด้วยทำนองเสนาะ และจัดแสดงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง พระศรีเมือง และวรรณคดีเรื่อง ไซ่ฮั่น    ฐานป้อม จากการดำเนินงานทางโบราณคดีบริเวณสถานีรถไฟธนบุรี พบแนวกำแพงก่อด้วยอิฐระหว่าง

 

ด้านหลังอาคารสถานีรถไฟและอาคารปิยมหาราช การุณย์ สันนิษฐานว่าเป็นฐานป้อมพระราชวังหลัง ระหว่างการขุดค้นได้เก็บโบราณวัตถุรวมทั้งตัวอย่างดินและอิฐ เพื่อนำไปวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ด้วยเห็นความสำคัญของฐานป้อม ซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดีเพียงชิ้นเดียวที่ยืนยันถึงตำแหน่งที่ตั้งของ พระราชวังบวรสถานพิมุข

 

ขณะที่ โบราณราชศัสตรา จัดแสดงศาสตราวุธที่คณะแพทยศาสตร์ฯ ได้รับมอบจากราชสกุลเสนีวงศ์ เป็นราชสกุลสืบเชื้อสายจากกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข

 

ห้องคมนาคมบรรหาร จัดแสดงประวัติสถานีรถไฟธนบุรี ประกอบด้วยห้องฉายภาพยนตร์สี่มิติ ใช้เทคนิคพิเศษเพื่อให้ผู้ชมเสมือนร่วมเดินทางโดยรถไฟย้อนไปสู่การเริ่มต้น เดินทางโดยรถไฟ

 

ศิริราชบุราณปวัตติ์ จัดแสดงเกี่ยวกับกำเนิดโรงพยาบาล การตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งแรกในประเทศไทย พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนกที่ทรงพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุขของ ไทย

สยามรัฐเวชศาสตร์ จัดแสดงให้เห็นถึงความเจ็บป่วยของมนุษย์ ความมหัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์  เหตุแห่งโรค  วิธีการเยียวยาความเจ็บป่วย และบทสรุปของการมีสุขภาพดีด้วยแนวคิด “ธรรมานามัย” นำเสนอในรูปแบบด้วยเทคนิคทันสมัยที่ผู้ชมสามารถประยุกต์ใช้ได้

 

ภายในพิพิธภัณฑ์มีภาพยนตร์ 4 มิติ ประวัติสถานีรถไฟธนบุรี ห้องผ่าตัดจำลอง ห้องการแพทย์ของไทย เรือโบราณ โรงหุ่นกระบอก และวิถีชีวิตชุมชนบางกอกน้อย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งฉาก ระบบแสง สี เสียง ภาพ และเทคนิคพิเศษตามมาตรฐานสากล มีพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมพิเศษ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม รวมถึงการจัดทางสัญจรเพื่อผู้พิการ และผู้สูงอายุพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

 

ดังนั้น พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน จึงเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ ที่ประชาชนสามารถมาร่วมเปิดประสบการณ์ การเรียนรู้ ทั้งด้านประวัติศาสตร์การแพทย์ การก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช และโรงเรียนแพทย์แห่งแรก ดื่มด่ำกับประวัติศาสตร์ และโบราณคดีของพื้นที่วังหลัง-บางกอกน้อย ที่มีเรื่องราวยาวนานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ด้วยหลักฐานสำคัญ

 

อาทิ ศาสตราวุธของกรมพระราชวังหลัง ฐานป้อมพระราชวังหลัง เรือไม้ขนาดใหญ่ เครื่องถ้วยโบราณ ฯลฯ โรงภาพยนตร์ 4D และเรียนรู้ วัฒนธรรมผ่านวิถีชีวิตชุมชนจำลอง พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เปิดทำการวันจันทร์, พุธ– อาทิตย์ (หยุดวันอังคารและวันนักขัตฤกษ์) เวลา 10.00 น. – 17.00 น.ค่าบริการเข้าชมสำหรับต่างชาติ 200 บาท คนไทย 80 บาท  เด็ก 25 บาท  หรือโทร.02-419-2618-9 หรือดูข้อมูลที่ www.si.mahidol.ac.th/museum

 

สยามรัฐเวชศาสตร์ จัดแสดงให้เห็นถึงความเจ็บป่วยของมนุษย์ ความมหัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์  เหตุแห่งโรค  วิธีการเยียวยาความเจ็บป่วย และบทสรุปของการมีสุขภาพดีด้วยแนวคิด “ธรรมานามัย” นำเสนอในรูปแบบด้วยเทคนิคทันสมัยที่ผู้ชมสามารถประยุกต์ใช้ได้

 

ภายในพิพิธภัณฑ์มีภาพยนตร์ 4 มิติ ประวัติสถานีรถไฟธนบุรี ห้องผ่าตัดจำลอง ห้องการแพทย์ของไทย เรือโบราณ โรงหุ่นกระบอก และวิถีชีวิตชุมชนบางกอกน้อย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งฉาก ระบบแสง สี เสียง ภาพ และเทคนิคพิเศษตามมาตรฐานสากล มีพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมพิเศษ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม รวมถึงการจัดทางสัญจรเพื่อผู้พิการ และผู้สูงอายุพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

 

ดังนั้น พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน จึงเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ ที่ประชาชนสามารถมาร่วมเปิดประสบการณ์ การเรียนรู้ ทั้งด้านประวัติศาสตร์การแพทย์ การก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช และโรงเรียนแพทย์แห่งแรก ดื่มด่ำกับประวัติศาสตร์ และโบราณคดีของพื้นที่วังหลัง-บางกอกน้อย ที่มีเรื่องราวยาวนานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ด้วยหลักฐานสำคัญ

 

อาทิ ศาสตราวุธของกรมพระราชวังหลัง ฐานป้อมพระราชวังหลัง เรือไม้ขนาดใหญ่ เครื่องถ้วยโบราณ ฯลฯ โรงภาพยนตร์ 4D และเรียนรู้ วัฒนธรรมผ่านวิถีชีวิตชุมชนจำลอง พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เปิดทำการวันจันทร์, พุธ– อาทิตย์ (หยุดวันอังคารและวันนักขัตฤกษ์) เวลา 10.00 น. – 17.00 น.ค่าบริการเข้าชมสำหรับต่างชาติ 200 บาท คนไทย 80 บาท  เด็ก 25 บาท  หรือโทร.02-419-2618-9 หรือดูข้อมูลที่ www.si.mahidol.ac.th/museum

 

โดย...รัฐพงศ์ เทียมทองใบ 

 

ที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ออนไลน์ วันที่ 16 กรกฎาคม 2556
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก