ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

มหาวิทยาลัยพะเยา เปิดตัวโครงการการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนพื้นที่พะเยา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำซ้ำซ้อน และงาน Learn & Laugh Craft Day

วันที่ลงข่าว: 09/11/22

          คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จัดงานเปิดตัวโครงการการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนพื้นที่พะเยาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำซ้ำซ้อน และงาน Learn & Laugh Craft Day โดยมี นวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นประธานในเปิดโครงการและงานดังกล่าว ณ ลานตึกอุทยานวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ อบจ.พะเยา เพื่อสร้างและส่งเสริมเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในพื้นที่จังหวัดพะเยาให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเกิดทักษะใหม่หรือพัฒนาทักษะเดิมให้สามารถสร้างรายได้และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยมีนายบำรุง สังข์ขาว รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา นางสุมิตรา กัณฑมิตร นายกเทศมนตรีเมืองพะเยา พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี คณะผู้บริหาร และบุคลากร มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมงานดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “เหลื่อมล้ำทำอย่างไรในจังหวัดพะเยา” จากกลุ่มเครือข่ายผู้สนับสนุน ทั้งมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กลุ่มพัฒนาการศึกษา ศึกษาธิการจังหวัดพะเยา สถาบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยพะเยา สำนักงาน กศน. จังหวัดพะเยา และชมรมผู้ปกครองออทิสติกจังหวัดพะเยา

          รองศาสตราจารย์ ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า โครงการดังกล่าว ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ เพราะเรียนรู้คือรากฐานของการพัฒนาคนและพัฒนาเมืองพะเยา แต่การเรียนรู้ไม่ครอบคลุมทั้งจังหวัดพะเยา โดยผู้ที่ยังเข้าถึงได้น้อยมากคือ กลุ่มคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส จากการลงพื้นที่ยังคงพบว่ามีเด็กและเยาวชนจำนวนหนึ่งมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัยพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา และองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา จึงผนึกกำลังกันร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สร้างภาคีเครือข่ายเพิ่มในการที่จะจัดทำ Big Data เด็กเสี่ยงที่หลุดออกจากระบบการเรียน ภาคีเครือข่ายให้เข้ามาช่วยเราเพิ่ม ได้แก่ จังหวัดพะเยา ศึกษาธิการจังหวัดพะเยา การศึกษาพิเศษจังหวัดพะเยา หลังจากการลงพื้นที่พบเด็กเสียงออกนอกระบบ จำนวน 1,300 คน จากฐานข้อมูลนี้ การสร้างโมเดลการเรียนรู้สำหรับเด็กเสี่ยง ผู้พิการ ชนเผ่า ยังเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งของโครงการเพื่อนำเด็กกลุ่มนี้ มาเรียนบน Learning Space เก็บหน่วยกิต มหาวิทยาลัยพะเยาผสมกับ Design Thinking จะพบโมเดลการเรียนรู้ที่เหมาะกับ คนพิการ เด็กชนเผ่า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่ซ้ำซ้อน ดึงศักยภาพคนให้มีคนมีรายได้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ และเชื่อมั่นว่าสามารถจะทำให้เกิดการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำซ้ำซ้อนได้อย่างตรงเป้าหมายและยั่งยืน

 

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก