ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

พัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิต นักเรียนในจังหวัดปัตตานี

วันที่ลงข่าว: 27/10/22

          วันที่ 25 ตุลาคม 2565 เวลา 11.00 น.ว่าที่ ร้อยตรีตระกูล โทธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เดินทางมาเป็นประธานในกิจกรรม ถอดบทเรียนการแก้ปัญหาเด็กนอกระบบการศึกษา และ เด็กตกหล่นเพื่อพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตจังหวัดปัตตานี ณ โรงแรมเซาท์เทิร์นวิวปัตตานี
          โดยมีนาย ณัทกร แก้วประทุม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ได้กล่าวรายงาน ว่า พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำเนินงานโครงการแก้ปัญหาเด็กนอกระบบ การศึกษาและเด็กตกหล่น เพื่อพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตจังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลเด็กนอกระบบการศึกษาและเด็กตกหล่นในระดับจังหวัด
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการศึกษาที่สอดคล้องและเหมาะสมกับเด็กนอกระบบการศึกษาและ เด็กตกหล่น บนฐานสมรรถนะด้านวิชาชีพ และทักษะชีวิต
3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ สำหรับการศึกษาของเด็กนอกระบบการศึกษาและเด็กตกหล่น นำสู่การพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดการเรียนรู้และแนวทางการสร้างสัมมาชีพให้สอดคล้อง และเหมาะสม
4. เพื่อพัฒนาภาคีเครือข่ายและความร่วมมือ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และเครือข่ายประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา สร้างกลไกการศึกษาและการ เรียนรู้ในระดับจังหวัด
          กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโครงการคือ ประชากรวัยเรียน (อายุ 6-18 ปี) ในจังหวัด ปัตตานีที่อยู่นอกระบบการศึกษาและเด็กตกหล่น ไม่ว่าจะเป็นเด็กกลุ่มเปราะบาง เด็กในกระบวนการยุติธรรม เด็กตกหล่น เด็กไร้สัญชาติ เด็กพิการ ให้ได้รับการศึกษา อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และตรงตามศักยภาพ จนจบหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับหรือ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยศูนย์ประสานงานเด็กนอกระบบการศึกษาและเด็กตกหล่น เพื่อพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตจังหวัดปัตตานี ได้รวบรวมข้อมูลเด็กนอกระบบการศึกษา และเด็กตกหล่น จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 213 คน
            จากการดำเนินงานดังกล่าว ทำให้เด็กและเยาวชนในจังหวัดปัตตานีที่อยู่นอกระบบ การศึกษาได้รับการช่วยเหลือและนำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา จำนวน 36 คน เด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี ได้รับการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพ ด้านทักษะวิชาชีพผ่านกระบวนการเรียนรู้ และสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ที่นำไปสู่ทางเลือกและลู่ทางในการประกอบอาชีพ จำนวน 24 คน เด็กและเยาวชนในจังหวัด ปัตตานี ได้รับการพัฒนากระบวนการคิด ทักษะชีวิต เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในตนเองและ ความภาคภูมิใจ เสริมสร้างทักษะชีวิต เพิ่มภูมิคุ้มกันทางความคิดในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง จำนวน 70 คน การดำเนินงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อน อาทิ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี, สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปัตตานี, สมาคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (POSBO), มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย)

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก