ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมกับสาธารณสุข หาแนวทางแก้ปัญหาลดความพิการแต่กำเนิดพื้นที่นำร่องจังหวัดเชียงราย

วันที่ลงข่าว: 21/06/22

          ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานในพื้นที่ ร่วมหารือแนวทางการดำเนินโครงการจังหวัดนำร่องป้องกันและลดอัตรา?ความพิการแต่กำเนิด (Birth Defects Sandbox) แห่งแรกที่เชียงราย สร้างโมเดลขยายผลแนวปฏิบัติการตระหนักรู้ และเข้าถึงสิทธิการบริโภควิตามินโฟลิกลดความพิการแต่กำเนิดของทารกในประเทศไทย

          วันที่ 17 มิ.ย. 65 นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมด้วย นายภาสกร บุญ?ญ?ลัก?ษ?ม์ ผู้?ว่าราชการ?จังหวัด?เชียงราย? เป็น?ประธาน?การประชุม?หารือ?แนวทาง?การดำเนิ?น?จังหวัด?นำร่อง?ป้องกัน?และลดอัตรา?ความพิการ?แต่กำเนิด? (Birth Defects Sandbox) ร่วมกับผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานในพื้นที่ ณ ห้องประชุม?จอม?กิตติ? ศาลากลาง?จังหวัด?เชียงราย?

          นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ในประเทศไทยมีสถิติเด็กเกิดใหม่ ประมาณ 600,000 รายต่อปี และมีเด็กพิการแต่กำเนิดมากกว่า 20,000 รายต่อปี ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขปัญหา ตัวเลขของเด็กกลุ่มนี้ก็จะมีจำนวนสะสมเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้ตระหนักถึงสิทธิของประชาชนด้านสาธารณสุขว่า ปัจจุบันหน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการครบถ้วนถูกต้องในการจัดบริการสาธารณสุขแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพตามอำนาจหน้าที่หรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ซึ่งมาตรา 55 กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริการสาธารณสุขต้องครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรคการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย รัฐต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

          ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมการปกครอง กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมกิจการเด็กและเยาวชน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย สภาสตรีแห่งชาติ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สสส.) เพื่อนำข้อเสนอแนะจัดทำรายงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตร กรณีการบริโภคโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563

         สำหรับโครงการจังหวัดนำร่องป้องกันและลดความพิการแต่กำเนิด (Birth Defects Sandbox) ริเริ่มจากผู้ตรวจการแผ่นดินได้เสนอรายงานต่อคณะรัฐมนตรี กรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 230(3) เรื่อง สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตร กรณีการบริโภควิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) ตามมาตรา 22(3) ประกอบมาตรา 35 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 ในการนี้ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า หากจังหวัดต่างๆ ได้นำข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเรื่อง สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตร กรณีการบริโภคโฟลิก เอซิด (วิตามินB9) มาดำเนินการจะช่วยลดความพิการแต่กำเนิดได้

         อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินโครงการจังหวัดนำร่องป้องกันความพิการแต่กำเนิดของจังหวัดเชียงราย ครอบคลุมทั้งหญิงวัยเจริญพันธุ์ และหญิงตั้งครรภ์เป็นไปตามนโยบายของกรมอนามัย จึงเห็นควรรณรงค์การบริโภคโฟลิก เอซิด การบริโภคเฟอร์โรโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์ และไตรเฟอร์ดีนขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันความพิการแต่กำเนิดไปพร้อมกันด้วย โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ขับเคลื่อนให้เห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จะสามารถลดปัญหาเด็กพิการแต่กำเนิดและมีแนวโน้มสะสมเพิ่มขึ้นทุกปีได้

        จังหวัดเชียงรายได้ตระหนักให้ความสำคัญต่อการดำเนินงาน และมีความเหมาะสมที่จะเป็นจังหวัดนำร่องเพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินงานเรื่องการป้องกันความพิการแต่กำเนิด ประกอบกับจังหวัดเชียงราย ประชาชนมีความแตกต่างในด้านภาษาและวัฒนธรรม เช่น อำเภอแม่สรวย ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่าร้อยละ 80 ทำให้การสื่อสารค่อนข้างมีอุปสรรค และมีขีดจำกัดในการให้บริการ เป็นต้น

        ทำให้การดำเนินงานไม่สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงเป็นความท้าทายของจังหวัดเชียงรายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2569 ) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพของกระทรวงสาธารณสุข โดยจะนำผลจากการดำเนินโครงการสรุปบทเรียนรูปแบบการดำเนินการของจังหวัด (Chiang Rai Model) และจัดทำคู่มือการดำเนินงานเป็นต้นแบบขยายผลการดำเนินงานไปทุกจังหวัดทั่วประเทศต่อไป

 

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก