ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

มาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพ ให้ประชาชนและการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ

วันที่ลงข่าว: 01/10/21

            คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงิน 27,000 ล้านบาท ใช้งบกลางปี 64 เป็นค่าดำเนินการใน 3 มาตรการ ได้แก่ 

    1.ขยายเวลาบรรเทาภาระค่าน้ำ/ค่าไฟ จำนวน 1.9 ล้านครัวเรือน ตั้งแต่ ต.ค.64 - ก.ย.65 เพิ่มอีก 12 เดือน วงเงิน 2,018 ล้านบาท ถ้าใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วย/เดือน ติดต่อกัน 3 เดือน ให้สิทธิค่าไฟฟ้าฟรี ตามมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบัน ถ้าใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วย/เดือน ให้ใช้สิทธิตามมาตรการนี้ในวงเงิน 315 บาท/ครัวเรือน/เดือน ถ้าใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้มีบัตรสวัสดิการฯ เป็นผู้รับ ภาระค่าไฟฟ้าทั้งหมด สนับสนุนค่าน้ำประปา จำนวน 186,625 ครัวเรือน วงเงิน 100 บาท /ครัวเรือน /เดือน ถ้าใช้น้ำประปาเกิน 100 บาท แต่ไม่เกิน 315 บาท ยังคงได้รับการสนับสนุนในวงเงิน 100 บาท โดยส่วนเกินต้องชำระด้วยตนเอง ถ้าใช้น้ำประปาเกิน 315 บาท ผู้มีบัตรสวัสดิการฯ รับภาระชำระค่าน้ำประปาทั้งหมด 

    2. สนับสนุนค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ค่าใช้จ่ายการเดินทางและเพิ่มเบี้ยความพิการ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค/บริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อการเกษตร จากร้านธงฟ้าประชารัฐและร้านอื่นๆ วงเงิน 18,815 ล้านบาท กลุ่มที่มีรายได้เกินกว่า 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี ได้รับ 200 บาท/คน/เดือน กลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ได้รับ 300 บาท/คน/เดือน และทั้ง 2 กลุ่ม จะได้รับส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม 55บาท/คน/3 เดือน การดูแลค่าใช้จ่ายการเดินทาง อาทิ ค่าโดยสาร ขสมก. ระบบ e-Ticket /รถไฟฟ้า บขส. รถไฟ อย่างละ 500 บาท/คน/เดือน เบี้ยความพิการ จำนวน 1,000 บาท/คน/เดือน เพิ่มเติม 

    3. โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการฯ รอบใหม่ วงเงิน 1,642 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการรับลงทะเบียนของหน่วยรับลงทะเบียน ค่าใช้จ่ายในการผลิตและบริหารจัดการบัตรฯ และวงเงิน 4,530 ล้านบาท จัดสรรสวัสดิการแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาสำหรับผู้มีรายได้น้อย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีบัตรฯ และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาจทำให้ผู้สมัครรอบใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้น

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก