ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

บทบาท“ผู้นำนักศึกษา”รุ่นใหม่ เตรียมพร้อมสู่อาเซียน

วันที่ลงข่าว: 29/03/13

 

ปี พ.ศ. 2558 ย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เหลือเวลาเพียงไม่กี่ปี นักศึกษาไทยเราเตรียมพร้อมหรือยังกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ กลุ่มผู้นำนักศึกษาจะเป็นผู้จุดพลังความคิดและสร้างสรรค์แนวทางนำาเพื่อนๆ นักศึกษาสู่อาเซียนโดยคณะอนุกรรมการพัฒนานิสิตนอกชั้นเรียนเครือข่ายอุดมศึกษาเขตภาคกลาง เพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย จัดสัมมนาเรื่อง “ผู้นำกิจกรรมนักศึกษาควรมีบทบาทอย่างไร เพื่อความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

 

ในเวทีเสวนา “ปรับกิจกรรมนักศึกษาไทย ให้ก้าวไกลสู่สากล” นางสาวพิณไพเราะ ธีรเนตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นักศึกษายุคนี้เป็นพลเมืองโลก แต่นักศึกษาในเมืองยังไม่รู้ว่า AEC คืออะไร ขาดความรู้รอบตัว

 

"เราควรจัดกิจกรรมให้เพื่อนมีความอยากรู้หรือเห็นความสำาคัญเรื่องนี้ด้วยตัวเอง หรือจัดเวทีแลกเปลี่ยนในเรื่องต่างๆ กับกลุ่มนักศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน 

ทั้งนี้ ขอให้คิดในแง่บวกไทยไม่ได้ด้อยกว่าใครขอให้ตั้งใจพัฒนาให้เด่นพร้อมที่จะเข้าสู่อาเซียน"

 

นางสาวณัฐพัชร์ จิรนิวรรธน์ มหาวิทยาลัยแสตมป์ฟอร์ด กล่าวว่า เพื่อนๆ นักศึกษาตื่นตัวเรื่องอาเซียนน้อยมาก ขอให้เห็นคุณค่าของการเตรียมเข้าสู่อาเซียน "เราต้องรู้จักปรับหรือเปลี่ยนที่ตัวเราก่อน อย่างน้อยใช้ภาษาอังกฤษในกิจกรรมให้สนุกและสร้างสรรค์" 

 

นางสาวพิมพ์ภัทรา พิมพ์วาปี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า กลุ่มผู้นำาต้องเป็นตัวอย่างที่ดีต่อการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงสู่อาเซียน "ต้องฝึกการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการทำกิจกรรมให้มากที่สุด"

 

นายธีรภัทร์ ปริยวาที มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครกล่าวว่า นักศึกษาไทยมักสื่อสารแบบผิดๆ ในโลก Social Networkและมีพฤติกรรมใช้มือถือตลอดทั้งวัน"เราต้องปรับตัวให้มีความจริงจังในการศึกษาและการทำงาน เรียนรุ้ทักษะการใช้สื่อออนไลน์ให้มีประโยชน์" 

 

ด้านตัวแทนมหาวิทยาลัยรังสิต นายปิยพงศ์ เจริญภักดี อุปนายกสโมสรนักศึกษา คนที่ 2และนายทีปต์วรสิทธิ์ หาญพิพัฒนพาณิชย์กรรมการสโมสรนักศึกษา กล่าวถึงการเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ ว่าได้เปิดหูเปิดตาเตรียมพร้อมสู่อาเซียน ซึ่งนักศึกษาต้องตื่นตัวเรียนรู้ใช้ชีวิตร่วมกับคนชาติอาเซียน เริ่มด้วยการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสาร

 

ด้านกิจกรรมต้องสนับสนุนให้มีมากขึ้น เช่น การโต้วาที การแข่งขันตอบปัญหาอาเซียนส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างๆ และจัดค่ายส่งเสริม การเรียนรู้วัฒนธรรมและศาสนา เพราะอาเซียนมีศาสนาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย อีกทั้งจัดพื้นที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น การสั่งอาหารเป็นภาษาอังกฤษก็จะได้ส่วนลด เป็นต้น

 

“ความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนมีผลต่อแนวโน้มตลาดแรงงาน ทั้งนี้ สาขาวิชาของมหาวิทยาลัยรังสิต ตอบโจทย์ตลาดแรงงานใน อนาคตได้เป็นอย่างดีจึงขอขอบคุณคุณพ่อ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีที่เล็งเห็นถึงความสำาคัญ ทำาให้นักศึกษารังสิตมีโอกาสทำางานในประเทศต่างๆ ตามสาขาวิชาชีพ”

 

กิจกรรมครั้งนี้ได้จัดให้นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ระดมความคิด “บทบาทผู้นำากิจกรรมนักศึกษา เพื่อความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน” โดยได้ข้อสรุปรูปแบบกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมรับน้องต้องสอดแทรกการร้องเพลงเชียร์เป็นภาษาอังกฤษ ทุกกิจกรรมใช้ภาษาอังกฤษสื่อสาร จัดนิทรรศการASEAN WeekหรือRoad Show ในแต่ละเดือนพร้อมจัดแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกีฬา เทศกาลอาหารอาเซียนเสนอให้เพิ่มศักยภาพผู้นำานักศึกษาให้สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษและเน้นย้าว่านักศึกษาไทยต้องรู้จักความเป็นไทยให้ถ่องแท้และชัดเจน เพื่อถ่ายทอดได้

 

สุดท้ายได้ประมวลข้อสรุปต่อการนำไปขับเคลื่อนในมหาวิทยาลัย อาทิ เริ่มทำกิจกรรมสองภาษาและให้นักศึกษาต่างชาติร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษาไทย จัดตั้งชมรมอาเซียนจัดตั้งกองทุนส่งนักศึกษาไปเรียนรู้วิถีอาเซียนและนำามาถ่ายทอด ในองค์กรนักศึกษาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

 

 

ที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 11 ตุลาคม 2555
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก