ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ร่วมกับ สถานประกอบการ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การร่วมผลิตบัณฑิตและจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL)

วันที่ลงข่าว: 28/01/20

          ที่ห้องประชุมวิญญคุวานันท์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา รองศาสตราจารย์ ดร.นิรุต ถึงนาค  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พร้อมด้วยผู้ประกอบการ จำนวน 13 องค์กร ประกอบด้วย บริษัท ทูเก็ตเตอร์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด บริษัท อินเตอร์ วอเตอร์ ทรีทเม้นท์ จำกัด หจก.แท่นทองคว้านเจียร์ (2000) บริษัท เค.ซี.คอร์ปอเรชั่น จำกัดและธุรกิจในเครือบ้านโฮม บริษัท กรีนเดลี ฟู้ดส์ จำกัด เจ้าของไร่กิ่งทอง นายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยและพัฒนาความปลอดภัยชายฝั่งเศรษฐกิจอ่าวไทยและทะเลอันดามัน หอการค้าจังหวัดมหาสารคาม สภาอุตสาหกรรมจังหวัดมหาสารคาม บริษัท ไฟเบอร์เฮ้าส์ โปรดักท์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หจก. เอส ที เอส คอนกรีต เซ็นเตอร์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการร่วมผลิตบัณฑิตและจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน 

         รองศาสตราจารย์ ดร.นิรุต ถึงนาค อธิบการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือดำเนินการร่วมผลิตบัณฑิตและจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) โดยการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ในชั้นเรียนหรือมหาวิทยาลัยกับประสบการณ์การทำงานในสภาพจริงขององค์กรร่วมผลิต ที่ได้รับการออกแบบไว้ในหลักสูตรอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาคุณลักษณะ ทักษะ และสมรรถนะของนักศึกษาให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนด (Learning Outcome) จำนวน 9 หลักสูตร คือ 1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์  2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกล 3. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง 4. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำและนวัตกรรมสารสนเทศ 5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม 6. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล (หลักสูตรสองภาษา) 7. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการสมัยใหม่ 8. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ 9. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการท้องถิ่นและการบริหารการพัฒนา เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนด มอบหมายให้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ โดยมีคุณวุฒิ ความรู้ หรือประสบการณ์ในสาขาวิชาเดียวกันกับนักศึกษาเพื่อทำหน้าที่เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร เป็นพี่เลี้ยงทำหน้าที่สอนงาน ถ่ายทอดประสบการณ์ กำกับดูแล และประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ร่วมมือกับคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยในการออกแบบระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการ ที่เน้นการลงมือปฏิบัติ มีการสะท้อนความคิด/ทบทวนไตร่ตรอง เพื่อให้นักศึกษาสามารถกำกับการเรียนรู้ของตนได้

 

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก