ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ผู้ว่าฯ ยะลา มอบนโยบาย 10 วาระจังหวัดเร่งด่วน พร้อมเตรียมการต้อนรับ ครม.สัญจร รัฐบาลใหม่ คาดลงพื้นที่จังหวัดยะลาลำดับแรก

วันที่ลงข่าว: 11/07/19

         วันนี้ 10 กรกฎาคม 2562 ที่อาคารเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวพบปะกับหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชาการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของรัฐ ในงานพบปะยามเช้าพูดคุยหารือข้อราชการ มอบนโยบายเร่งด่วน 10 วาระจังหวัดยะลา และสนองนโยบายรัฐบาลใหม่ พร้อมเตรียมการต้อนรับคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่จะประชุมในพื้นที่จังหวัดยะลา ประมาณกลางเดือนสิงหาคมนี้ โดยมีนายดนัย บาเหมสะอิ ประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา หน่วยงานหลักของกรมประชาสัมพันธ์จัดขึ้น พร้อมด้วยกระทรวงแรงงาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมด้วย

          ก่อนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา จะกล่าวมอบนโยบายวาระจังหวัด ได้แนะนำเจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรีให้หัวหน้าส่วนราชการในงานพบปะยามเช้าได้รู้จัก คือ นายดนัย บาเหมสะอิ ประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา นางสุนิสา รามแก้ว ผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จังหวัดยะลา นางอุทัยวรรณ เดชสิงห์โสภา ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดยะลา ซึ่งหน่วยงานสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ พร้อมทำงานนำเสนอนโยบาย และภาพลักษณ์ที่ดีของจังหวัดสู่ธารณะชนทางสื่อทุกแขนงของกรมประชาสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่อง สำหรับนโยบาย 10 วาระจังหวัดยะลา ประกอบด้วย

          1.Durian City จังหวัดยะลาเป็นเมืองทุเรียนแห่งภาคใต้ตอนล่าง เน้นการผลิตเกษตรแปลงใหญ่เป็นหลัก ลดต้นทุนการผลิต แปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 54,284 ไร่ ปลูกมากสุดภาคใต้ตอนล่าง เป็นศูนย์กลางการค้าส่งทุเรียน มีรายได้ 126 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้ม ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นเนื่องจากยางพารา ราคาตกต่ำ (ตัวชี้วัด มูลค่าทุเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 ต่อปี)

          2.Smart Rubber ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ (ต้นยางพารา) ให้เกิดความคุ้มค่า จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกยางพารา เป็นอันดับ 5 ของประเทศ มีพื้นที่ปลูก จำนวน 1,257,917 ไร่ ผลผลิต 261,715 ตันต่อปี ราคายางพาราตกต่ำ อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจโลก จึงมีแนวทางเพิ่มผลผลิตยางพารา ลดต้นทุนการผลิต ทำสวนยางพาราแบบผสมผสาน มีโรงงานแปรรูปยางขั้นต้น (ตัวชี้วัด มูลค่าสินค้ายางพาราเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 ต่อปี)

          3.เกษตรพอเพียง ดำเนินการเกษตรกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่เกษตรผสมผสาน โดยมีโครงการส่งเสริมพัฒนาและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

          4.เสน่ห์ยะลา การพัฒนาศักยภาพของจังหวัดยะลาให้มีความพร้อมในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักลงทุน เป็นเมืองที่มีความสะอาดและผังเมืองสวยงาม มีความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค มีอาหารท้องถิ่นอร่อย เป็นเอกลักษณ์ ผู้คนอัธยาศัยดี มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว

 

          5.Amazing Betong (อเมซิ่ง เบตง) ส่งเสริมพัฒนาอ าเภอเบตงเป็นเมืองท่องเที่ยว เชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ที่มีเสน่ห์ โดดเด่นเฉพาะตัว และความน่าสนใจ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติให้มาเยือนและสร้างความประทับใจในสินค้า และบริการที่มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น อาทิ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของประเทศ ตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ป้ายทะเบียนรถแห่งเดียวในประเทศ ทะเลหมอก 360 องศา ทะเลสาป-ป่าฮาลา บาลา ที่กล่าวขานกันว่า "อเมซอนแห่งอาเซียน" (ตัวชี้วัด จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 7.0 ต่อปี)

 

          6.คนยะลาไม่ทิ้งกัน คุณภาพชีวิตมั่นคง (รู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน) การส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มเป้าหมาย (ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ) ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ (ตัวชี้วัด กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุผู้พิการได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ร้อยละ 92)

 

          7.เยาวชนเก่ง ดีมีคุณธรรม หมายถึงความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจสามารถตัดสินใจแก้ปัญหา และแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีคุณธรรม หมายถึง คุณลักษณ์หรือสภาวะภายในจิตใจของมนุษย์ที่เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ดีงาม (ตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET 5 กลุ่มสาระวิชาหลัก เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ร้อยละ 100 ของผู้เรียนทุกระดับการศึกษา มีคุณธรรม มีความเป็นพลเมืองและพลโลก)

 

          8.สุขภาพดีวิถีคนยะลา สภาพปัญหาประเทศไทยและจังหวัดยะลา มีแนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ที่สูงขึ้น สาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยเกิดจากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เช่น สูบบุหรี่ การบริโภคอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขาดการออกก าลังกาย ทั้งนี้การที่จะลดโรคดังกล่าวได้ ต้องมีกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องและลดปัจจัยเสี่ยง เช่น กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดละเลิกบุหรี่ ลดการใช้โฟมบรรจุอาหาร การส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การลดเสี่ยง ลดโรค ต้องสอดคล้องกับวิถีของประชาชน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ในการลดอัตราป่วยและตายจากโรคไม่ติดต่อได้อย่างยั่งยืน (ตัวชี้วัด ลดอัตราป่วยจากโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานรายใหม่ ร้อยละ 5)

 

          9.ยะลาสันติสุข ประชาชนในจังหวัดยะลามีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ตัวชี้วัด สถิติก่อเหตุร้ายลดลง ในปีที่ผ่านมา)

 

          และ 10.Yala 4.0 การพัฒนาจังหวัดยะลา Yala 4.0 จะสำเร็จโดยใช้แนวทาง "สานพลังประชารัฐ" มีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการวิจัยพัฒนา (ตัวชี้วัด หน่วยงานในจังหวัดยะลามีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 3 นวัตกรรม)

 

          จากนโยบาย 10 วาระจังหวัดหวัดยะลา นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า ได้กำหนดแผนพัฒนาจังหวัดยะลา 4 ปี พ.ศ.2561-2564 โดยมีวิสัยทัศน์ เกษตรมั่งคั่ง ท่องเที่ยวยั่งยืนคุณภาพชีวิตมั่นคง โดยมีเป้าประสงค์รวม คือ เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประชาชนมีรายได้ที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองที่น่าอยู่ สังคมมีความปรองดองสมานฉันท์ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เชื่อมั่นศรัทธาในการทำงานของภาครัฐ ต้องมี 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ ส่งเสริม พัฒนา การผลิต และการแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการส่งออก ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และเสริมสร้างยะลาสันติสุขโดยเร็ว พร้อมนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จะลงมาประชุมในพื้นทีจังหวัดยะลา เร็ว ๆ นี้

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก