ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

คอลัมน์: สถานีพัฒนาสังคม: ปัญหาและอุปสรรคการจัดตั้งและการดำเนินงานของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

วันที่ลงข่าว: 17/06/19

(ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว)

 

๒๕) ประเด็นองค์ความรู้ของผู้ปฏิบัติงานในจังหวัด เนื่องจากคนปฏิบัติงานเป็นพนักงานกองทุน ส่วนใหญ่ทำงานได้ไม่นาน มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย อย่างไรก็ตาม พก.ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว มีการจัดอบรมทุกปี ทั้งนี้ ขอรับประเด็นนี้ไปปรับแผนทำงานเพื่อสร้างองค์ความรู้ ประเด็นคนพิการให้เข้มแข็งมากขึ้น

 

๒๖) ประเด็นการใช้พื้นที่ของศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด ซึ่งบริบทของศูนย์บริการคนพิการระดับ จังหวัดในแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการหารือร่วมกัน ระหว่างองค์กรด้านคนพิการและศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดนั้นๆ ว่าจะใช้พื้นที่อย่างไรให้เหมาะสม

 

๒๗) ประเด็นบริการผู้ช่วยคนพิการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ พก.ได้จัดฝึกอบรมผู้ช่วยคนพิการเพิ่มเติม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา โดยสำรวจความพร้อมของจังหวัดที่จะส่งบุคคลที่มีจิตอาสาเข้ามาอบรมและพร้อมที่จะเป็นผู้ช่วยคนพิการ ซึ่งจัดอบรมภาคทฤษฎีไปแล้ว และจะส่งผู้ช่วยคนพิการไปฝึกปฏิบัติในพื้นที่ สำหรับหน่วยจัดบริการผู้ช่วยคนพิการในพื้นที่ นอกเหนือจาก พมจ. หรือศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด ซึ่งระเบียบกำหนดให้เป็น หน่วยจัดบริการผู้ช่วยคนพิการในพื้นที่แล้ว ระเบียบยัง กำหนดให้องค์กรคนพิการหรือหน่วยงานในพื้นที่ สามารถเป็นหน่วยจัดบริการผู้ช่วยคนพิการในพื้นที่ได้ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ประกาศกำหนด

 

๒๘) พก. คำนึงถึงหลักการของการมีศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดเพื่อเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแล หน่วยประสานงาน และเสริมพลังให้ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป เพื่อให้ศูนย์บริการคนพิการทั่วไปเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการคนพิการ แต่เนื่องด้วยในช่วงเริ่มต้นที่ศูนย์ บริการคนพิการทั่วไปยังไม่มีความพร้อม ศูนย์บริการ คนพิการระดับจังหวัดจึงทำหน้าที่ทั้งสองอย่างไปพลางก่อน อย่างไรก็ตาม ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดมีความพยายามสนับสนุนและเสริมพลังให้ศูนย์บริการคนพิการทั่วไปสามารถจัดบริการของตนเองได้อย่างเข้มแข็งต่อไป

 

      ๒.องค์กรด้านคนพิการ
          ๑) ประเด็นหลักประกันของคนพิการเพื่อให้ได้รับสิทธิ ในการเข้าถึงบริการที่จำเป็น ในระยะเริ่มต้นที่ศูนย์บริการคนพิการยังไม่ครบทุกพื้นที่ จะมีหลักประกันอย่างไรว่า คนพิการจะสามารถขอรับบริการตามสิทธิของคนพิการได้ รวมถึงประเด็นความซ้ำซ้อนของกลุ่มเป้าหมายในการเข้ารับบริการของศูนย์บริการคนพิการทั่วไปนั้น เห็นว่าศูนย์บริการคนพิการทั่วไปที่จัดตั้งโดยส่วนราชการท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐควรเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมให้เกิดความ เข้มแข็งขององค์กรภาคประชาชน และควรมีการกำหนดตัว ชี้วัดว่าเมื่อท้องถิ่นใดมีองค์กรด้านคนพิการที่ทำหน้าที่ ให้บริการคนพิการที่สมบูรณ์แล้ว ท้องถิ่นดังกล่าวก็ไม่ควรจัดทำบริการนั้นๆ

 

          ๒) กรณีองค์กรเพื่อคนพิการซึ่งมีวัตถุประสงค์ ในการให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ อาทิ มูลนิธิธรรมมิกชน เพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิพระมหาไถ่ เพื่อการพัฒนาคนพิการ มีพื้นที่ในการ ให้บริการกว้างขวางทั่วประเทศ และมีกิจกรรมหลากหลายด้าน เมื่อองค์กรสาขาใหญ่ได้รับการรับรองมาตรฐานองค์กรแล้วสามารถขอจดทะเบียนเป็นศูนย์บริการคนพิการ เช่นเดียวกับองค์กรของคนพิการระดับประเทศหรือไม่ และมีหลักเกณฑ์และแนวทางในการขอรับการสนับสนุนในฐานะเป็นศูนย์บริการคนพิการอย่างไร

 

          ๓) บุคลากรที่ทำงานในศูนย์บริการคนพิการระดับ จังหวัดส่วนใหญ่จะเป็นบุคลากรของรัฐ และเนื้องานจะมุ่งเน้น ไปที่การให้บริการข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ และการ ประสานงานระหว่างองค์กรคนพิการ ทั้งนี้ เพื่อให้บริการด้านการให้ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมีความแม่นยำ มีความเป็นปัจจุบันและรวดเร็วมากขึ้น ควรให้คนพิการแต่ละประเภทได้เข้าไปทำงานในส่วนดังกล่าวด้วย

 

          ๔) รูปแบบของศูนย์บริการคนพิการ ซึ่งมีรูปแบบเช่นเดียวกันศูนย์บริการของกระทรวงอื่นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอาจมีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน การดำเนินงานในอนาคตจะมีปัญหาหรือไม่ โดย นายมณเฑียร บุญตัน ประธานคณะ ได้แสดงความคิดเห็นว่า แนวคิดการประสานส่งต่อคนพิการไปยังหน่วยงาน ต่างๆ เพื่อให้ได้รับบริการที่จำเป็นและครบถ้วน ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ต้องการให้ภาคประชาสังคมที่มีความยืดหยุ่น ไม่สังกัดกระทรวงใดสามารถให้บริการแบบบูรณาการได้ กฎหมายจึงกำหนดให้มีความยืดหยุ่นเพื่อเปิดช่องให้สามารถจัดทำบริการอื่นๆ ได้ เพียงแต่ในการขอรับเงินสนับสนุนก็ต้องไปเกาะเกี่ยวกับกระทรวงที่สามารถรับบริการดังกล่าวมาจัดทำได้

 

          ๕) ประเด็นการขอจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ เพื่อให้บริการคนพิการทางจิต โดยสมาคมสายใยครอบครัว มีความมั่นใจ ด้านความเชี่ยวชาญและความพร้อมในการดำเนินงานเป็นศูนย์บริการคนพิการซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานองค์กรแล้ว แต่ยังมีความห่วงใยผู้รับบริการที่ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการ เนื่องจากผู้ป่วยทางจิตเวช มีความซับซ้อนมาก ทั้งความเป็นผู้พิการและความบกพร่อง ทางจิต และไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการ ด้วยปัญหาหลายอย่าง ทั้งปัญหาทางทะเบียนราษฎรหรือกระบวนการในการประเมินให้เป็นผู้พิการทางจิตของบุคคลการทางการแพทย์ ที่ยังมีความสับสนและมีความซับซ้อน ต้องมีระยะเวลาในการประเมินกว่า ๕ ปี หรือแพทย์บางท่านให้ความเห็นว่าไม่ควรไปขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการ ทั้งนี้ หากสมาคมได้ขอตั้งศูนย์บริการคนพิการเพื่อให้บริการคนพิการทางจิต ซึ่ง ผู้ป่วยทางจิตมีความจำเป็น ต้องได้รับบริการและเข้ารับการรักษาอย่างทันที หากผู้รับบริการบางคนไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ศูนย์บริการคนพิการจะสามารถให้บริการและได้รับการสนับสนุนงบประมาณได้หรือไม่

 

     ๓.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว.เจตนารมณ์ในการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ โดยคนพิการจะลุกขึ้นมาจัดการเรื่องของตนเอง ด้วยตนเอง ดังนั้น ภาครัฐต้องเข้าไปให้การสนับสนุนในทุกเรื่องในลักษณะที่เป็นการเอื้อให้เกิดการจัดบริการให้กับคนพิการดังกล่าว และการสร้างพื้นที่ของศูนย์บริการคนพิการระดับ จังหวัดให้เป็นพื้นที่สาธารณะนั้น จึงต้องเกิดจากการมีส่วนร่วม ของคนพิการที่จะออกแบบพื้นที่เพื่อประโยชน์ต่อคนพิการ และทำให้ศูนย์ดังกล่าวเกิดเป็นนวัตกรรมอย่างแท้จริง ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด โดยรูปแบบการจัดแสดงศักยภาพหรือนวัตกรรมของคนพิการในศูนย์บริการ คนพิการระดับจังหวัด ควรสร้างให้เห็นว่าคนพิการสามารถทำอะไรได้บ้าง ซึ่งไม่ต้องมีรูปแบบที่ตายตัว ความสามารถของคนพิการในแต่ละพื้นที่ล้วนแตกต่างกันไป เพื่อให้สอดคล้องกับทรัพยากรและทุนในท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อให้ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดมีการขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ภายใต้งบประมาณ ๓๐ ล้าน ซึ่งต้องทำให้ทุกพื้นที่เกิดขบวนการเสริมพลังคนพิการได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ สกว. ได้ทำวิจัยกับคนพิการและเห็นว่ามีชุด ความรู้ชุดดีๆ จำนวนมากที่จะสามารถต่อยอดเสริมพลังต่อไปได้ ซึ่ง สกว. พร้อมให้ความร่วมมือเพื่อออกแบบงานวิจัย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไป

 

(อ่านต่อสัปดาห์หน้า)

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถนนอู่ทองใน ดุสิต กทม. 10300 email : dek_senate@hotmail.co.th หรือ Facebook: กมธ.พัฒนาสังคม

 

หรือ กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็กฯ วุฒิสภา โทร.02-831-9225-6  แฟกซ์ 02-831-9226

 

อ่านต่อได้ที่ : https://www.ryt9.com/s/nnd/3003030

ที่มาของข่าว https://www.ryt9.com/s/nnd/3003030
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก