ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การป้องกันและแก้ไขปัญหาในการเขียนสำหรับเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Prevention and Intervention of Writing Difficulties for Students with Learning Disabilities) ตอนที่ 1

Steven Graham, Karen R. Harris, and Lynn Larsen (2001)

รายงานฉบับนี้ นำเสนอหลัก 6 ประการที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันปัญหาในการเขียน ในขณะเดียวกันก็จะช่วยสร้างทักษะการเขียนให้เกิดขึ้น ได้แก่
(ก)จัดทำการสอนทางด้านการเขียนที่ได้ผล
(ข)ปรับแต่งการสอนให้เหมาะสมตรงตามความต้องการของแต่ละบุคคล
(ค)เข้าไปช่วยแต่เนิ่นๆ
(ง)คาดหวังว่าเด็กทุกคนจะเรียนรู้วิธีการเขียน
(จ)แจกแจงและบอกให้ทราบถึงอุปสรรคของการเขียน
(ฉ)การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

บทคัดย่อ

เด็กนักเรียนหลายคนที่มีอาการ LD พบว่าตนเองมีปัญหาในการควบคุมขั้นตอนการเขียน เราได้ตรวจ สอบว่า โรงเรียนจะมีวิธีการใดที่จะช่วยเด็กเหล่านี้ ให้เป็นนักเขียนที่มีทักษะได้ จึงมีการนำเสนอหลัก เกณฑ์ 6 ประการที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาของการเขียน ประกอบด้วยการจัดทำการสอนทางด้านการเขียนที่ได้ผล ปรับแต่งการสอนการเขียนให้ตรงตามความต้องการของเด็ก เข้าไปช่วยเด็กเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อช่วยเสริมด้านการเยียวยา ทั้งนี้คาดหวังว่าเด็กแต่ละคนจะได้เรียนรู้วิธีการเขียน นอกจากนี้ยังต้องสามารถแจกแจง และบอกให้ทราบถึงอุปสรรคทั้งทางด้านการศึกษาและไม่ใช่ทางด้านการศึกษาที่มีต่อการเขียนของเด็ก รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยปรับปรุงงานด้านการเขียน (ซึ่งจะใช้ตัวอย่างเป็นภาษาอังกฤษดังข้างล่างนี้)

The mn was sneB (แปลว่า ‘The man was scared’

I think theu should no how to speek dififerint langwges. If theu go to like dutch countri somebodie might ask them something theu cold have two kinds of langage

ข้อความข้างต้นทั้งสอง เขียนขึ้นโดย Arthur Dent  เด็กชั้นประถมปีที่ 5 ที่มีความบกพร่องทางการ
เรียนรู้ (LD) ข้อความแรกเขียนในขณะที่เขาเริ่มเข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 2 เพื่อแสดงความรู้สึกต่อภาพ
ของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังอวดปลาตัวใหญ่ที่เธอจับได้ให้พ่อดู ข้อความที่สอง Arthur เขียนเพื่อตอบคำถามของครูประจำชั้นประถมปีที่ 5 ที่ถามว่า ‘เด็กควรเรียนภาษาที่สองหรือไม่?’ แม้ว่าข้อความทั้งสองนี้จะแสดงให้เห็นชัดเจนว่า Arthur มีพัฒนาการของการเป็นนักเขียนขึ้นมาบ้างในระยะเวลา 3 ปีที่ได้รับการเยียวยา เพราะยังคงปรากฏปัญหาที่ยังเกิดขึ้นตามมามากมายให้เห็นเด่นชัด ประการแรก การตอบสนองของเขาสั้นมากเกินไป แสดงความคิดไม่กี่อย่าง และมีการขัดเกลาน้อย ประการที่สอง การถอดรหัสข้อเขียนของเขาทำได้ยาก เพราะตัวสะกด เครื่องหมายวรรคตอน และการใช้อักษรตัวใหญ่ผิดที่ผิดทางไปหมด

ความกังวลเรื่องความสามารถในการเขียนของ Arthur เริ่มต้นขึ้นอย่างผิวเผินตอนอยู่ชั้นประถมปีที่ 1 ครูสังเกตเห็นว่าเขามีความลังเลในการเขียน รู้สึกหงุดหงิดขณะเขียนหนังสือบ่อยๆ และชอบหลบเลี่ยงการทำงานหรือมีส่วนร่วมในการเขียนกับเด็กคนอื่นๆ  ครูประจำชั้นประถมปีที่ 2 และปีที่ 3 ชี้ให้เห็นว่า Arthur จะเร่งรีบทำงานเขียนที่ได้รับมอบหมาย เขียนเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีการวางแผนล่วงหน้า เขียนอย่างรวดเร็ว
มีการหยุดช่วงสั้นๆ เพื่อนึกถึงตัวสะกดของคำ หรือคิดว่าจะเขียนอะไรต่อไป ครูทั้งสองคนยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การขอให้เขาทบทวนงานเขียนเป็นเรื่องยาก เพราะเมื่อเขาทบทวน เขาจะทุ่มเทความพยายามไปที่การทำกระดาษส่งงานให้ประณีตสวยงามกว่าเดิม แก้คำที่เขียนสลับที่ และเปลี่ยนคำตรงนี้ตรงนั้น ผลจากปัญหาในการเขียน เขาจึงต้องเข้าร่วมการทดสอบหาความบกพร่องทางการเรียนรู้ตอนเริ่มเรียนชั้นประถมปีที่ 4 แม้ว่าความสามารถทางสติปัญญาของเขาจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ เขาทำได้ 2 คะแนนตามค่ามาตรฐานการเบี่ยงเบนซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในการทดสอบการเขียนแบบอิงกลุ่ม (Norm-referenced Writing Test) ทำให้เขามีคุณสมบัติสมควรเข้าเรียนในหลักสูตรการศึกษาพิเศษ

โชคไม่ดีที่ปัญหาเกี่ยวกับการเขียนของ Arthur ไม่ได้มีเขาเพียงคนเดียว เขาจึงต้องเรียนรวมกับเด็กอีกหลายคนที่มีอาการของ LD เช่นเดียวกับ Arthur เด็กที่มีอาการของ LD มีแบบฉบับในการเขียนคือใช้วิธีการแต่งเรื่อง ที่มาลดบทบาทของการวางแผนการเขียนไป วิธีการเขียนแบบนี้มีแสดงให้เห็นในการ์ตูน Peanuts เมื่อไม่นานมานี้ คือตอนที่ Snoopy สุนัขของ Charlie Brown กำลังพิมพ์ข้อความว่า ‘The light mist turned to rain’ แล้วหยุด แล้วจึงเขียนต่อว่า ‘The rain turned to snow’ หลังจากหยุดไปอีกชั่วครู่  ก็เขียนอีกว่า ‘The story turned boring’ หลังจากนั้น จึงโยนกระดาษทิ้งไป เช่นเดียวกันกับเจ้าสุนัข Snoopy เด็กที่มีอาการของ LD มักจะแต่งความโดยการดึงข้อมูลจากความทรงจำซึ่งเป็นสิ่งที่เขาคิดว่าเหมาะสม เขียนลงไป แล้วใช้แต่ละความคิดกระตุ้นให้เกิดอีกความคิดหนึ่งขึ้นมา ด้วยกระบวนการเรียกข้อมูลคืน แล้วเขียนใหม่นี้ ทำให้ความสนใจตามความต้องการของผู้ชมผู้ฟังย่อมมีน้อยลงไป โดยข้อจำกัดต่างๆนั้นถูกกำหนดขึ้นโดยหัวข้อเรื่องและการพัฒนาตามเป้าหมายในการเขียนสำนวนโวหาร หรือการจัดเรียบเรียงข้อความ

มีการ์ตูน Peanuts อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับ Snoopy และ Lucy เพื่อนหญิงนักติของเขา ก็มีความ
คล้ายคลึงกันเป็นเรื่องที่สอง ระหว่าง Arthur กับนักเขียนที่มีอาการของ LD ที่น่าสงสารคนอื่น ๆ
เริ่มต้นจากการพิมพ์ข้อความว่า ‘Dear Sweetheart,’ แล้ว Snoopy ก็ส่งกระดาษนั้นให้ Lucy ตอบกลับ Lucy รีบบอกทันทีว่า Snoopy ควรจะใช้คำขึ้นต้นที่แสดงออกถึงความรักมากกว่านั้น ดังนั้น Snoopy จึงทบทวนข้อความขึ้นต้นเสียใหม่เพื่ออ่านออกเสียงว่า ‘Dear Angel Food Cake With Seven Miniute Frosting’ โดยนัยเดียวกับ Snoopy เมื่อเด็กที่มีอาการ LD ต้องทบทวนงานเขียน ผลมักจะออกมาว่าใช้ไม่ได้ เมื่อถูกขอให้ทบทวน พวกเด็กจะเริ่มจากการใช้อภิธานศัพท์ (Thesaurus) มาใช้ในการทบทวน ซังกะตายแก้ไขคำผิดต่างๆ และมีการเปลี่ยนแปลงคำบ้างเล็กน้อย ไม่น่าแปลกใจ ที่วิธีนี้มีผลเพียงเล็กน้อยต่อการปรับปรุงคุณภาพของการเขียน

ความคล้ายคลึงกันเรื่องที่สาม ระหว่าง Arthur และนักเรียนคนอื่นๆ ที่มีอาการของ LD แสดงให้เห็นโดยกลับไปมองสหาย Snoopy ของเราต่อ หลังจากได้พบที่นั่งหลังห้องเรียนที่โรงเรียนของ Charlie Brown Snoopy พยายามรำลึกถึงกฎ ‘I มาก่อน E’ (I before E) หากเขาเกิดถูกขอให้สะกดคำศัพท์ ไม่ว่าจะอย่างไร Snoopy ก็สับสนกับมันทั้งหมดนั่นแหละ เพราะคิดว่ามันคือ กฎ ‘I มาก่อน C’ (I before C) หรืออาจจะเป็นกฎ ‘E มาก่อน M นอกเสียจากจะอยู่หลัง G’ หรืออาจจะเป็น ‘3 มาก่อน 2 นอกเสียจากจะอยู่หลัง 10’ ก็เป็นได้ ก็เหมือน ๆ กับ Snoopy เด็กๆ หลายคนที่มีอาการของ LD ต้องดิ้นรนต่อสู้กับรายละเอียดต่างๆ ในการเขียน  ตรงกันข้ามกับเพื่อนร่วมชั้นที่เขียนได้ดี กระดาษส่งงานของเด็กเหล่านี้เต็มไปด้วยข้อผิดพลาดในการสะกดคำ การใช้อักษรตัวใหญ่ และเครื่องหมายวรรคตอน รวมทั้งลายมือเขียน อย่างไรก็ตามทักษะที่ควรมีเป็นนิสัย เช่น ความราบรื่นในการเขียนด้วยลายมือและการสะกดคำนี้ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทางด้านการเขียน เพราะถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญต่อคุณภาพและความลื่นไหลของการเขียน

ลักษณะร่วมกันประการที่สี่ของ Arthur และนักเรียนอื่นๆ ที่มีอาการของ LD แสดงให้เห็นเป็นภาพด้วยการ์ตูน Peanuts ในส่วนที่เกี่ยวกับ Sally น้องสาวของ Charlie Brown ในระหว่างกำลังฝึกเขียน
เครื่องหมายมหัพภาค หรือจุด full stop Sally บอกพี่ชายว่า เครื่องหมายนี้สำคัญมากแล้วตะโกนว่า
‘จุด full stop นี้ต้องใส่ไว้ข้างหลังประโยคทุกประโยค เช่นเดียวกับ Sally เด็กที่มีอาการของ LD มักเน้นความสำคัญของทักษะการคัดลอกมากจนเกินไป อย่างเช่น ในการเขียนลายมือ การสะกดคำ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน หรือการขึ้นต้นประโยคด้วยอักษรตัวใหญ่ เมื่อมีการเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมชั้นที่เขียนได้ดี เป็นไปได้อย่างมากที่เด็กเหล่านี้จะรู้สึกตึงเครียดเมื่อต้องบรรยายถึงการเขียนที่ดีและการเป็นนักเขียนที่ดีต้องทำอย่างไร และพวกเขาก็ยังมีความรู้น้อยเกี่ยวกับการเขียนและขั้นตอนของการเขียน

ในรายงานฉบับนี้ เราตรวจพบวิธีที่โรงเรียนจะสามารถช่วยเด็กอย่างเช่น Arthur และเด็กนักเรียนคน
อื่นๆ ที่มีอาการของ LD ให้เป็นนักเขียนที่มีทักษะได้ การสอนเรื่องการเขียนที่เด็กหลายคนในจำนวนนี้กำลังได้รับนั้นยังไม่เพียงพอ การสอนสำหรับเด็กเหล่านี้บางคน เกือบจะมุ่งเน้นการสอนทักษะการเขียนในระดับต่ำกว่าเท่านั้น อย่างเช่น การเขียนลายมือ การสะกดคำ โดยมีโอกาสฝึกเขียนจริงน้อยมาก คนอื่นๆ ถูกนำไปเข้าชั้นเรียนซึ่งมีการเน้นเรื่องการเขียนอยู่เป็นประจำ แต่ก็ให้เวลาน้อยมากในการสอนทักษะและกลยุทธ์ในการเขียนที่จำเป็น เพราะมักคิดกันเอาเองว่า ทักษะต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถฝึกให้เชี่ยวชาญได้ด้วยวิธีการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการและโดยไม่ได้ตั้งใจ แม้กระนั้น เด็กอื่นๆ ก็ยังเข้าเรียนในโรงเรียนที่ไม่มีการจัดเวลาให้ไม่ว่าจะเป็นการเขียนหรือการสอนเขียนอย่างจริงจัง เป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้ที่เด็กซึ่งมีอาการของ LD จะได้รับทุกอย่างที่จำเป็นต้องรู้ในแผนงานเช่นที่ว่ามานี้ เราเชื่อว่าการสอนด้านการเขียนให้เด็กเหล่านี้ควรต้องเน้นทั้งการป้องกันและการเยียวยา เพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กแต่ละคนอย่างเฉพาะเจาะจงลงไป รักษาสมดุลที่แข็งแรงระหว่างความหมาย ขั้นตอน และรูปแบบให้ดี และใช้วิธีการเรียนรู้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

การออกแบบการสอนเช่นนี้ไม่ใช่งานง่าย เพราะไม่ได้มีการจำกัดเฉพาะครูหรือระดับคะแนนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องอาศัยความพยายามที่สอดคล้องต้องกัน ประสานกัน และแผ่ขยายออกไป ปัญหา
ด้านการเขียนของเด็กที่มีอาการของ LD ไม่ใช่ปัญหาชั่วคราวที่จะเยียวยาได้ง่าย คำแนะนำของเราในการจัดศูนย์ดำเนินงานดังกล่าวมีหลักเกณฑ์อยู่ด้วยกัน 6 ประการ คือ

  1. จัดการสอนด้านการเขียนที่มีประสิทธิผล
  2. ปรับการสอนด้านการเขียนให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กที่มีอาการของ LD แต่ละคน
  3. รีบเยียวยาเสียแต่เนิ่นๆ ขอให้มีความพยายามที่สอดคล้องต้องกันและช่วยกันประคับประคองเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของเด็กที่มีอาการของ LD
  4. คาดหวังไว้ว่าเด็กทุกคนจะเรียนรู้เรื่องการเขียน
  5. แจกแจงและบอกให้ทราบถึงอุปสรรคของการเขียนและความสำเร็จของโรงเรียน ทั้งทางด้านการศึกษาและไม่ใช่ทางด้านการศึกษา และ
  6. นำเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในการพัฒนาด้านการเขียนให้บรรลุผล

แปลและเรียบเรียงจาก Prevention and Intervention of Writing Difficulties for Students with Learning Disabilities By: Steven Graham, Karen R. Harris, and Lynn Larsen (2001)
โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
 

ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181