ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การจัดทำแผนการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา (Nonverbal Learning Disabilities – NLD) ตอนที่ 5

Sue Thompson, M.A., C.E. (1998)

บอกให้เด็กทราบถึง ‘การสร้างภาพเรื่องขีดความสามารถ’

เด็กที่มีอาการของ NLD ยังไม่ได้มีความเสียหายทางกระบวนการรับรู้นั้น ตามปกติจะแสดงออกถึงความสามารถทางการพูดตั้งแต่ระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยไปจนถึงระดับเหนือกว่าคนอื่น สิ่งนี้ทำให้เกิด
‘การสร้างภาพเรื่องขีดความสามารถ’ รวมทั้งความคาดหวังถึงความสำเร็จในการศึกษาขึ้น เด็กคนนี้พูดจาฉาดฉานเหมือนผู้ใหญ่ และใช้ศัพท์แสงที่น่าประทับใจ จนทำให้เกิดความประทับใจจอมปลอม ว่าเป็นคนมีความสามารถมาก และเข้าใจโลกรอบตัวมากกว่าในความเป็นจริง แม้เด็กคนนี้ จะใช้คำพูดที่จัดทำมาเป็นอย่างดี แต่ก็ยังขาดทักษะชีวิตที่นำไปใช้ได้จริง และความเป็น ‘คนตีนติดดิน’
(สามารถหรือรอบรู้ในการต่อสู้ หรือใช้ชีวิตร่วมกับคนบนท้องถนน) อยู่นั่นเอง

โดยทั่วไป เด็กคนนี้มีความจำเป็นเลิศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกิดจากการเรียนรู้โดยการท่องจำ) เขาจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ประทับใจไว้ในคลังสมองเหมือนไม่มีวันสิ้นสุด และแสดงออกถึงทักษะในความเชี่ยวชาญเหนือกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน แต่ความสามารถของความจำที่น่าประทับใจดังกล่าว เป็นความพิเศษสุดเพียงเรื่องเดียวตามธรรมชาติ และเสื่อมสลายไปเมื่อเด็กไปพบข้อมูลใหม่ๆ หรือถูกนำไปอยู่ในสถานการณ์ที่เด็กคาดหวังว่า จะประเมินข้อมูลที่เข้ามา และปฏิบัติตนตามความเหมาะสม ตามความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เดิม หากเด็กยังคงขาดความเข้าใจและทักษะในการประเมินในระดับสูงอยู่

เมื่อพิจารณาดูจุดแข็งในสิ่งที่เด็กมีความประทับใจแล้ว ก็ไม่น่าประหลาดใจที่ผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะสรุปเอาความคาดหวังที่มีอยู่อย่างสูงในตัวเด็ก  สติปัญญาทางภาษาถือเป็นคุณสมบัติที่มีการถกเถียงกันอย่างมากในวัฒนธรรมของเรา และการใช้คำพูดเกินวัยในเด็กที่มีอาการของ NLD นั้น มักทำให้เรามองข้ามหรือไม่ก็ลดค่าของน้ำหนักในความบกพร่องทางระบบประสาท ที่เป็นพื้นฐานของลักษณะพิเศษทางพฤติกรรมที่น่ากังวลใจนี้ลง  ดังที่ได้นำเสนอไว้ในบทความนี้ นักวิชาการศึกษาส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่จุดแข็งของ ‘สมองซีกซ้าย’ ของเด็กอยู่เสมอ ทำให้พลอยสร้างสมมติฐานผิด ๆ เกี่ยวกับขีดความสามารถทางด้านอื่น ๆ ของเด็กไปด้วย และสนองตอบเด็กราวกับว่าเป็นคนมีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานต่างๆ ในระดับที่สูงกว่าที่ควรจะเป็นมากเสียด้วย

ที่จริงแล้ว การให้นักวิชาการศึกษาชื่นชมกับการใช้ความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่ในความบกพร่องของเด็กเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ในเด็กที่มีอาการของ NLD ที่มีความเฉลียวฉลาดอย่างมากและเป็น ผู้มีความจำดีอย่างไม่น่าเชื่อในการท่องจำข้อมูล จะพบปัญหาทางด้านความเข้าใจและทักษะในการจัดระบบ เด็กอาจมีความสามารถในการจำข้อมูลทางสถิติอย่างกว้างขวาง แต่ในขณะเดียวกัน เขากลับลืมวันกำหนดส่งงานหรือลืมเอาดินสอเข้ามาในชั้นเรียน ทักษะในการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาเป็นความบกพร่องอีกด้านหนึ่งของเด็กที่มีอาการ NLD ที่คนมักไม่ทันนึกถึง เพราะคำพูดเกินวัยที่แสดงออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัดของเด็ก ดอกเตอร์ Rouke เน้นอีกว่า อุปสรรคสำคัญของความสำเร็จในการวางแผนการศึกษาของเด็กที่มีอาการของ NLD นั้น ไม่อาจเปลี่ยนแปลง
‘ความประทับใจที่ผิดพลาดว่าเด็กนั้นมีความเชี่ยวชาญและสามารถปรับตัวได้มากกว่าความเป็นจริง’ ของครูลงไปได้ ดังนั้น ในการจัดทำแผนการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่อยู่ในระบบโรงเรียน ที่หลงลืมความต้องการของตนเองอยู่บ่อย ๆ สิ่งสำคัญที่ครูและสมาชิกในคณะทำงานต้องทำอย่างเจาะจง คือ ต้องบอกเด็กอย่างจริงจังถึงความสามารถที่ยังขาดอยู่ในการหาเหตุผลที่เปลี่ยนแปลงง่ายและปัญหายิ่งใหญ่สุดของการจัดการกับสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งสามารถบรรลุความสำเร็จได้โดย:

  • จัดทำแผนการศึกษาเฉพาะรายบุคคล
  • ใช้การคาดการณ์โดยอายุและระดับชั้นที่ปรับเปลี่ยนได้
  • เน้นทักษะทางการศึกษาที่เป็นจุดแข็งและพรสวรรค์ในเด็กที่มีอาการของ NLD โดยการสร้างสถานการณ์ของการร่วมกันเรียนรู้ ซึ่งทักษะด้านความเชี่ยวชาญทางการพูด การอ่าน การสะกดด้วยปากเปล่า คำศัพท์ และทางด้านการจดจำที่จะแสดงออกมาในรูปของความได้เปรียบ(และปัญหาทางด้านการเขียนของเด็กจะถูกเน้นน้อยลง)
  • อย่าทึกทักเอาว่า เด็กคนนี้เข้าใจอะไรบางอย่างได้ เป็นเพราะเด็กสามารถพูดตอบกลับมาเป็นนกแก้วนกขุนทองทุกคำที่คุณเพิ่งพูดจบ
  • อย่าทึกทักเอาว่าเด็กคนนี้เข้าใจในสิ่งที่ตนได้อ่านไป เพียงเพราะเขาเป็นนักอ่าน ‘ที่ช่ำชอง’(เป็นคนรู้จักใช้คำพูดได้ดีเยี่ยม)
  • ให้คำอธิบายเพิ่มเติมเมื่อเด็กดูเหมือนจะ ‘หลงทาง’ หรือแสดงความสับสนออกมาให้เห็น

ในบทความเรื่องนี้ ข้าพเจ้าได้เสนอแนะกลวิธีในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างง่ายๆ และไม่แพง ที่สามารถนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถของเด็กที่มีอาการของ NLD ให้สามารถจัดรูปแบบของแผนงานชดเชย ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความสามารถของเด็กในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ สามารถสร้างความแตกต่างอย่างใหญ่หลวงให้เกิดขึ้นกับชีวิตของเด็กที่มีอาการของ NLD (ทั้งในปัจจุบันและอนาคต) เป็นหน้าที่รับผิดชอบของนักวิชาการศึกษาในการทำให้สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้อย่างเหมาะสมสำหรับเด็กทุกคน มีความปลอดภัย คุณเป็นผู้ถือกุญแจดอกสำคัญ และคุณคือ ผู้ที่สามารถจะสร้างศักยภาพของเด็กที่มีอาการของ NLD ให้ถึงขีดสุด หรือไม่ก็เป็นผู้ทำลายชีวิตของเด็กคนนี้ให้พังพินาศลงไปได้

ความจริงแล้วไม่น่าจะมีหนทางให้เลือก ณ เวลานี้ เราทุกคนจะต้องลุกขึ้นเพื่อต่อสู้กันต่อไป.

-------------------------------------------------------------------

เกี่ยวกับผู้เขียน

Sue Thompson สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโททางด้านการศึกษาพิเศษ * (Special Education) จาก St. Mary’s College of California มีประสบการณ์ด้านการสอน ทั้งหลักสูตรสามัญและการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเอกชนของมลรัฐแคลิฟอร์เนียมานาน 25 ปี

ปัจจุบัน ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาเป็นรายบุคคล ในฐานะที่ปรึกษาด้านการศึกษาและนักบำบัดโรค (Educational Consultant & Therapist)

แปลและเรียบเรียงจาก Developing an Educational Plan for the Student with NLD (Nonverbal Learning Disabilities) By Sue Thompson} M.A. C.E. (1998) โดย ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก