ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การจัดทำแผนการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา (Nonverbal Learning Disabilities – NLD) ตอนที่ 2

Sue Thompson, M.A., C.E. (1998)

มีปัญหาในการสรุปข้อมูลที่เรียนรู้ไปก่อนหน้านั้น

การสรุปความ คือ การส่งผ่านและการนำข้อมูลที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว ไปใช้กับสถานการณ์และสภาพแวด ล้อมใหม่ ๆ เราต้องสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความตระหนักว่า ความคิดที่ไม่เหมือนใครนั้น สามารถนำไปใช้ได้กับขอบเขตของหัวข้อเรื่องที่กว้างขวาง และ/หรือรู้ว่า วิธีการที่ไม่เหมือนใครก็อาจนำไปใช้ได้กับหลากหลายสถานการณ์ เด็กที่มีอาการของNLD ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน แม้ว่าเหตุ การณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจะแตกต่างจากเหตุการณ์เดิม ที่เด็กเคยใช้วิธีการนั้นๆจัดการอย่างได้ผลเพียงเล็ก น้อยก็ตาม เด็กคนนี้มักไม่เข้าใจว่าคนอื่นคาดหวังอะไรจากตนไว้บ้าง เพราะเธอไม่สามารถนำกฎเกณฑ์หรือหลักการใดๆ ที่เคยเรียนรู้มาก่อนจากอีกช่วงเวลาหนึ่ง และในอีกสถานการณ์หนึ่ง มาใช้กับเหตุการณ์ที่ กำลังเผชิญหน้าอยู่ได้ อุปสรรคของการสรุปข้อมูล จะสร้างปัญหาในการปรับแก้รูปแบบที่เรียนรู้ไป ให้ไม่สามารถนำไปใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดใหม่ และในการคาดคะเนผลที่ตามมา

เมื่อต้องทำงานร่วมกับเด็กที่มีอาการของ NLD ครูมักจะบ่นว่า เด็ก ‘ปฏิบัติต่อทุกสิ่งทุกอย่างราวกับว่ามันเป็นข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำพัง’ เท่านั้น ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เด็กจดจำได้ดี หรือสะท้อนกลับมาในลักษณะของการพูดคนเดียวยาวๆ นั้น จะไม่มีวันถูก ‘นำไปเก็บ’ รวมกับข้อมูลอื่นที่คล้ายคลึงกันอย่างแน่นอน ดังนั้น การเรียนรู้ในปัจจุบัน จะไม่ถูกนำไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ ความสัมพันธ์ในเรื่องของเหตุและผลไม่มีประโยชน์อีกต่อไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีการพูดคุยเพื่อถกปัญหากับเด็กเกี่ยวกับแต่ละเหตุการณ์อย่างลึกซึ้งในขณะที่เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น

เด็กจะเรียนรู้ผ่านการพูดคุยนั้น (การเจรจาไกล่เกลี่ย) ทักษะในการสรุปความที่เด็กส่วนมากได้รับในคราวเดียวกันนี้ จำเป็นต้องนำมาบอกกล่าวในลักษณะของขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงกับเด็กที่มีอาการของ NLD ผู้นี้ ควรทบทวนข้อมูลที่มีการนำเสนอด้วยการใช้คำพูด และนำขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงมาช่วยให้เด็กนำพาข้อมูลเข้าไปเก็บไว้ภายใน และนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ ที่เรียนรู้มาก่อน ต้องส่งเสริมให้เด็กรู้จักสรุปสิ่งที่ตนเรียนรู้ไปให้ได้ ซึ่งสามารถทำให้สำเร็จได้โดย:

  • อย่าคาดหวังให้เด็กสรุปคำสั่งหรือแนวความคิดต่างๆ ได้เองโดยอัตโนมัติ
  • ใช้ภาษาให้เป็นสะพานเชื่อมเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่เข้ากับสิ่งที่เคยเรียนรู้มาแต่เดิม
  • ทบทวนข้อมูลเก่าก่อนที่จะนำเสนอความคิดใหม่ๆ
  • ใช้คำพูดชี้ให้เห็นถึงความคล้ายคลึง ความแตกต่าง และความเชื่อมโยง
  • ใช้คำพูดชี้นำไปถึงข้อสรุป ที่อาจนำไปใช้กับสถานการณ์หลากหลายได้
  • พูดคุยถกปัญหากับเด็กในหัวข้อความสัมพันธ์เรื่องเหตุและผล เกี่ยวกับเหตุการณ์และสถาน การณ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนอย่างมีแบบแผน

มีปัญหาในการปฏิบัติตามคำสั่งที่มีหลายขั้นตอน

ความสับสนที่เกิดขึ้นว่า อะไรที่จำเป็นต้องทำท่ามกลางความล้มเหลวของเด็ก เพื่อช่วยให้เด็กทำงานที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียนให้สำเร็จลุล่วง หรือสามารถปฏิบัติตามทิศทางของชั้นเรียนได้ เด็กส่วนมากจดจำคำสั่งที่ออกมาเป็นชุดได้โดยการมองเห็นภาพตนเอง กำลังปฏิบัติแต่ละขั้นตอนตามคำสั่งนั้น โดยไม่พยายามจดจำทุกคำพูด (แบบคำต่อคำ) ของคำสั่งที่ยืดยาวเป็นหางว่าวนั้นเลย อย่างไรก็ดี เหตุที่เด็กที่มีอาการของ NLD ไม่สามารถส่งต่อข้อมูลนี้ไปยังสมองซีกขวา เพื่อให้มองเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับได้ เด็กจึงพยายามจดจำทุกคำพูดตามที่เขาได้ยิน จากนั้น เขาก็ถูกคาดหวังให้ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นๆ ในลักษณะของการเรียงลำดับตามใบสั่ง แน่นอน การทำเช่นนี้เป็นเรื่องยากมากกว่าการเพียงแค่เก็บกักข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงนั้นไว้ (ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าได้ผลน้อยกว่า)

เพียงหนึ่งหรือสองคำสั่งที่จะมีการปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง (โดยมีการข้ามบางขั้นตอนไปบ้าง) และแล้วเด็กก็จะถามต่อว่า ‘ตอนนี้หนูต้องทำอะไร’ (คุณแม่ที่หมดความอดทนบอกกับฉันเมื่อไม่นานมานี้ว่า คำที่ได้ยินซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากลูกชายคือ ‘แล้วยังไงอีก?’) บรรดาครูๆ มักจะเข้าใจพฤติกรรมแบบนี้ ผิดไปเองว่า เป็นปัญหาจากการฟังและความไม่ตั้งใจ นั่นไม่ใช่ตัวปัญหา ที่จริง เด็กก็สนใจฟังอย่างเอาใจใส่และได้ยินคำสั่งเป็นชุดนั้นทั้งหมด แต่เนื่องจากเด็กไม่สามารถนึกเห็นภาพตนเองทำให้สำเร็จได้ เขาไม่อาจ ‘จับความ’ ข้อมูลนั้นได้ ไม่ใช่เพราะเขาไม่สนใจหรือไม่มีแรงจูงใจ แต่สมองของเขาน่าจะมีการจัดการข้อมูลแตกต่างไปจากเด็กคนอื่นๆ

ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดว่า ในสถานการณ์ดังกล่าว คงจะไม่มีการบอกเด็กซ้ำๆ ว่า ‘ตั้งใจหน่อย’ ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนว่าจะช่วยให้เด็ก ‘จับใจความ’ ของคำสั่งที่เป็นคำพูดยืดยาวนั้น โดยการบันทึกลงในเทป หรือเขียนแจก อาจจำเป็นต้องมีการลด และเว้นช่วงของคำสั่งบ้าง เมื่อได้ทราบความจำเป็นของเด็กแล้ว ขอให้ช่วยเด็กมีโอกาสเพิ่มความสามารถที่บกพร่องไปเนื่องจากระบบประสาทด้วย
ซึ่งจะทำให้สำเร็จได้ โดย:

  • เขียนออกมาให้เห็น และ/หรือบันทึกเสียงคำสั่งหลายขั้นตอนลงในเครื่องเทป
  • เขียนตัวเลขกำกับแต่ละขั้นตอน และออกคำสั่งให้มีความต่อเนื่องชัดเจน
  • แตกชิ้นงานออกเป็นส่วนย่อยๆ ที่สามารถจัดการได้ และออกคำสั่งครั้งละน้อยๆ
  • ต้องมั่นใจได้ว่าเด็กเข้าใจคำสั่งของคุณ อย่าด่วนสรุปเอาว่า การที่เด็กพูดซ้ำๆกลับมาจะหมายความว่า เด็กจะจำและสามารถทำตามได้ตลอด
  • จับคู่เด็กที่มีอาการ NLD กับเด็กปกติให้เป็นเพื่อนคู่หู ที่จะคอยเตือนให้เด็กทำ ‘ขั้นตอนถัดไป’
  • สอนเด็กให้หาคำพูดหรือข้อความที่ช่วยเตือนความจำมาใช้เพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการจดจำช่วงสั้น
  • ตรวจสอบกับเด็กในทุกช่วงการหยุด เพื่อความแน่ใจว่าเด็กจะไม่ ‘หลุด’ หรือสับสน

ใช้การแปลตรงตัวมากที่สุด

เด็กที่มีอาการของ NLD มีแนวโน้มที่จะใช้การแปลคำพูดหรือข้อความอย่างตรงตัว ภาพในความคิดของเด็กสามารถสัมผัสแตะต้องได้ แต่ความสามารถเข้าใจในความหมายของคำที่เป็นรูปธรรม และการวินิจฉัยในเรื่องต่างๆ ของเด็กนั้น ยังไม่ดีพอ เด็กจะใช้และตีความหมายอย่างตรงตัวในทุกกรณี เด็กคนนี้ไร้ความสามารถที่จะแปลความหมายของภาษาพูด หรือสำนวนที่เป็นการอุปมาต่างๆ และเธอก็จะไม่รู้ด้วยเวลาที่ถูกคนหยอกเย้าหรือหลอกเล่น ขึ้นอยู่กับครูที่จะต้องเป็นผู้คอยเชื่อมโยงระหว่างการตีความภาษาของเด็ก และความหมายที่แท้จริงของคำพูดหรือข้อเขียนนั้นๆ หากสามารถทำได้ดังนี้ เด็กที่มีอาการของ NLD จะสามารถกำหนดใจความสำคัญของการสนทนาหรือการบ้านทางด้านการขีดเขียนได้ง่ายขึ้น แล้วการตอบสนองของเด็กก็จะมีความเหมาะสมมากขึ้น

เมื่อจำเป็นต้องใช้แนวคิดที่เป็นนามธรรม ให้หาข้อมูลที่เป็นคำพูดมาเสริม แยกให้เป็นส่วนย่อย แล้วอธิบายความคิดที่เป็นนามธรรมนั้นอย่างละเอียด หลีกเลี่ยงการใช้คำสั่งที่คลุมเครือ เป็นต้นว่า “เธอจำเป็นต้องระวัง’ หรือถามคำถามเลื่อนลอยอย่าง ‘พวกเธอพร้อมไหม’ ผู้ใหญ่จำเป็นต้องพูดอย่างเจาะจงลงไป และควรตึความแนวคิดที่เป็นนามธรรมให้เด็กฟังด้วย เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจสิ่งที่ได้ยินและได้อ่าน เหล่านี้สามารถประสบความสำเร็จได้โดย:

  • อธิบายถึงเจตนาของคุณที่พูดถึงสิ่งซึ่งอาจถูกตีความผิดไป
  • ทำให้แนวคิดที่เป็นนามธรรมง่ายขึ้นและแยกออกเป็นส่วนย่อยๆ
  • เริ่มต้นด้วยความคิดและรูปภาพที่เป็นรูปธรรม แล้วค่อยๆ นำไปสู่ความคิดและรูปภาพที่เป็นนามธรรม ด้วยความเร็วที่เด็กเป็นผู้กำหนด
  • ต้องเข้าใจว่า ปัญหาเรื่องคำเปรียบเทียบ ความดื่มด่ำทางอารมณ์ ความหมายในระดับต่าง ๆ และความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในหนังสืออ่านเล่นเรื่องต่างๆ นั้น เด็กจะไม่มีวันเข้าใจ ถ้าคุณไม่ได้อธิบายให้เด็กฟัง
  • สอนให้เด็กพูดว่า ‘หนูไม่แน่ใจว่าคุณหมายความว่าอย่างไร’ หรือ ‘หนูฟังไม่เข้าใจเลย’เป็นการสอนคำศัพท์ให้เด็ก เท่ากับช่วยให้เด็กเข้าใจถึงความตั้งใจของคุณ
แปลและเรียบเรียงจาก Developing an Educational Plan for the Student with NLD (Nonverbal Learning Disabilities) By Sue Thompson} M.A. C.E. (1998) โดย ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181