ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“การฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชตามแนวคิดใหม่ ตอน 2”

บทสัมภาษณ์ : คุณรัชนี แมนเมธี คณะกรรมการจากสมาคมสายใยครอบครัวและประธานศูนย์บริการคนพิการจิตสายใยครอบครัว ออกอากาศ : วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

        สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยจิตเภท กลับมามีอาการเจ็บป่วยซ้ำ  มีสาเหตุอย่างน้อย 3 ประการดังนี้คือ ประการที่หนึ่ง คือบุคคลเหล่านี้มีความบกพร่องทางทักษะต่าง ๆ ทั้งด้านการทำงาน สังคม รวมถึงการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่ออยู่ในสังคม สาเหตุประการที่สอง คือ ทัศนคติ และการขาดความรู้และทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับญาติและคนในชุมชน เช่น  ญาติไม่ยอมรับในตัวผู้ป่วย เพราะไม่เชื่อว่าจะทำประโยชน์ได้และกลัวจะไปรบกวนความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ซึ่งเป็นผลให้ผู้ป่วยเหล่านี้ ไม่มีโอกาสที่จะใช้ความสามารถที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดผลเสียต่อการสร้างทัศนคติที่ดีของสังคมต่อผู้ป่วยจิตเวช และสาเหตุประการสุดท้ายคือการขาดความต่อเนื่องของการรับบริการ และไม่มีบริการทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ 

        สำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมา ปัจจุบันได้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงองค์กรท้องถิ่นได้ให้ความสนใจ   และเข้ามามีส่วนร่วม ในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยมากขึ้น อย่างไรก็ดี   เนื่องจากกลุ่มองค์กรดังกล่าวอยู่ในช่วงเริ่มต้นดำเนินงาน    อาจต้องอาศัยการสนับสนุนส่งเสริมจากบุคคลากรทางวิชาชีพอีกหลายด้าน เช่น ในด้านผลกระทบของโรคที่มีต่อความสามารถในการดำเนินชีวิตในชุมชน   ที่อาจต้องอาศัยความรู้ด้านกิจกรรมบำบัดที่มุ่งเน้นศึกษา และใช้กิจกรรมการดำเนินชีวิตมาเป็นสื่อในการส่งเสริมสุขภาพ  และลดผลกระทบจากการเจ็บป่วยหรือขาดความสามารถ   โดยนักกิจกรรมบำบัดจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคล กลุ่ม และชุมชนมีความสามารถในการทำกิจกรรมหลัก ๆ ของชีวิต และลดผลกระทบจากการเจ็บป่วยและขาดความสามารถและภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะที่รับผิดชอบด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการให้บริการทางวิชาการทางกิจกรรมบำบัดแก่ชุมชน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวมา จึงได้จัดโครงการกิจกรรมบำบัดด้านสุขภาพจิตในชุมชนขึ้น 

 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 kHz

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก