ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาสตรีพิการ”

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 kHz

     ผู้หญิงไทยจํานวนมากยังถูกละเมิดสิทธิต่าง ๆ ด้วยเหตุแห่งความเป็นผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิงที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ผู้หญิงยากจน ผู้หญิงพิการ และผู้หญิงเผ่าม้ง มีความเสี่ยงต่อการได้รับความ รุนแรงในรูปแบบต่างๆ มากกว่าผู้หญิงกลุ่มอื่นๆ

     ความจําเป็นต่อการได้รับการพัฒนาศักยภาพของของสตรีพิการเนื่องด้วยเหตุผลที่สตรีพิการเป็น กลุ่มเปราะบาง (Vulnerability) ซึ่งความเปราะบางนั้นคือ  ผู้หญิงมีความลําบากและปัญหาสุขภาพมากกว่าเพศชาย สตรีพิการที่ไม่เคยเรียนหรือไม่ได้เรียนมีจํานวนมากกว่าผู้ชาย และพบว่าผู้ชายจบการศึกษาสูงกว่าผู้หญิง มากในทุกระดับ ซึ่งส่งผลต่อการมีโอกาสในการเลือกทํางานหรือการมีความรู้ในการดําเนินชีวิต  สตรีพิการไม่ได้ทํางานและมีจํานวนน้อยมากที่มีโอกาสได้ทําอาชีพที่สําคัญ ๆ เช่น ขาดบทบาทในการ กําหนดนโยบายและการต่อสู้เพื่อสิทธิของคนพิการ ประชากรพิการที่มีความลําบากในระดับรุนแรงโดยเพศหญิงจะมีมากกว่าเพศชาย  สตรีพิการเป็นกลุ่มที่ถูกละเมิดสิทธิและถูกกระทําความรุนแรงสูง สตรีพิการใช้ชีวิตอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง ญาติ สามีหรือลูก – ทัศนคติของบุคคลที่เกี่ยวข้อง สังคม ต่อสตรีพิการ เป็นทางลบ  สตรีพิการมีทางเลือกไม่มาก เนื่องจากไม่มีคนให้คําปรึกษา แนะนํา ไม่มีอํานาจในการตัดสินใจ

     ดังนั้นจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งในการกําหนดแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาสตรีพิการ เพื่อให้ครอบคลุม ประเด็นความเปราะบาง ความเป็นชายขอบ การถูกละเลย เพิกเฉย ลดคุณค่าของสังคมที่มีต่อพวกเธอ โดยการ พิจารณาให้ครบทุกมิติของชีวิต อันได้แก่  การจัดการศึกษาเฉพาะ การพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับการนําไปใช้ในการประกอบอาชีพ ส่งเสริม การเรียนนอกระบบ การเรียนตามอัธยาศัย การส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีศักยภาพในการอบรมสั่งสอน จัดการศึกษา ที่บ้านได้ โดยได้รับคําแนะนําและการสนับสนุน การรับรองจากภาครัฐ  มีมาตรการในการช่วยเหลือการมีงานทํา และเป็นงานที่มีลักษณะที่เหมาะสมกับสตรีพิการ เป็นงาน ที่หลากหลาย มีทางเลือก ระบบการจ้างงานที่ยุติธรรม ส่งเสริมอาชีพอิสระที่ยั่งยืน มีมาตรการช่วยเหลือหากถูก เลือกปฏิบัติ หรือได้รับความไม่เป็นธรรมจากการทํางาน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ  การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งมีความสําคัญมากนอกเหนือจากการเข้าถึงบริการของรัฐ ผ่านสื่อ สิ่งพิมพ์ เว็ปไซต์ อุปกรณ์ ช่วยเหลือตามความต้องการของคนพิการ การเข้าถึงชุมชน ไม่เพียงแต่สตรีพิการ แต่ต้อง ให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เข้าไปถึงผู้ดูแล เพราะส่วนใหญ่สตรีพิการมักจะอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อแม่ ครอบครัว มากกว่าที่จะอยู่เพียงลําพัง การที่ผู้ดูแลมีความรู้มีทัศนคติที่ถูกต้อง ได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือ ทําให้สตรีพิการมี โอกาสในการพัฒนาตนเองทั้งการศึกษา การทํางานและโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมมากขึ้น

 

บทสัมภาษณ์ : คุณดำรงไชย ภู่สุวรรณ ออกอากาศ : วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181