ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“การศึกษาของเด็กพิการและการมีส่วนร่วมของพ่อแม่”

บทสัมภาษณ์ : คุณพรรณี ศรีบรรเทา ออกอากาศ : วันเสาร์ที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

         คนพิการส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชนบท รวมทั้งมีข้อจำกัดในการจ้างงานคนพิการ เช่น สิ่งอำนวยความสะดวก ในการเดินทางและการทำงาน ความรู้ความสามารถ วุฒิการศึกษาไม่ตรงกับความต้องการ และทัศนคติในการทำงานร่วมกับคนปกติ ดังนั้น กระทรวงแรงงาน ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม พัฒนารูปแบบการจ้างงานคนพิการรูปแบบใหม่ โดยส่งเสริมให้เจ้าของสถานประกอบการสมารถจ้างงานคนพิการเข้าทำงานด้านสาธารณประโยชน์ของบริษัทในพื้นที่/ชุมชน เพื่อให้เกิดต้นแบบการจ้างงานที่เป็นรูปธรรม นำไปสู่การขยายผลต่อไป

 

        คนพิการที่มีงานทำส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม ประมง และป่าไม้ และมีธุรกิจเป็นของตนเอง ซึ่งจากการศึกษาของสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ พบว่าคนพิการที่มีงานทำมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าคนทั่วไป หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยประมาณ 2 ใน 3 ของรายได้เฉลี่ยการจ้างงานทั่วไป ในขณะที่คนพิการวัยแรงงานที่มีศักยภาพในการทำงานอีกกว่า 3 แสนคน ไม่มีงานทำ และมีรายได้จากเบี้ยยังชีพเดือนละ 800 บาทเพียงทางเดียว นอกจากนี้จากข้อมูลจากการสำรวจระบุว่า คนพิการส่วนใหญ่จะมีระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา หรือต่ำกว่า ทำให้โอกาสในการทำงานที่ต้องอาศัยทักษะในสถานประกอบการนั้นเป็นไปได้ยาก การจ้างงานในชุมชนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้คนพิการมีงานทำ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

         การมีงานเป็นความปรารถนาของทุกคน “คนพิการต้องมีงานทำ” เป็นคำประกาศที่ตรงใจมาก เพราะตลอดชีวิตการทำงานของตนก็เพื่อให้คนพิการมีงานทำ การจ้างงานคนพิการเพื่อทำงานชุมชนเป็นทางเลือกที่ดีและเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ คนพิการที่เข้าถึงสิทธิก็ต้องมีความพร้อมทั้งร่างกายจิตใจและความรู้ความสามารถ เราต่างต้องการดำรงชีวิตอิสระ ต้องการแสดงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีอย่างเท่าเทียมในสังคม คนพิการต้องแสดงให้เห็นถึงพลังในตนเองและนำพลังนี้ไปพัฒนาชุมชน ตนขอเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างงานอันทรงคุณค่าที่จะเอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรมต่อไป

 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 kHz

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก