ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“กองทุนคนพิการที่ญี่ปุ่น”

บทสัมภาษณ์ : คุณวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ออกอากาศ : วันเสาร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

       ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับคนพิการในประเทศมาก โดยพยายามให้ผู้พิการสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเองให้มากที่สุด ประเทศญี่ปุ่นให้คนพิการมีสิทธิทำงาน มีเงินบำเหน็จบำนาญ มีเงินค่าจ้างให้กับผู้ดูแลคนพิการ(คนพิการรุนแรงจำเป็นจะต้องมี) มีบัตรพิเศษคนพิการที่จะได้รับบริการก่อนคนปกติทั่วไปเมื่อไปใช้บริการตามสถานที่ต่างๆ (คล้ายๆกับบริการทางด่วนสำหรับคนพิการของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ที่ผมจะเล่าให้ฟังในตอนต่อไป) ส่วนสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไม่ต้องห่วง ญี่ปุ่นมีพร้อมทุกอย่างเพื่อรองรับความสะดวกสบายสำหรับคนพิการ ตั้งแต่ทางลาด ห้องน้ำ รถเมล์ประจำทางสาธารณะ รถไฟฟ้า อิฐบล็อกนำทางสำหรับผู้พิการทางสายตา(คนตาบอด) อักษรเบรลล์ตามสถานที่สาธารณะตามอาคาร คนพิการในญี่ปุ่นจึงสามารถออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านหมือนกับคนปกติทั่วๆไป มีการดำรงชีวิตที่อิสระ
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในประเทศญี่ปุ่น ไปดูให้รู้ว่าที่ญี่ปุ่นเค้าดูแลคนพิการอย่างไร ถึงทำให้คนพิการดำรงชีวิตได้คล้ายคนปกติมากที่สุด ทั้งระบบขนส่ง สวัสดิการสังคม รวมทั้งไปดูห้องสมุดคนตาบอดที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งให้บริการฟรี มีทั้งหนังสือเสียงที่อ่านโดยอาสาสมัคร และหนังสืออักษรเบรลล์จำนวนมาก บริการทุกอย่าง สร้างขึ้นด้วยความเข้าใจ และต้องการเปิดโลกใบใหม่ที่สดใสกว่าเดิมให้กับคนพิการ
ระบบการศึกษาในญี่ปุ่นเป็นระบบ 6-3-3-4 นั่นคือประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษา 6 ปี และอุดมศึกษา 4 ปี การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี สำหรับเด็กที่มีอายุ 6-15 ปี อัตราการส่งเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมต้น 100% มัธยมศึกษาตอนปลาย 95% อัตราผู้รู้หนังสือ 99% การศึกษาพิเศษเริ่มต้นขึ้นในประเทศญี่ปุ่น เมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีมาแล้ว มี การจัดตั้งโรงเรียนสำหรับคนตาบอด และคนหูหนวกขึ้นก่อนโรงเรียนประเภทอื่น แต่ไม่มีการบังคับให้เด็กพิการเข้าเรียน การศึกษาพิเศษเป็นการศึกษาบังคับในปี คศ. 1948 สำหรับเด็กตาบอดและหูหนวก ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กสมองพิการ CP และโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายขึ้นในเวลาต่อมา
กระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่น ได้กำหนดให้มีหลักสูตรแห่งชาติสำหรับเด็กปกติ ในขณะเดียวกันก็มีคู่มือการใช้หลักสูตรสำหรับเด็กพิการที่เรียนอยู่ในโรงเรียนเฉพาะด้วย คู่มือเหล่านี้จะให้คำแนะนำและแนวทางในการสอนเด็กพิการตลอดจนเนื้อหาวิชาในหลักสูตรที่จะนำมาสอนเด็กพิการ

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 kHz

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181