ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

สมองที่มีรูปลักษณ์แตกต่างเป็นพิเศษสามารถบอกถึงโรคออทิสซึ่มในเด็กเล็กได้ล่วงหน้า

Maia Szalavitz วันที่ 27 มิถุนายน 2556
brain
Getty Images/Photo Researchers RM
 
การเปลี่ยนแปลงของยีนน่าจะอยู่เบื้องหลังอาการออทิสติกในหลาย ๆ กรณีอย่างแน่นอน และผลการวิจัยล่าสุดบอกเราว่า การปรับเปลี่ยนบางประการเหล่านั้น อาจช่วยส่งเสริมให้โครงข่ายเส้นประสาทในสมองเชื่อมโยงกันเหนียวแน่นมากกว่าเดิม

สมองที่มีการเชื่อมโยงกันดีมาก อาจหมายถึงการที่สัญญาณต่าง ๆ ซึ่งเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วจากประสาทรับความรู้สึกไปยังโครงข่ายเส้นประสาทส่วนอื่นๆ เพิ่มจำนวนขึ้นมากจนเกินไปในการแยกตัวออกจากกันและเข้าสู่ระบบ บรรดานักวิจัยเชื่อว่า นี่คือเครื่องหมายรับรองคุณภาพสมองคนเป็นออทิสติก และจากการศึกษาวิจัยงานหนึ่งที่ลงพิมพ์ในวารสาร JAMA Psychiatry ของ Stanford University พบรายงานว่า รูปแบบของการเชื่อมต่อมากจนเกินไป (hyperconnectivity) ในบริเวณสมองบางส่วน อาจถือเป็นลายพิมพ์นิ้วมือ* ของการเกิดโรคออทิสซึ่ม ที่จะช่วยให้แพทย์รู้ถึงสภาวะของโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
 
นักวิทยาศาสตร์ได้สแกนสมองของเด็กออทิสติก 20 คน อายุระหว่าง 7-12 ขวบและยังจำลองภาพของเด็กในช่วงวัยเดียวกันที่มีพัฒนาการตามปกติอีก 20 รายมาเพื่อการเปรียบเทียบด้วย และได้พบการเชื่อมโยงที่แน่นเหนียวมากกว่าในโครงข่ายประสาทในสมองส่วนหลัก ๆ ในเด็กออทิสติก รวมทั้งสมองส่วนที่เกี่ยวกับการสำรวจตนเอง การมองเห็น และการเคลื่อนไหว
 
[* ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคลที่ไม่สามารถปลอมแปลงหรือสร้างทดแทนขึ้นได้]
 
พวกนักวิจัยยังได้เห็นความเชื่อมโยงที่แข็งแรงระหว่างโครงข่ายเส้นประสาทต่าง ๆ ที่ช่วยสมองคัดเลือกข้อมูลท่วมท้นที่หลั่งไหลเข้ามาในสมอง ทั้งจากร่างกายและสภาพแวดล้อมรอบตัว ข้อมูลเหล่านี้ทำร้ายร่างกายเราอยู่ตลอดเวลา salience network (หรือโครงข่ายของการสังเกต การรับรู้อารมณ์ภายในตนเองและการรวบรวมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก) มีหน้าที่ตัดสินว่าระหว่างความรู้สึกภายใน และความรู้สึกภายนอกนั้น ส่วนใดต้องการความเอาใจใส่โดยฉับพลันทันที การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นักวิจัยเป็นผู้พัฒนาเพื่อให้สามารถรับรู้ถึงการทำงานของสมองในขณะสร้างภาพข้อมูล และพวกเขาก็ได้พบว่า แค่วาดภาพกราฟฟิกของ salience network  ขึ้นมาเพียงอย่างเดียว ก็สามารถจำแนกเด็กที่เป็นออทิสติกหรือไม่ได้เป็นออทิสติกที่ร่วมในการศึกษาวิจัยครั้งนั้นได้แม่นยำ ถึงร้อยละ 78 ในขณะที่ในการศึกษาวิจัยที่ใช้ข้อมูลที่ได้จากนักวิจัยท่านอื่น ๆ สามารถจำแนกได้อย่างแม่นยำร้อยละ 83
 
 “ยอดเยี่ยมจริง ๆ” Kamila Markram ผู้อำนวยการโครงการโรคออทิสซึ่ม สถาบัน Brain Mind แห่ง EPFL (Ecole Polytechnique Federale de Lausanne) หรือโรงเรียนโปลีเทคนิคแห่งชาติของโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ซึ่งไม่ได้ร่วมในการทำวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า “เราจะต้องขยับต่อไปสู่เรื่องของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biological marker) ของโรคออทิสซึ่ม และต้องไม่อาศัยเพียงแค่การสัมภาษณ์และการเฝ้าสังเกตโดยใช้คนเท่านั้น” ก่อนหน้านี้ Markram เคยตีพิมพ์ผลงานวิจัยสัตว์ของเธอ ที่นำเสนอว่า การเชื่อมต่อมากจนเกินไป (ในสมอง) น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคออทิสซึ่ม
 
นอกจากนี้ ถ้าการเชื่อมต่อใน salience network ของเด็กออทิสติก ยิ่งแข็งแรงมากเท่าใด อาการแย่ลงกว่าเดิมของเด็ก ๆ ทางด้านพฤติกรรมทำซ้ำ เช่น การโคลงตัวไปมา และความสนใจที่ถูกจำกัดขอบเขต อย่างเช่น การเกิดความวิตกกังวลกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือตารางธาตุ * ผลสำรวจเสนอแนะว่า เด็กออทิสติกมีพัฒนาการที่ผิดแปลกออกไปจากเด็กปกติมาตั้งแต่วัยเด็ก และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจสืบค้นได้โดยอาศัยการจำลองภาพสมอง
 
การเชื่อมต่อมากจนเกินไป อาจช่วยอธิบายทั้งเรื่องความบกพร่องของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิสซึ่ม และผลลัพธ์ที่ดีกว่าบางประการได้ ยกตัวอย่างเช่น สมองที่มีอัตราการเชื่อมต่อกันในระดับสูงกว่า มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะข้อมูลท่วมท้น ซึ่งอาจนำไปสู่การแยกตัวออกจากสังคม ความสนใจที่ถูกจำกัดขอบเขต และพฤติกรรมซ้ำซาก อันเป็นกลวิธีของการหลีกหนีปัญหา (escaping) หรือ เผชิญกับปัญหา (coping) แต่โครงข่ายเส้นประสาทที่พัวพันกันจนยุ่งเหยิงเช่นนี้ อาจนำไปสู่การมีความทรงจำและสมาธิที่ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมากก็ได้
 
* ตารางธาตุ (Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี คิดค้นขึ้นใน พ.ศ. 2412 โดยนักเคมีชาวรัสเซียชื่อ Dmitri Mendeleyev จากการสังเกตว่า เมื่อนำธาตุที่รู้จักมาวางเรียงตามลำดับเลขอะตอม จะพบว่าคุณสมบัติพื้นฐานบางอย่างคล้ายกัน สามารถจำแนกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ จึงเกิดเป็นรูปแบบตารางธาตุที่พัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
 
“สิ่งนี้ช่วยยืนยันสมมติฐานและทฤษฎีต่างๆ ที่เราได้นำเสนอไว้ในงานต้นแบบของเรา” Markram ผู้ซึ่งทำโครงการเกี่ยวกับหนู ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการให้ยาในระยะพัฒนาการของทารกในครรภ์ เช่น ยารักษาโรคลมบ้าหมู valproic acid (VPA) หรือ Depakote ที่มีส่วนทำให้เกิดภาวะของการเชื่อมต่อมากเกินไปในสมอง และอาการของกลุมโรคคลายออทิสติก สิ่งนี้เองชักนำให้เธอริเริ่มทฤษฎี ‘intense world’ ซึ่งเล็งเห็นว่าโรคออทิสซึ่มนี้ เป็นผลพวงจากการมีสมองอันท่วมท้นจากการรับและประมวลผลข้อมูลที่มีปริมาณมากจนเกินไป
 
ตามทฤษฎีดังกล่าวนี้ การใช้สมาธิอย่างหมกมุ่นและซ้ำ ๆ กัน ที่ปรากฏขึ้นในคนไข้ออทิสติกบางราย อาจจะเป็นกลไกของการเผชิญหน้ากับภาวะข้อมูลท่วมท้นก็เป็น ได้ Vinod Menon ศาสตราจารย์สอนวิชาจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นที่ Stanford ผู้เขียนนำของงานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ กล่าวว่า“เพราะว่าสมอง [ของคนออทิสติก] ไม่อาจปรับการใช้สมาธิของตนให้สามารถตอบสนองต่อข้อมูลภายนอกได้ เพราะพวกเขาจะมีสมาธิเพียงแค่กับเรื่องที่ตนเองสนใจในวงแคบๆ เท่านั้น.....อันที่จริง ความมีสมาธิในลักษณะดังกล่าว จะมาช่วยเชิดชูส่วนที่ดีเด่น แต่ว่าถูกจำกัดขอบเขตของทักษะพิเศษนี้ได้” เขายังเสริมด้วยว่า งานวิจัยชิ้นใหม่ของเขานั้น “เปิดหนทางอันงดงามของความคิดเกี่ยวกับวิธีการที่สมองถูกจัดระเบียบ ซึ่งอาจนำไปสู่ความบกพร่องและความสมบูรณ์แข็งแรงได้ทั้งสองอย่าง”
 
การรู้จักรูปลักษณ์ที่มีความแตกต่างเป็นพิเศษของสมองคนออทิสติกนี้ ยังช่วยในการระบุเด็กมีความเสี่ยงสูงกว่า แม้จะมีภาวะของพัฒนาการที่ดีก่อนอาการในชั้นต้นจะปรากฏให้เห็น ซึ่งมักจะอยู่ในราววัยสองขวบ การศึกษาวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ เสนอแนะว่า การรักษาด้วยการบำบัดทางพฤติกรรมที่ช่วยให้เด็กวัยหัดเดิน ได้เรียน รู้วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยรูปแบบที่มีระบบระเบียบนั้น จะสามารถสร้างโครงข่ายของเส้นประสาทสมองที่มีแนวโน้มว่าผิดปกติขึ้นมาใหม่ได้ ทั้งการศึกษาวิจัยในขั้นตอนต่อไป อาจช่วยขัดเกลาวิธีการบำบัดรักษาเหล่านี้ได้จนไปถึงระดับที่จะช่วยคนออทิสติกให้ได้เพิ่มพูนทักษะในการคิดสร้างสรรค์และความสามารถที่จะสำรวมความคิดและบรรเทาพฤติกรรมไม่เหมาะสมทั้งปวงที่มีอยู่ให้ลดน้อยลง
แปลและเรียบเรียง Unique Brain Pattern Could Predict Autism in Youngest Children จาก Time.com

ภาพประกอบบทความออทิสติก

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181