ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

กุญแจสู่การมี IQ สูงคืออะไร? ไม่ว่อกแว่ก

Maia Szalavitz 24 พฤษภาคม 2556

Danielle D. Hughson / Getty Images
 
มีการศึกษาวิจัยที่เสนอแนะว่า สติปัญญาของคนเราขึ้นอยู่กับการที่ สมอง ของเราเลือกจะละเลยอะไร มากกว่าความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่มีอยู่ตามปกติ
 
งานวิจัย ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารชื่อ Current Biology ได้ชี้แนะวิธีการใหม่ ๆ ในการทดสอบสติปัญญา ที่อาจมีความลำเอียงจากความรู้ทางวัฒนธรรมขึ้นมาได้ อย่างที่ใครหลายคนมักอ้างว่าเกิดขึ้นในการทดสอบระดับสติปัญญา (IQ) แบบอื่น ๆ งานวิจัยนี้อาจช่วยอธิบายถึงพรสวรรค์ด้านสติปัญญาของคนเป็นออทิสติกบางคน Scott Barry Kaufman ผู้ช่วยศาสตราจารย์คลินิก สาขาจิตวิทยาแห่ง New York University ผู้ไม่ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยชิ้นนี้ กล่าวว่า “นี่คือกระบวนทัศน์ (กรอบความคิด) ใหม่ที่น่าสนใจและมีศักยภาพพอที่จะพัฒนาได้”
 
นักวิทยาศาสตร์โดยการนำของ Duje Tadin ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางด้านสมองและวิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา แห่ง University of Rochester ได้ศึกษาคนจำนวน 67 คน จากการทดลองสองแบบที่คล้ายคลึงกัน ก่อนเริ่มงาน ผู้ร่วมในการวิจัยทั้งหมดเข้ารับการทดสอบระดับสติปัญญา (IQ) 12 คนแรกทำแบบทดสอบแบบย่อ คนที่เหลือนั่งรอการทดสอบแบบสมบูรณ์ จากนั้นพวกเขาได้ดูวีดิทัศน์ของวัตถุขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่มีการเคลื่อนไหวทีละนิด ๆ ไปทางขวาหรือไม่ก็ไปทางซ้ายของจอ แล้วให้พยายามบอกถึงทิศทางการเคลื่อนไหวให้ได้ นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า การจับตามองวัตถุที่มีขนาดใหญ่นั้นที่จริงแล้ว ออกจะท้าทายความสามารถมากกว่า ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะในโลกแห่งธรรมชาตินั้น การเคลื่อนไหวของฉากหลังที่มีขนาดใหญ่ อย่างเช่นฉากของหมู่ไม้ที่เสียดสีกันอยู่ในแรงลม ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมโดยทั่วไปของมนุษย์  — ดังนั้น สมองจะมองข้ามหรือไม่ใส่ใจกับต้นไม้เหล่านั้น Tadin กล่าวว่า “สิ่งที่คุณต้องการจะเห็นก็คือ การมีสัตว์สักตัวหนึ่งแอบอยู่หลังต้นไม้ พร้อมจะกระโจนใส่คุณ”
 
กลุ่มนักวิจัยพบว่า ความแตกต่างระหว่างความสามารถของบุคคลในการระบุทิศทางการเคลื่อนไหวระหว่างวัตถุขนาดเล็กและขนาดใหญ่อย่างถูกต้องได้นั้น มีความเชื่อมโยงอย่างสำคัญกับระดับสติปัญญา (IQ) ของพวกเขา Tadin อธิบายว่า“ยิ่งพวกเขาพบว่ามีปัญหากับวัตถุขนาดใหญ่ และทำได้ดีกว่ากับวัตถุขนาดเล็ก
มากเพียงไหน ระดับสติปัญญา(IQ) ของเขาก็จะดีขึ้นมากเพียงนั้น” กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ สติปัญญาอาจต้องอาศัยการต้องเลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างความเก่งในการบ่งบอกความเคลื่อนไหวของวัตถุขนาดเล็ก กับการทำไม่ได้ดีเลยกับวัตถุขนาดใหญ่ Tadin และเพื่อนร่วมงาน เรียกวิธีการประเมินทักษะประเภทนี้ว่า”ดัชนีวัดความอดทน” 
 
Kaufman กล่าวว่า “นี่คือการศึกษาครั้งแรกที่ผมเคยเห็น แสดงให้เห็นถึงความสามารถเหมือนกันทุกประการในการสกัดกั้นและทำให้ข้อมูลสับสน [ในระดับต่ำ] มีความเกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่น (ข้อความสั่งต่างๆ ที่อยู่ภายใน) อันดับสูง (higher order functions)”
 
แม้ว่าคนเราจะพยายามที่จะเชื่อมโยงสติปัญญาเข้ากับความเร็วในการรับรู้และความแม่นยำ นับตั้งแต่มีการศึกษาเรื่องความหลักแหลมเป็นเรื่องแรก งานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า มีความเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อยกับมาตรการวัดความเร็วในการประมวล ผลข้อมูลเกี่ยวกับการวัดและส่งความรู้สึก “สำหรับสติปัญญานั้น คุณจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว แต่คุณก็ยังจำเป็นต้องเน้นความสำคัญของข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากที่สุด แล้วกรองข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป” Tadin กล่าว
 
ทักษะประเภทนั้น อาจเป็นได้ทั้งเป็นการรบกวนในบางครั้งและมาช่วยส่งเสริมให้ดีขึ้นในอีกหลายๆ ทางสำหรับโรคออทิสซึ่ม ในงานวิจัยครั้งก่อนหน้านี้  Tadin ได้ทดสอบการประมวลผลเกี่ยวกับการวัดและส่งความรู้สึกของคนที่เป็นออทิสติก พบว่า เด็กที่เป็นออทิสติกสามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวของวัตถุที่มีความแตกต่างกันอย่างมากได้อย่างมีประสิทธิผลเป็นสองเท่าของเด็กๆ ที่มีพัฒนาการตามปกติ ความไวต่อสิ่งกระตุ้นที่สูงขึ้นอาจช่วยอธิบายว่าเหตุใดคนออทิสติก จึงมักจะพบว่า ตนเองถูกครอบงำโดยประสบการณ์เกี่ยวกับการรับ-ส่งความรู้สึกที่มีพลัง เช่น แสงสว่างจ้า และเสียงอึกทึก ที่เราส่วนใหญ่แสดงออกมา แต่กลับไม่ใส่ใจ
 
อย่างไรก็ตาม ความไวต่อความรู้สึกนี้  อาจเชื่อมโยงกับพรสวรรค์ทางสติปัญญาของคนที่เป็นออทิสติกแต่ละคน — และการทดสอบในลักษณะของทักษะในการรับรู้ความรู้สึกเช่นนี้ อาจเผยให้เห็นสติปัญญาที่การทดสอบระดับสติปัญญา (IQ) แบบเดิมไม่อาจตรวจจับได้ Kaufman บอกว่า “คนที่มีอาการออทิสติกแบบสติปัญญาดี แต่ไม่สามารถแสดงพฤติกรรมสื่อความหมายได้ (high functioning autism) จะเก่งในการมุ่งเน้นไปยังลักษณะเฉพาะกาลในการรับรู้ และละเลยต่อภาพที่ใหญ่กว่าไปโดยสิ้นเชิง...กระบวนทัศน์แนวใหม่นี้ ช่วย [แนะแนวทาง] ในการวัดสติปัญญาของคนที่เป็นออทิสติก ซึ่งมักจะได้รับการประเมินค่าต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะการทดสอบทั้งหมดเต็มไปด้วยคำพูดทั้งนั้น”  
 
แต่ในขณะเดียวกัน ก็ดูเหมือนว่า ดัชนีวัดความอดกลั้น อาจมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับลักษณะทางด้านภาพและเสียงของระดับสติปัญญา (IQ) มาตรการนี้แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องอย่างเหนียวแน่นกับสติปัญญาด้านการใช้คำพูด Tadin บอกว่า “นี่เป็นเรื่องที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน” เขายังบอกด้วยว่า ระดับสติปัญญาทางด้านการใช้คำพูดนี้ มีผลเชื่อมโยงกับคะแนนรวมในการทดสอบ ถึงกระนั้น ก็ยังไม่ปรากฏความชัดเจนว่า เหตุใดความเกี่ยวข้องดังกล่าว จึงเกิดขึ้นมาพร้อมกับทักษะนี้.
 
ทั้ง Tadin และ Kaufman ไม่มีใครในสองคนนี้ที่มองว่าการทดสอบแบบใหม่นี้จะมาแทนที่การทดสอบระดับสติปัญญา (IQ) แต่หากผลการวิจัยครั้งต่อไป จะช่วยยืนยันถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างดัชนีความอดกลั้น และระดับสติปัญญา (IQ) และจะกำหนดด้วยว่ามันจะเปลี่ยนไปตามอายุอย่างไร นี่อาจช่วยให้พบข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของสติปัญญา ตัวอย่างเช่น การทดสองแนวใหม่อาจมีประโยชน์แก่เด็กที่มีภูมิหลังที่ด้อยโอกาส ผู้ซึ่งมีสติปัญญาที่หากทดสอบด้วยวิธีทดสอบระดับสติปัญญา (IQ) แบบเดิม อาจพบผลลัพธ์เทียมว่า อยู่ในระดับต่ำ เพราะพวกเขาไม่ได้รับการกระตุ้นสติปัญญาในแบบที่ถูกต้องเหมาะสม หรือถูกเปิดตัวต่อสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมเดิม ๆ ที่สะท้อนออกมาจากคำถามต่าง ๆ ในบททดสอบ
 
งานวิจัยยังแสดงด้วยว่าความสามารถทางสติปัญญาอาจขึ้นอยู่กับความสามารถในการหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ใจวอกแวก และทำให้เกิดคำถามต่าง ๆ ที่น่าสนใจตามมาเกี่ยวกับผลกระทบที่ความแปรผันอย่างต่อเนื่องของโลกดิจิตอล อาจจะมีต่อสติปัญญาของคนรุ่นต่อไป Tadin กล่าวถึงวิทยาการต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา และ แบ่งแยกความสนใจของเราไปว่า “มันยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ” เพื่อรักษาสติปัญญาของเราให้คงอยู่อย่างเดิม เขาเสริมว่า “เราจำเป็นจะต้องกรองบางสิ่งบางอย่างออกไปจากวิทยาการพวกนี้”
แปลและเรียบเรียง The Key to a High IQ Not Getting Distracted จาก Time.com

ภาพประกอบบทความออทิสติก

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก