ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“บทบาทของผู้นำสตรีพิการในการพัฒนาคนพิการในท้องถิ่น จ.ลำปาง”

ประเด็นด้านความพร้อม ความสามารถ ความร่วมมือ และการติดต่อสื่อสารกันของผู้นำคนพิการทุกประเภทตามโครงสร้างคณะกรรมการสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด ถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความเข้มแข็งในการทำงาน ซึ่งควรมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และระบบสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการคนพิการแต่ละประเภท เพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นระบบมากขึ้น โดยในส่วนของผู้แทนคนพิการทางการได้ยินหรือสมาคมคนหูหนวกเสนอให้มีการสนับสนุนและจัดเตรียมล่ามภาษามือเพื่อให้ผู้แทนคนพิการด้านการได้ยินหรือคนหูหนวก ได้รับทราบและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้องและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ประเด็นด้านการเชื่อมโยงกันของเครือข่ายสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด ทั้งกับหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก โดยการเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่ายสภาคนพิการทุกประเภท  ยังขาดความเป็นเอกภาพ ซึ่งอาจะเกิดจากความเข้มแข็งขององค์กรคนพิการแต่ละประเภทยังมีความแตกต่างกัน และขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำงาน รวมถึงปัญหาในการเชื่อมโยงการทำงานหน่วยงานภายนอก ทั้งหน่วยงานภาครัฐ

 

ประเด็นด้านการพัฒนาเครือข่ายคนพิการให้มีความเข้มแข็ง โดยสภาคนพิการ  ทุกประเภทจังหวัดควรจุดประกายเพื่อให้คนพิการร่วมมือกันให้เกิดเป็นพลังพลเมือง พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการทำงาน จัดทำระบบที่ปรึกษาเพื่อสนับสนุนการทำงานและสร้างบุคลากรของสภาคนพิการที่มีคุณภาพให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นผู้นำของสภาคนพิการรุ่นต่อไป ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาความเข้มแข็งของสภาคนพิการจังหวัดโดยการจัดกิจกรรมในพื้นที่ มีการแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมความรู้ระหว่างกัน นอกจากนี้ควรมีการหารือและทำงานในเชิงรุกเพื่อนำเสนอการดำเนินงานของสภาคนพิการกับหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการบูรณาการและขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับของสภาคนพิการ

 

ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สภาคนพิการทุกประเภทในระดับจังหวัด ควรมีการส่งเสริม พัฒนา ขับเคลื่อน และปรับปรุงการดำเนินงานในทุกมติ ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ กฎหมายและนโยบายในการดำเนินงานของสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด กลางน้ำ คือ สภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด ซึ่งต้องมีการบูรณาการให้เครือข่ายคนพิการทุกประเภทมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อเป้าหมายหรือจุดหมายร่วมกันโดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ พัฒนาการมีส่วนร่วมทั้งองค์กรคนพิการและหน่วยงานอื่นในพื้นที่รวมถึงการสร้างภาคีเครือข่ายและการสร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และปลายน้ำ คือ การทำงานของคนพิการในพื้นที่หรือท้องถิ่นซึ่งต้องสร้างให้เกิดความเข้มแข็งและความร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานของท้องถิ่น ดังนั้น จึงควรมีการพัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานในทุกมิติเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน

รวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 kHz บทสัมภาษณ์ : คุณดวงฤทัย วะจะนะ ออกอากาศ : วันอาทิตย์ที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก