ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การศึกษาวิจัย: การอาศัยอยู่ใกล้กับถนนใหญ่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคออทิสซึ่ม

Meredith Melnick 17 ธันวาคม 2553

มีเหตุผลหลายประการว่าทำไมคนถึงไม่อยากอาศัยอยู่ใกล้กับถนนใหญ่ เหตุผลที่ว่า เช่น เสียงดัง คุณภาพอากาศไม่ดี มีนักท่องเที่ยวมาหลงทางแถมมาใช้ถนนหน้าบ้านคุณเป็นที่กลับรถไม่รู้จบสิ้น แต่มีการศึกษาวิจัยใหม่เรื่องหนึ่งได้รับการตีพิมพ์ใน Environmental Health Perspectives ชี้ให้เห็นผลอีกด้านหนึ่งนั่นคือเด็กที่อาศัยอยู่ใกล้ถนนใหญ่มาตั้งแต่เกิด จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคออทิสซึ่มถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับเด็กที่อาศัยอยู่ห่างออกไปจากถนนใหญ่
 
นักวิจัยได้สัมภาษณ์และทดสอบเด็กที่เป็นโรคออทิสซึ่มจำนวน 304 คน และอีก 259 คนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองใหญ่ๆ อย่างนครลอสแองเจลิส ซานฟรานซิสโก และซาคราเมนโต ที่มีพัฒนาการตามปกติ เพื่อให้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ นักวิจัยได้พบว่า เด็กที่มาจากครอบครัวซึ่งอาศัยอยู่ห่างจากทางด่วนภายในระยะ 1,000 ฟุต หรือ 300 เมตร มาตั้งแต่เกิด ซึ่งมีจำนวนร้อยละ 10 ของเด็กที่อยู่ในการทดสอบนี้ มีโอกาสที่จะเป็นโรคออทิสซึ่มถึงสองเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่พักอาศัยไกลจากถนนใหญ่ออกไป
 
ความเชื่อมโยงนี้เป็นจริงภายหลังจากมีการควบคุมตัวแปรอื่น ๆ อย่างเช่น อายุของมารดา การศึกษาของบิดามารดา รวมทั้งประวัติการสูบบุหรี่ ที่น่าสนใจคือผลอย่างเดียวกันนี้มิได้เกิดขึ้นกับเด็กที่อาศัยอยู่ใกล้ถนนที่มีการจราจรติดขัดอย่างสาหัส นักวิจัยจึงได้สร้างทฤษฎีขึ้นมาว่า ประเภทและปริมาณสูงสุดของสารเคมีชนิดต่างๆ ที่แพร่กระจายอยู่บนท้องถนนใหญ่นั้น แตกต่างจากสารเคมีที่แพร่กระจายอยู่แม้ตามท้องถนนที่จอแจที่สุดในตัวเมือง
Heather Volk นักวิจัยจากสถาบันการวิจัย Saban แห่งโรงพยาบาลเด็ก นครลอสแองเจลิส กล่าวกับหนังสือพิมพ์ Los Angeles Times ว่า “การวิจัยนี้ ไม่ได้บอกว่า การเปิดรับความเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศหรือการเปิดรับความเสี่ยงจากการจราจร เป็นสาเหตุให้เกิดโรคออทิสซึ่ม หากบอกเพียงแค่ว่า อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้เกิดขึ้นเท่านั้น”
 
อย่างไรก็ตาม LA Weekly ได้มุ่งนำเสนอไปที่ผลการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ที่มองไปยังกลุ่มผู้ป่วยโรคออทิสซึ่มในย่านนครลอสแองเจลิส และพบว่าอัตราของผู้มีความผิดปกติเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มผู้อาศัยที่เป็นชนชั้นกลางระดับสูงในย่านนั้น ซึ่งมีระดับการศึกษาสูงกว่าค่าเฉลี่ย หรือเป็นผู้อาศัยอยู่ใกล้กับศูนย์บำบัดผู้ป่วยออทิสติกสำคัญๆ        ( บริเวณใกล้เคียงกับถนนใหญ่ ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเปรียบเทียบนี้ ) สันนิษฐานได้ว่า อัตราการเป็นออทิสซึมที่สูงขึ้น มีความเป็นไปได้อย่างน้อยก็ในส่วนที่มีการดูแลควบคุมดูแลเป็นอย่างดี — หรืออะไรบางอย่างที่ชุมชนคนรายได้น้อยยังไม่มี
 
ปัจจุบัน ยังไม่มีทางรักษาโรคออทิสซึม และนักวิจัยก็ยังคงหาสาเหตุต่อไป เช่น อาจเป็นชุดของยีนและสิ่งแวดล้อม เมื่อหลายปีมานี้ นักวิทยาศาสตร์มีความคืบหน้าในการระบุการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่แสดงถึงลักษณะพิเศษโดยเฉพาะของสมองของผู้ป่วยออทิสติก ที่อาจช่วยนำไปสู่การวินิจฉัยโรคได้ในระยะแรก ๆ การวินิจฉัยโรคได้แต่เนิ่นๆ อาจนำไปสู่การให้การบำบัดได้แต่เนิ่น ๆ โดยผู้วิจัยจะได้คิดหาวิธีรักษาเบื้องต้นที่ช่วยบรรเทาอาการออทิสติกได้ หรือในบางกรณี อาจช่วยป้องกันมิให้เกิดความผิดปกติหรือความแปรปรวนขึ้นได้ด้วย
 
เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว ทีมนักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัย Harvard และมหาวิทยาลัย Utahได้รายงานการใช้เครื่องสแกนสมอง MRI เพื่อจำแนกเด็กผู้ชายกับผู้ใหญ่เพศชายที่เป็นโรคออทิสซึ่ม โดยมีความแม่นยำถึงร้อยละ 92 และเมื่อต้นปีนี้เอง การศึกษาวิจัยที่ลงพิมพ์ในวารสาร American Journal of Psychiatry  พบว่า
 
ญาติของเด็กออทิสติกที่มีพัฒนาการเป็นปกติ ก็กลับมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า และมีปัญหาในการพูดที่เข้าใจยากเหมือนกันไปด้วยถึงร้อยละ 20 — โดยมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน หากมีความรุนแรงน้อยกว่าคนเป็นโรคออทิสซึ่มที่พบเห็นได้ทั่วไป —และนี่กลายมาเป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่จะมาช่วยโต้แย้งว่า ยีนนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการเป็นโรคออทิสซึ่ม

แปลและเรียบเรียง Study_ Living Near a Highway May Contribute to Autism Risk จาก TIME.com

ภาพประกอบบทความออทิสติก

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181