ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ทำให้การเขียนง่ายขึ้น: ช่วยให้เด็กติดต่อสื่อสารด้วยเสียง/สัญลักษณ์ได้โดยอัตโนมัติ ตอนที่1

Regina G. Richards (2008)

กระบวนการของการแสดงออกด้วยการเขียนนั้น ต้องอาศัยความสามารถของเด็กเป็นอย่างมากในการทำบททดสอบย่อยจำนวนมากในเวลาเดียวกัน โดยทั่วไปแล้ว กระบวนการเขียนอาจแบ่งออกได้เป็นสองด้านเมื่อมองภาพรวม คือ วิธีการ (mechanics) และ เนื้อหาสาระ (content) เมื่อใดที่เด็กใช้วิธีการเขียนขั้นพื้นฐานได้โดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพ (การเลือกใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ เครื่องหมายวรรคตอน ตัวสะกด รูปแบบตัวอักษร โครงสร้างประโยค) เมื่อนั้น การเขียนจะทำได้ง่ายมากขึ้นเมื่อเด็กมุ่งเน้นความสำคัญไปที่เนื้อหาสาระ (การแสดงความเห็นเป็นคำพูด และการจัดระเบียบความคิดเห็น) บทความเรื่องนี้ มุ่งที่จะวิเคราะห์องค์ประกอบเล็กๆ เพียงส่วนเดียวของวิธีการในการเขียน — กลวิธีที่ใช้การติดต่อสื่อสารด้วยเสียง/สัญลักษณ์ สิ่งนี้อธิบายถึงวิธีดำเนินการที่พ่อแม่ผู้ปกครองซึ่งมีลูกคนเดียว หรือครูที่สอนเด็กเป็นกลุ่ม จะนำมาใช้ได้

 

หากคนเราสามารถเขียนคำต่าง ๆ ลงบนกระดาษโดยอัตโนมัติได้มากขึ้นเพียงใด ถ้าได้มีการเน้นความสำคัญของเนื้อหาสาระด้วยแล้ว จะทำให้การเขียนนั้นง่ายขึ้น ตัวสะกดไม่จำเป็นต้องถูกต้องทุกตัวอักษร แต่จำเป็นต้องให้เด็กสามารถแก้ไขได้และอ่านแล้วเข้าใจว่าคนเขียนนั้นเขียนอะไร ลักษณะสำคัญ 3 ประการที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้สะกดตัวได้อย่างถูกต้อง ได้แก่

 
  • เสียง
    • ความเข้าใจในเรื่องระบบเสียงในภาษา
    • การติดต่อสื่อสารด้วยเสียง/สัญลักษณ์
    • มีความรู้เรื่องรูปแบบภาพที่แตกต่างไปจากธรรมดา

 

  • การจำด้วยภาพ
    • การจำภาพได้อย่างแม่นยำ (การจำภาพได้โดยอัตโนมัติเมื่อรู้บางส่วนของคำหรือทั้งคำ)
    • การจำส่วนที่ยากๆ
    • มีความรู้เรื่องรูปแบบภาพที่แตกต่างไปจากธรรมดา

 

  • กฎเกณฑ์
    • มีความรู้เรื่องกฎของการสะกดคำ รวมทั้งการออกเสียงพยางค์ในคำ การเน้นเสียงหนักเบา การยืดกล้ามเนื้อ และเสียงสระที่แตกต่าง

 

ทั้งสามส่วนนี้ เรียงกันไว้ตามลำดับขั้นตอน ดังนั้น ส่วนแรกที่ต้องเน้นความสำคัญ จะเริ่มจากความสามารถในการทำความเข้าใจกับเสียง ตามด้วยการติดต่อสื่อสารด้วยเสียง/สัญลักษณ์ การติดต่อสื่อสารด้วยเสียง/สัญลักษณ์ที่ดียังต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการนึกคิดและเห็นรูปร่างของตัวอักษรได้โดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพ  โดยไม่ต้องนึกถึงกิริยาท่าทางทีละช่วงทีละตอน บทความนี้มุ่งเน้นเรื่องพัฒนาการของการติดต่อสื่อสารด้วยเสียง/สัญลักษณ์ ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นต้องมีขึ้นก่อนในขั้นตอนของการเขียน

 

การติดต่อสื่อสารด้วยเสียง/สัญลักษณ์ที่มีประสิทธิภาพ จะนำไปสู่การวิเคราะห์การออกเสียงที่แม่นยำ และเป็นลักษณะสำคัญของกระบวนการเรียนรู้เพื่อการอ่าน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของการรับรู้เรื่องการออกเสียง และเป็นส่วนประกอบสำคัญของการเข้าถึงที่มีสมดุลอย่างเหมาะสม ซึงได้รับการสนับสนุนจากขอบข่ายงานของรัฐหลายแห่ง ในขณะที่วิธีการสอนอ่านนั้น ไม่ควรเน้นที่การสอนหรือผลลัพธ์จากการเน้นเพียงด้านพัฒนาการของทักษะมากจนเกินไปเพียงอย่างเดียว คุณประโยชน์สำคัญของวิธีสอนอ่านนั้นไม่ควรถูกมองข้ามหรือทิ้งไปเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง นี่คือข้อเท็จจริงสำหรับเด็กทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เรียนที่มีปัญหาทางการอ่านและทางการเขียน

 

การที่จะเป็นผู้อ่านหรือผู้เขียนที่มีทักษะได้นั้น เด็ก ๆ จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีถอดความจากคำได้ในทันทีอย่างง่ายดาย การทำได้โดยอัตโนมัติ  คือเป้าหมายสำคัญ ในชั้นแรก ขณะที่อ่านหนังสือ เด็ก ๆ จะต้องตรวจดูตัวอักษรและรูปแบบของตัวอักษรของคำใหม่ทุกคำ แต่ในขณะที่อ่านต่อไปเรื่อย ๆ กระบวนการอ่านนั้นจำเป็นต้องทำได้โดยอัตโนมัติ

 

การสอนเรื่องการออกเสียงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ ต้อง ชัดเจน และเป็นระบบ (California State Board of Education, 1996, หน้า 6) สำหรับการออกเสียงให้ชัดเจนนั้น ต้องอธิบายประเด็นและหลักการสำคัญให้ชัดเจนอย่างละเอียดลออ ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการออกเสียงที่มีประสิทธิภาพ คือ ต้องเป็นการออกเสียงที่เป็นระบบ ซึ่งจะต้องค่อย ๆ สร้างขึ้นมาจากปัจจัย พื้นฐาน ไปสู่รูปแบบที่ยากและซับซ้อนขึ้น วัตถุประสงค์ในการนำระบบที่มีเหตุผล และการนำมาซึ่งการขยายออกไปสู่คำใหม่ ๆ ที่เด็กจะต้องพบด้วยตนเอง จุดหมายสุดท้ายคืออิสรภาพในการอ่านและเขียนคำใหม่ ๆ และคำพิเศษที่ไม่เคยพบตามปกติ

 

ความต้องการดังกล่าว ได้รับการยืนยันเป็นครั้งแรกจากนายแพทย์ Samuel T. Orton และนักจิตวิทยาชื่อ Anna Gillingham ในผลงานแรกเริ่มของคนทั้งสองเกี่ยวกับความบกพร่องในการอ่าน ที่เขียนไว้เมื่อตอนต้นทศวรรษ 1920 และต่อมาในโครงการเพื่อการอ่านของ Gillingham (Gillingham, 1968) การสอนการออกเสียง ซึ่งมุ่งเฉพาะความเกี่ยวข้องของเสียง/สัญลักษณ์ตามแต่โอกาสจะอำนวยนั้น ส่งผลต่อการเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน ในเมื่อยังมีเด็กบางคนที่จะเรียนเรื่องการอ่านโดยไม่สนใจว่าเขาสอนอะไรกันในชั้นเรียน เด็กที่มีความบกพร่องทางการอ่าน หรือเด็กที่มีพื้นฐานการเรียนรู้ด้านการอ่านแตกต่างกัน จะไม่ยอมเรียนเรื่องการอ่านด้วยการสอนออกเสียงเท่าที่จะมีโอกาส เรื่องนี้ควรที่ครูจะต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถทำให้เกิดความแตกต่างขึ้น ระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางการอ่านที่กำลังเรียนรู้ หรือเด็กที่พยายามจะอ่าน

 

Orton และ Gillingham: ผู้บุกเบิกยุคแรกของการสอนอ่านแก่ผู้มีความบกพร่องทางการอ่าน
 

  • Samuel Torrey Orton  นายแพทย์ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ยอมรับว่าความบกพร่องทางการอ่านเป็นความบกพร่องทางการเรียนรู้อย่างหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เป็นคนแรกที่พิจารณาเห็นว่าความบกพร่องนั้นอาจมีจุดตั้งต้นเกี่ยวกับระบบประสาท  Dr. Orton ได้เน้นย้ำถึงมุมมองในแง่ดีซึ่งมีการทำนายไว้ก่อนหน้านั้นเมื่อปี 1925

  • ในช่วงทศวรรษที่ 1930 Dr.Orton ทำงานร่วมกับ นักจิตวิทยา Anna Gillingham และ Bessie Stillman ครูต้นแบบ เพื่อจัดทำวิธีการแบบ  Orton/Gillingham

  • ในคู่มือ Gillingham (The Gillingham Manuals) จะมีการนำเสนอเรื่องโครงสร้างของภาษาอังกฤษอย่างเป็นระบบ ซึ่งอธิบายถึงกระบวนการที่มีระเบียบวิธีในการสอนโดยใช้ประโยชน์ของประสาทสัมผัสทางการมองเห็น การได้ยินได้ฟัง และการรับรู้ถึงระบบกล้ามเนื้อในเวลาเดียวกัน โดยที่เราสามารถจะปรับในเรื่องของจังหวะของการดำเนินงานและรายละเอียดเพื่อความเหมาะ สมกับความต้องการและความสนใจส่วนบุคคลของเด็ก และเหมาะสมกับสติปัญญาของครูผู้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานของการทำกิจกรรม ซึ่งอาจมีการเพิ่มอุปกรณ์การสอนอื่น ๆ เข้าไปด้วย สิ่งนี้คือ วิธีการเข้าถึง ไม่ใช่วิธีดำเนินการ หรือระบบงานแต่อย่างใด 

 

การสร้างพื้นฐานของความใส่ใจในเรื่องการออกเสียงนั้น เด็กจะต้องเข้าใจวิธีการใช้หลักการเกี่ยวกับตัวอักษร และเด็กก็จำเป็นต้องเข้าใจแนวคิดและการใช้ประโยชน์ของระบบสัญลักษณ์/เครื่องหมาย (แทนตัวอักษร) หลังจากเข้าใจได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็ย่อมเป็นเรื่องง่ายที่เด็กจะเพิ่มการจับคู่เสียง/สัญลักษณ์ใหม่ ๆ เข้าไว้ในชุดความรู้ที่พวกเขาใช้ นี่คือเรื่องจริงสำหรับผู้มีความบกพร่องทางการอ่านโดยเฉพาะ และเป็นการแสดงให้เห็นเหตุและผลของวิธีการที่เป็นระบบ ซึ่งมี Gillingham เป็นตัวแทนในยุคเริ่มแรก
 

การเริ่มต้นด้วยการสอนเรื่องการออกเสียงนั้น จะได้ผลดีที่สุด หากเริ่มต้นจากการสอนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชุดของเสียงพยัญชนะและสระเสียงสั้น แล้วค่อยนำไปสู่เรื่องความสัมพันธ์กันของเสียง/สัญลักษณ์ต่อไป ด้วยการใช้ชุดตัวอักษรที่กำหนดขอบเขตเพื่อสร้างคำที่มีความคุ้นเคยให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เด็กจะค่อย ๆ เกิดความใส่ใจในระบบสัญลักษณ์/เครื่องหมายขึ้นมาเอง และเรียนรู้ที่จะใช้วิธีการออกเสียงมาอ่านและสะกดคำได้อย่างมีเหตุผล ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การทำได้โดยอัตโนมัติ 

 

มีผู้พบว่า การสอนเด็กทั้งที่มีความบกพร่องทางการอ่านและที่มีความบกพร่องทางการเขียนเรื่องการติดต่อสื่อสารด้วยเสียง/สัญลักษณ์แบบเป็นรูปธรรมและละเอียดลออนั้น มีประโยชน์อย่างยิ่ง วิธีดำเนินการดังกล่าวใช้ได้ผลกับผู้เรียนกลุ่มอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน แต่จะมีความจำเป็นมากกว่าสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการเฉพาะเป็นพิเศษ ระบบที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้แตกต่างจากระบบอื่น ๆ ตรงที่ระบบนี้ใช้การนำเสนอที่ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่าง มาผนวกกับภาพช่วยเตือนความจำ วิธีการที่อาศัยประสาทสัมผัสทางหู ทางตา และทางการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้ สามารถเข้ากันได้ดี เมื่อทำงานประสานกันกับเสียงต่าง ๆ แล้วนำไปเข้าคู่กับบรรดาตัวอักษร รวมถึงภาพที่มองเห็นด้วยตา ทั้งยังรวมอีกระบบหนึ่งไว้ทั้งหมดด้วย นั่นคือ การใช้ภาพในจินตนาการ ระบบดังกล่าว ช่วยให้เด็กมีตัวเกาะเกี่ยวหรือเชื่อมโยง จนทำให้สามารถจำคำไขรหัสของเสียงแต่ละเสียงได้ นอกจากนี้ การใช้กลุ่มคำที่ส่วนใหญ่ฟังดูเหลวไหลมาสร้างตัวเกาะเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ ทำให้เด็กสามารถพัฒนาการด้านเรียนรู้เรื่องคำได้ วิธีการนี้เอง ทำให้เกิดอีกระบบหนึ่งตามมา เพื่อช่วยในการฟื้นคืนข้อมูล

 

ระบบที่ว่านี้ เรียกว่า MFR (Memory Foundations for Reading) หรือ การวางพื้นฐานของการเก็บความจำเพื่อการอ่าน  เพราะความสำคัญของระบบซึ่งเป็นพื้นฐานของการอ่าน และช่วยส่งเสริมในการฟื้นความจำ ลำดับขั้นตอนที่แสดงไว้ในระบบ MFR นั้นดำเนินตามลำดับขั้นตอนที่แสดงไว้ในโครงการของ Gillingham ซึ่งก็ไม่ได้มีเหตุผลดีวิเศษกว่าแต่อย่างใด แต่อาจมีความหลากหลายในการนำไปใช้ร่วมกับโครงการเพื่อการอ่านอื่น ๆ ประเด็นสำคัญคือ ต้องแยกการสอนเรื่องตัวอักษรที่รูปร่างคล้ายกันด้วยรูปพรรณสัณฐานที่มองเห็นได้ (เช่น ตัวอักษร b และ d) และเสียงที่คล้ายคลึงกันซึ่งยากต่อการแยกแยะ (เช่น เสียง e สั้น และเสียง i สั้น) ควรสอนการออกเสียงเปรียบเทียบเป็นคู่ แล้วค่อย ๆ ยกระดับไปสู่ขั้นการทำได้โดยอัตโนมัติ (Automaticity) ก่อนที่จะสอนเรื่องเสียงที่สอง เมื่อเริ่มสอนเสียงที่สองแล้ว ก็จำเป็นต้องรวมเอาการฝึกอย่างเอาจริงเอาจังให้เห็นถึงความแตกต่างไว้ด้วย

 

ให้ความสำคัญกับคำรหัสเมื่อก้าวไปสู่ขั้นตอนของความเชื่อมโยงกันของเสียง/สัญลักษณ์

 

เด็กหลายคนเรียนรู้การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเสียงและสัญลักษณ์ผ่านการแสดงออก การฝึกซ้อม และการฝึกปฏิบัติเท่านั้น เด็กที่มีความบกพร่องทางการอ่าน และเด็กอื่น ๆ ที่มีปัญหาในกระบวนการอ่านได้รับประโยชน์อย่างจริงจัง จากการได้รับการสั่งสอนโดยตรงและการฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อช่วยให้เด็กสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบของการเห็น การได้ยินได้ฟัง การรับความรู้สึกและสัมผัสทางกายได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้พวกเขาทำความเชื่อมโยงและการติดต่อระหว่างข้อมูลในลักษณะนั้นได้ ซึ่งได้แก่  ทางโสตประสาท (สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง) ทางจักษุประสาท (สิ่งที่เห็น) และทางประสาทรับรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย (สิ่งที่พูดและเขียน) โครงการ Gillingham ได้กล่าวถึงตัวเชื่อมโยงที่ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างในรูปสามเหลี่ยมของการสื่อภาษา (ดูรูปที่ 1)

คำอธิบายรูปที่ 1
Auditory ทางโสตประสาท
Visual ทางจักษุประสาท
Kinesthetic ทางประสาทรับรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย

รูปที่ 1  — สามเหลี่ยมของการสื่อภาษา
 
หลักการพื้นฐานของสามเหลี่ยมของก่ารสื่อภาษาคือการสร้างเสียงตัวอักษรให้เป็นคำ เหมือนกับการนำก้อนอิฐมาก่อเป็นกำแพง เทคนิคที่ใช้อาศัยพื้นฐานของความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดขององค์ประกอบทางจักษุประสาท ทางโสตประสาท และทางประสาทรับรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Gillingham, 1968 หน้า 40)
 
การสอนเด็กโดยการแยกแยะคำรหัสสำหรับความเชื่อมโยงกันของแต่ละเสียง/สัญลักษณ์นั้น ใช้ได้ผลดีแต่ออกจะยุ่งยากและน่าเบื่อหน่าย ในทางตรงกันข้าม การสอนเรื่องคำรหัสด้วยวิธีการที่เป็นระบบระเบียบนั้นใช้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เด็กรู้จักนำวิธีบำบัดและการเชื่อมโยงที่หลากหลายมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้
 
ในระบบ MFR คำรหัสของความเกี่ยวข้องกันของแต่ละเสียง/สัญลักษณ์ จะถูกแทนด้วยวัตถุประสงค์ที่ทำเป็นภาพ ดังนั้น เมื่อต้องอ่านหรือเขียน เด็กจะสามารถบอกถึงความเชื่อมโยงนั้น ๆ เพื่อกระตุ้นเตือนให้นึกถึงเสียงที่ต้องการ เมื่อเด็กสามารถสร้างความเชื่อมโยงให้เกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็น่าจะสามารถฟื้นความจำได้โดยอัตโนมัติ การบอกคำรหัสในประโยคช่วยเตือนความจำ จะเป็นเครื่องช่วยจำที่อาศัยตัวเกาะเกี่ยวด้านเนื้อหาสาระและความเกี่ยวข้องกัน ภาพที่มองเห็นด้วยตาที่เชื่อมโยงกับกลุ่มคำที่ช่วยฟื้นความจำและทำให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น เมื่อนำรูปสีมาใช้ ข้อมูลทางสายตาก็จะถูกป้อนเพิ่มเข้าไป ด้วยการให้เด็กได้ระบายสีรูปเอง เด็กจะทำความเชื่อมโยงด้วยการรับรู้การเคลื่อนไหวทางกายได้ดียิ่งขึ้น ขณะเรียนรู้กลุ่มคำที่เชื่อมโยงกันไปด้วย โครงการ Memory Foundations for Reading: Visual Mnemonics for Sound/Symbol Relationships นี้  แต่ละรูปที่นำใช้ เป็นรูปแบบของภาพลายเส้น ขนาด 8½ x 11 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กอยากระบายสีรูป
 
กลยุทธ์การใช้สิ่งเตือนมีความสำคัญกับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการอ่าน สิ่งที่มาช่วยกระตุ้นเตือนความจำ คือ อุบายให้จดจำ กลยุทธ์หรือแผนการ ที่สร้างตัวเกาะเกี่ยวให้เด็กใส่ใจ และสามารถฟื้นความ จำได้ในเวลาต่อมา ควรอธิบายให้เด็กรู้ว่าคำรหัสนั้น คือ คำช่วยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก กล่าวคือ คำเหล่านี้เปรียบได้กับ กุญแจ ที่มาช่วยไขรหัสในการเรียนรู้และจำได้ว่าเสียงใดคู่กับตัวอักษรใด
 
ระบบ MFR ของภาพช่วยความจำ ทำให้เกิดระบบที่ช่วยให้เด็กสามารถจำเสียง/สัญลักษณ์ที่มีหลาก หลายมิติ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ชุด คือ
 

  • ชุดที่ 1 เป็นเรื่องของเสียงหลัก ๆ ของตัวอักษร/เสียงพยัญชนะ
  • ชุดที่ 2 เป็นเรื่องของตัวอักษรและเสียง
  • ชุดที่ 3 เป็นเรื่องของเสียง และตัวสะกด

 
ยังมีการเชื่อมโยงระหว่างกันของทั้งสามชุด เพื่อช่วยให้การเชื่อมโยงสู่ความจำนั้นทำได้ง่ายขึ้น ตัวอย่าง เช่น ในชุดที่ 1 goat เป็นคำรหัสสำหรับเสียง g ในชุดที่ 2 คำ goat ถูกนำมาใช้อีกครั้งสำหรับเสียง 2 เสียงของ g: George goat ในชุดที่ 3 ตัวละกดของตัวของเสียงพยัญชนะ /j/ ขะถูกแทนด้วยคำ George jumps ความเชื่อมโยงของเสียง/สัญลักษณ์ที่ไม่ค่อยพบ (อักษรคู่ที่ออกเสียงเดี่ยว และคำสนธิ) ในภาษาอังกฤษจะละเว้นไม่กล่าวถึงใน MFR เพราะคนมักรู้สึกว่า ถ้าหากเด็กก้าวไปถึงขั้นที่มีความชำนาญมากแล้ว เขาก็สามารถเรียนรู้เสียงส่วนที่เหลือ และกฎเกณฑ์ทั่วไปเองได้อย่างง่ายดาย รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างของรูปที่ใช้ใน MFR เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ และอีกมาก สามารถหาอ่านจากหนังสือ Memory Foundations for Reading ของข้าพเจ้าได้
 
 
รูปที่ 2.1
 

ข้อความในภาพ:  เจ้าลิงน้อยกำลังจูบหมูตัวอ้วน
 
รูปที่ 2.2

ข้อความในภาพ:  กุหลาบใบเลื่อย
 
Fig. 2.3

รูปที่ 2.3

ข้อความในภาพ:  ร่มทำด้วยธนบัตร
 
การสร้างความเชื่อมโยงโดยอัตโนมัติ
 
เด็กบางคนอาจต้องการความช่วยเหลือโดยตรงอย่างมาก เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกันของเสียง/สัญลักษณ์ได้โดยอัตโนมัติ การเน้นความสำคัญของแนวคิดเรื่องสามเหลี่ยมของการสื่อภาษา ความเชื่อมโยงที่แตกต่างกันสามชุดนั้น ควรจะนำมาใช้ เพื่อให้เกิดความช่วยเหลือโดยตรงที่กล่าวถึงแล้ว กิจกรรมหรือความเชื่อมโยงแต่ละอย่าง สมควรจะเน้นความสำคัญของระบบสัมผัสที่แตกต่างกัน
 

  • ความเชื่อมโยงแบบที่ 1: เน้นความสำคัญของความเชื่อมโยงทางสายตา/การมองเห็น
  • ความเชื่อมโยงแบบที่ 2: เน้นความสำคัญของความเชื่อมโยงทางหู/การได้ยินได้ฟัง
  • ความเชื่อมโยงแบบที่ 3: เน้นความสำคัญของความเชื่อมโยงทางความเคลื่อนไหวของร่างกาย

 
เพื่อช่วยให้การฝึกปฏิบัติในเรื่องนี้ง่ายขึ้น ครูควรจัดทำบัตรคำ ซึ่งอาจใช้บัตรเล็ก ๆ ที่ใช้ทำสารบัญ เช่น บัตรขนาด 3x5 โดยเขียนตัวอักษรบนบัตรใบละหนึ่งคำ ตัวอักษรต้องเขียนให้ใหญ่ ชัดเจน บนด้านตรงกันข้าม ให้เขียนคำรหัสของแต่ละเสียง ที่อ่านจากตัวอักษรนั้น ๆ รวมทั้งข้อความบ่งบอกถึงภาพ MFR นั้นตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น บัตรคำ ของอักษร ‘S’ จะต้องระบุรายละเอียดต่อไปนี้บนบัตรอีกด้านหนึ่ง คือ

  • saw, 2.2
  • rose 2.2

     
แต่ละความเชื่อมโยงเกิดขึ้นจากกลุ่มเสียงหรือตัวอักษรที่นำมาสอนหรือแนะนำ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงเพิ่มเติม จึงมีการขยายกลุ่มเสียง/ตัวอักษรนี้ออกไป
 
แบบฝึกหัดเหล่านี้ควรนำมาฝึกปฏิบัติ จนกว่าเด็กจะประสบความสำเร็จถึงระดับของการทำได้โดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการทำได้โดยอัตโนมัตินั้น มีคุณลักษณะที่สำคัญกับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการอ่านและการเขียน (Richards, 1997; Hall & Moats, 1999; Shaywitz, 2003) แม้เมื่อเด็กสามารถก้าวขึ้นสู่ระดับของการทำได้โดยอัตโนมัติได้แล้วก็ตาม เด็กยังคงต้องการการฝึกปฏิบัติบ้างเป็นครั้งคราวต่อไปอีก เพื่อที่จะคงทักษะต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไว้ให้อยู่ที่ระดับของการทำได้โดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กเริ่มก้าวสู่ระดับที่สบายใจและคุ้นเคยกับเสียงบางเสียงได้เป็นอย่างน้อยแล้ว พวกเขาก็ยังต้องการที่จะฝึกการใช้เสียงเหล่านั้นในกิจกรรมถอดคำรหัส และแปลงข้อมูลให้เป็นคำรหัสอยู่
 
ความเชื่อมโยงแบบที่ 1: ความเชื่อมโยงทางสายตา/การมองเห็น
 
การถอดรหัส  (หรือการถอดความของคำรหัส) เป็นทักษะที่เด็กจำเป็นต้องมีก่อน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ การอ่าน ซึ่งมีความเชื่อโยงกันของส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ชื่อ,, เสียง และ การนำมารวมกัน
ด้วยคำรหัส สำหรับส่วนประกอบแต่ละส่วน ควรให้เด็กผ่านการทำโดยใช้ชุดบัตรคำที่เตรียมไว้ก่อน
 
ชื่อ
 
เด็กมองดูบัตรคำ และบอกชื่อตัวอักษร
ตัวอย่างบทสนทนา:
ครู: (ชูบัตรคำ อักษร m) ขอให้บอกชื่อของอักษรตัวนี้
เด็ก: m
ครู: (ชูบัตรคำ อักษร t) ตัวอักษรนี้ชื่ออะไร
เด็ก: t
 
เสียง
 
เด็กมองดูบัตรคำและออกเสียงตัวอักษร
ตัวอย่างบทสนทนา:
ครู: (ชูบัตรคำ อักษร m) ขอให้ออกเสียงอักษรตัวนี้
เด็ก: /m/
ครู: (ชูบัตรคำ อักษร t) เสียงของตัวอักษรเป็นอย่างไร
เด็ก: /t/
 
การนำมารวมกัน
 
เด็กมองดูบัตรคำ และบอกชื่อตัวอักษร คำรหัส และออกเสียง
ตัวอย่างบทสนทนา:
ครู: (ชูบัตรคำ อักษร m) ขอให้บอกคำรหัสและออกเสียง
เด็ก: m, monkeys, /m/
ครู: (ชูบัตรคำ อักษร j)
เด็ก: j, jump, /j/
(จบตอนที่ 1)

แปลและเรียบเรียงจาก Writing Made Easier: Helping Students Develop Automatic Sound/Symbol Correspondence โดย Regina G Richards (2008) โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก