ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ทำให้เกิดผล: กลยุทธ์ที่จดจำง่ายเพื่อยกระดับการเรียนรู้ ตอนที่ 2

Regina G. Richards (2008)

มโนภาพ/จินตนาการ: อักษร I (Imagery ) ใน RIP

 

มโนภาพ/จินตนาการนั้น มีหลายประเภท และทุกรูปแบบนั้นมีคุณค่าต่อกระบวนการเก็บความจำทั้งสิ้นเมื่อนึกถึงมโนภาพ/จินตนาการแล้ว คนส่วนใหญ่จะนึกถึงภาพที่เกิดจากการมองด้วยตา อย่างไรก็ตามภาพเหล่านั้น อาจเป็นภาพเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่บางครั้งจะเรียกว่า "ความจำที่อยู่บนกล้ามเนื้อ” (muscle memory คือ ไม่ได้ใช้สมองจำ) หรือภาพที่เกิดจากการฟัง/การได้ยินก็ได้

 

ภาพที่มองเห็นด้วยตา

 

ภาพที่เรามองเห็นสามารถช่วยเตือนให้นึกถึงกลยุทธ์หรือแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นชองเราได้ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเด็กนักเรียนของคุณจะต้องจำให้ได้ว่า สิทธิที่ถูกระบุไว้ในบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 1 ได้แก่ เสรีภาพในการพูด สิทธิในการนับถือศาสนา สิทธิที่จะชุมนุม และเสรีภาพของสื่อมวลชน ด้วยเหตุที่เป็นการแก้ไขครั้งที่ 1 และคำว่า หนึ่งในภาษาอังกฤษ คือ one มีเสียงคล้องจองกับคำว่า sun ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ ดังนั้น เราจึงจะนำภาพดวงอาทิตย์มาใช้เตือนความจำ โดยวาดรูปดวงอาทิตย์กำลังร่าเริง มีแขน มีขา กำลังร้องเพลง ใส่คำว่า RAPS ลงไปในฟองคำพูด อย่างที่แสดงไว้ในรูปที่ 3 RAPS จะเป็นคำที่ช่วยเตือนความจำให้นึกถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนา - Religion ในการชุมนุม - Assembly เสรีภาพของสื่อมวลชน - Press และเสรีภาพในการพูด – Speech (Richards, 2003, หน้า 198).

รูปที่ 3 – สิ่งที่มาช่วยเตือนความจำสำหรับเสรีภาพทั้ง 4 ประการที่ระบุอยู่ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1
 
เพราะเหตุที่สมองของคนเราจะจำข้อมูลที่ก่อให้เกิดเป็นรูปแบบที่ควรจดจำขึ้น ระบบการจัดระเบียบภาพจึงเข้ามาอำนวยประโยชน์ให้อย่างสูงสุด ระบบการจัดระเบียบภาพนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท บางประเภทบอกด้วยรูปร่างลักษณะ กล่าวคือ ความคิดหลักของส่วนย่อยของทุกขั้นตอน จะถูกวางไว้ตรงศูนย์กลาง มีการเพิ่มเติมประโยคที่แสดงถึงความคิดหลัก ๆ เข้ามา การสื่อแทนความหมาย อาจใช้ด้วยรูปภาพ สัญลักษณ์/เครื่องหมายที่ใช้แทน หรือคำรหัส (key words) ตัวอย่างของการจัดระเบียบภาพต่อไปนี้ จัดทำขึ้นในการเตรียมข้อความสรุปเกี่ยวกับสุนัข (Richards,2001 หน้า 34)

คำอธิบายแผนภูมิ
Dog  สุนัข
Jumps on people               กระโจนใส่คน          Likes to play    ชอบเล่น
There are many kinds        มีหลายชนิด             Is an animal    เป็นสัตว์
                                                                                                                          - Mammal   เลี้ยงลูกด้วยนม
                                                                                                                          - มี 4 ขา           
 
รูปที่ 4 – การจัดระเบียบภาพเพื่อระบุลักษณะพิเศษของ “สุนัข”
 
การจัดระเบียบภาพนั้นใช้ประโยชน์ได้หลายประการ คือ สามารถเน้นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล การเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือพฤติการณ์ต่าง ๆ  แต่งความสรุปหรือเขียนรายงาน และในการศึกษาค้นคว้าสำหรับการทดสอบ
 
การจำแนกประเภทข้อมูล  เป็นทักษะที่เด็กจำเป็นต้องมี เพราะรูปแบบของมันก่อให้เกิดพื้นฐานของการใช้ความคิดเพื่อการวิเคราะห์ และความสามารถในการเรียนรู้ด้านการสรุปความจากการอ่าน แผนผังเปรียบ
เทียบและเปรียบต่าง (Venn diagram) เป็นเครื่องมือจัดระเบียบภาพที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ในการเน้นความสำคัญของการเปรียบเทียบและเปรียบความต่างที่มองเห็นได้ แผนผังดังกล่าวที่เปรียบ เทียบให้เห็นลักษณะพิเศษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลาน จะแสดงไว้ในบทความเรื่อง The Writing
Road
 
ประโยชน์อื่น ๆ ของแผนผังเปรียบเทียบและเปรียบต่าง คือ การเปรียบเทียบตัวละครสองตัวในเรื่อง หรือเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่แตกต่างในเรื่องราวนั้น ๆ จึงได้เขียนวงกลมสองวงไว้ทับซ้อนกัน และลักษณะพิเศษของแต่ละอย่างหรือแต่ละเหตุการณ์นั้น มีการลงรายการไว้ทางด้านซ้ายของวงกลม ถ้าหากสิ่งนั้นมีความแตกต่างจากสิ่งแรก รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างของแผนผังเปรียบเทียบและเปรียบต่างระหว่าง ภูเขาไฟ
(volcanoes) และ การปฏิวัติ (revolutions) ข้อมูลเรื่องนี้ จะสามารถรวบรวมได้จากการให้เด็กมาร่วมกันถกเถียงกันอย่างเปิดเผยเพื่อแก้ปัญหา (brainstorm) ว่าตนรู้อะไรเกี่ยวกับทั้งสองสิ่งนี้บ้าง
 
แต่แรก อาจดูเหมือนว่า ความคิดเห็นต่อภูเขาไฟและการปฏิวัตินั้นแตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริง ทั้งสองมีสิ่งที่คล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ สมมติว่าเด็กเคยเรียนเรื่องภูเขาไฟมาแล้ว และเข้าใจว่ามันมีลักษณะพิเศษอย่างไร เด็กก็อาจจะเปรียบเทียบความรู้ดังกล่าวกับลักษณะพิเศษของการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง การทำเช่นนั้น ทำให้เกิดเป็นรูปแบบของการเปรียบเทียบความคิดเห็นใหม่ ๆ นอกเหนือจากความคิดเห็นที่เคยเรียนรู้มาก่อน ด้วยเหตุนี้ เด็กก็จะสามารถบรรยายถึงความเข้าใจในความคิดเห็นแต่ละเรื่องของตนได้อย่างละเอียดลออ ในขณะที่เชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับภูเขาไฟ เข้ากับการที่จะระเบิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็คือการปฏิวัตินั่นเอง (Richards, 2003 หน้า 50)

คำอธิบายในวงกลม
วงกลมด้านซ้าย  ภูเขาไฟ             ส่วนทับซ้อน                 วงกลมด้านขวา   การปฏิวัติ
-     ไม่มีผู้คนเข้ามาเกี่ยวข้อง           -  ปะทุ                                      -  มีคนเกี่ยวข้อง
-     เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ           -  ระเบิด                                     -  มีผู้นำ
-     ให้ความร้อน                          -   คาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้            -  คนเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น
-     ทำให้เกิดลาวา                       -   เป็นอันตราย                            -  ยับยั้งได้
-     ลาวากลายเป็นหิน                   -  สร้างสรรค์                               -  ส่งผลให้เกิดระบบใหม่
-     หินสามารถนำมาใช้ได้              -   ทำลายล้าง
                                                -   มีคนตาย
 
รูปที่ 5 - แผนผังเปรียบเทียบและเปรียบต่างของภูเขาไฟและการปฏิวัติ
 
ภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ
 
เมื่อเซลล์สมองได้รับการกระตุ้นพร้อมกัน จะส่งสัญญาณเชื่อมโยงระหว่างกันทันที *** 
 
เพื่อให้เข้าใจว่าภาพการทำงานของกล้ามเนื้อคืออะไร ขอให้นึกถึงความพยายามจะจำหมายเลขโทรศัพท์ของเรา คุณลองขยับนิ้วทำท่าเหมือนกำลังกดโทรศัพท์หมายเลขนั้นอยู่ แล้วจะพบว่า วิธีนี้จะช่วยให้คุณจำได้
 
การทำซ้ำและการฝึกฝนจะกระตุ้นเซลล์ประสาท (เซลล์สมอง) เมื่อชุดของเซลล์ประสารทเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิด “กิจวัตร” ในการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอีกครั้ง กิจวัตรก็เกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับการเรียนรู้ทางการศึกษา จงใช้กลยุทธ์ที่มีหลากหลายความรู้สึก เพื่อให้เด็กมองเห็น ได้ยิน สัมผัสได้ หรือถูกกระตุ้นโดยข้อมูลที่ได้รับไปในเวลาเดียวกัน
 
คุณคงขี่จักรยานสมัยเด็กมาแล้วใช่ไหม? คุณหัดขี่จักรยานโดยการอ่านหนังสือเอาใช่ไหม? ไม่ใช่ คุณจำเป็นต้องฝึกขี่มันจริงๆ ด้วยการทำซ้ำหลาย ๆครั้ง คุณก็จะเก็บและจดจำภาพการทำงานของกล้ามเนื้อในกระบวนการขี่จักรยานไว้ได้ แล้วคุณก็จะสามารถขึ้นจักรยานและขี่ไปได้อย่างง่ายดายใช่ไหม? คนส่วนใหญ่จะตอบว่า ใช่ ทำไมล่ะ? ก็เพราะว่ากล้ามเนื้อของเราได้จำข้อมูลหรือกระบวนการที่ได้รับการฝึกฝนมากมายหลายครั้ง ดังนั้น ความจำที่อยู่บนกล้ามเนื้อ ก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเช่นกัน! เช่นใน ตัวอย่าง เด็กนำภาพการทำงานของกล้ามเนื้อมาใช้ในการกำหนดทิศทางของตัวอักษร b และ d ด้วยการใช้รูปแบบของการใช้มือ หรือ ‘Fonzie fists’ หมัดของ Fonzie (เป็นชื่อที่ตั้งตามตัวละครในเรื่อง “Happy Days” ชื่อ Fonzie) ให้เด็กยกมือเข้าหาลำตัวแล้วกำหมัดขึ้นโดยการชูหัวแม่โป้ง (รูปที่ 6) ภาพด้านซ้ายดูแล้วคล้ายกับตัวอักษร b และภาพด้านขวาคล้ายกับตัวอักษร d เด็กจะจำลำดับเรื่องราวได้โดยการพูดออกมาว่า “a,b,c,d”
 
( เป็นข้อความที่ Donald Hebb แพทย์ด้านประสาทจิตวิทยา (neuropsychologist) ชาวแคนาดาเขียนไว้เมื่อปี 1949 ซึ่งถือกันว่าเป็นความจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์ ที่ว่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่คนเราพบผ่าน ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก ความนึกคิด ความรู้สึกจากการสัมผัส และการทำงานของกล้ามเนื้อ จะฝังตรึงเข้าไปในระบบเครือข่ายเซลล์สมอง เกิดเป็นประสบการณ์นั้นๆ ทุกครั้งที่มีความคิดหรือการกระทำนั้น ๆ เกิดซ้ำขึ้นมาอีก ก็จะเท่ากับทำให้ชุดเซลล์สมองหรือเซลล์ประสาทเกิดการเชื่อมต่อกันขึ้น)

รูปที่ 6 – ใช้มือทำเป็นรูปร่างตัวอักษร b และ d คือ ภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ
การนำรูปแบบตัวอักษรหรือการวสะกดคำมาใช้ โดยการใช้การเขียนตัวหนังสือในอากาศ ถือเป็นการพัฒนาเด็กอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งช่วยเตือนความจำอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะช่วยสร้างสรรค์ภาพการทำงานของกล้ามเนื้อให้กับเด็ก (Richards, 1999 หน้า 163) การเขียนตัวหนังสือในอากาศ (รูปที่ 7) ก็คือการทำมือเขียนตัวอักษรในอากาศ (เป็นการสร้างสรรค์ภาพการทำงานของกล้ามเนื้อขึ้น ในขณะที่นึกวาดภาพไปว่า ตนมองเห็นตัวอักษรนั้น ๆ (เป็นการสร้างสรรค์ภาพที่เห็นด้วยตา) เด็กควรเรียกชื่อตัวอักษรนั้นในขณะเดียวกับที่กำลังเขียนตัวอักษรในอากาศด้วย (เป็นการสร้างภาพจากการได้ยิน)

รูปที่ 7 – เด็กเขียนตัวอักษร O ในอากาศ ขณะนึกภาพรูปร่างของตัวอักษร และพูดชื่อตัวอักษรนั้นออกมา
 
ตัวอย่างอื่น ๆ ของภาพการทำงานของกล้ามเนื้อในการสะกดคำนั้น สะดวกที่จะนำไปใช้ในระหว่างที่เด็กทำการบ้าน คือ เอาหมัดแตะกัน หรือเอาแขนแตะกันเบา ๆ  ในการกำหมัดนั้น ให้เด็กเอาด้านข้างของหมัดแตะกันทุกพยางค์ซึ่งอยู่ในคำที่สะกด แล้วจึงให้เด็กสะกดคำไปทีละพยางค์ และในขณะที่สะกดคำ ให้เอาหมัดแตะกันทุกครั้งที่ออกเสียงแต่ละพยางค์ ส่วนการเอาแขนมาแตะกันนั้น ก็ให้เด็กทำตามขั้นตอนเดียวกันเมื่อเริ่มสะกดแต่ละพยางค์ แล้วแตะกันอีกครั้ง เมื่อออกเสียงแต่ละพยางค์ จากนั้น ให้เด็กเอานิ้วสองนิ้วของมือข้างหนึ่ง แตะลงบนแขนช่วงล่างเหนือมืออีกข้างหนึ่ง กลยุทธ์ง่าย ๆ เหล่านี้ทำให้เกิดเป็นความจำบนกล้ามเนื้อ และช่วยให้เด็กสามารถปฏิบัติต่อไปได้อย่างเป็นระบบได้ในเวลาเดียวกัน หลักการทั้งสองนี้ ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเก็บความจำที่มีประสิทธิภาพ
 
กลยุทธ์ทางด้านคณิตศาสตร์หลายอย่างในการนับนิ้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มจำนวนแบบทวีคูณนั้น
มีความได้เปรียบมากกว่าภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ หรือความจำบนกล้ามเนื้อ ตัวอย่างอีกมากมายมี
อยู่แล้วในเอกสารสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เช่น LEARN: Playful Strategies for All Students (Richards, 2001,หน้า 93-97) และ The Source for Learning & Memory Strategies (Richards, 2003,หน้า 161-164)

แปลและเรียบเรียงจาก Making It Stick: Memorable Strategies to Enhance Learning โดย Regina G. Richards (2008) โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก