ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ห้องชุดไฮเทคคุมระบบไฟผ่านแอพ

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ วันที่ 4 พฤษภาคม 2558

 

แนวคิดบ้านอัจฉริยะ หรือ โฮม ออโตเมชั่น เริ่มเข้ามาในไทยประมาณ 10 ปี แล้ว แต่ในต่างประเทศนั้นใช้กันมานาน

 

สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคดิจิตอล ตั้งแต่ลืมตาตื่นไปจนถึงเข้านอน

 

“ณัฏฐพัชร์ ชลภัทรธนัทสิริ” ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจอีโคบิสิเนส ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย กล่าวว่า ระบบอีซี่ อินสตอลล์ 3 เป็นเทคโนโลยีล่าสุด สำหรับควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านและที่พักอาศัย เช่น ห้องชุด คอนโด มิเนียม ระบบและอุปกรณ์ แพลตฟอร์มที่ชไนเดอร์พัฒนาขึ้นมา จะเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายในที่พักอาศัยผ่านระบบไร้สาย หรือเราท์เตอร์ภายในบ้าน

 

อุปกรณ์ของชไนเดอร์ที่ออกแบบให้มีขนาดเล็ก ๆ กลมกลืนไปกับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน เจ้าของบ้านหรือเจ้าของห้อง ควบคุมหรือสั่งการระบบไฟฟ้าภายในบ้าน สั่งเปิด-ปิดผ้าม่านผ่านแอพพลิเคชั่น Ulti บนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ทุกระบบปฏิบัติการระบบอีซี่อินสตอลล์ เวอร์ชั่น 3 มีจุดเด่นที่ใช้งานง่าย ติดตั้งง่าย

 

ผู้บริหารชไนเดอร์ บอกว่า แนวคิดบ้านอัจฉริยะ หรือ โฮม ออโตเมชั่น เริ่มเข้ามาในไทยประมาณ 10 ปี แล้ว แต่ในต่างประเทศนั้นใช้กันมานานแล้ว ในไทยบ้านอัจฉริยะนั้นเริ่มจากระบบรักษาความปลอดภัย จนปัจจุบันก้าวเข้าสู่การเป็นบ้านอัจฉริยะเต็มรูปแบบ

 

ชไนเดอร์ นำระบบอีซี่สตอลล์ 3 ติดตั้งในโครงการไอวี่ แอมพิโอ ถนนรัชดาภิเษก ของกลุ่มพฤกษา กับคอนโดมิเนียมห้องละ 25 ล้านบาท ที่ลูกบ้านพกแค่การ์ดหรือบัตรใบเดียวก็ใช้ได้ตั้งแต่ประตูทางเข้า จอดรถ ไปจนถึงห้องนอน

 

เมื่อก้าวเข้าห้องชุด ก็ไม่ต้องเปิดไฟ เพราะเซ็นเซอร์จะทำงานทันทีเมื่อจับสัญญาณการเคลื่อนไหวได้ ส่วนแอร์นั้นเย็นฉ่ำรออยู่ก่อนแล้ว เพราะสามารถสั่งแอร์ให้ทำงานผ่านแอพตั้งแต่จอดรถ เมื่อเข้ามาในห้องแค่เปิดแอพ

 

บนมือถือหรือแท็บแล็ต แล้วเลือกระบบผ้าม่าน ก็จะเปิดให้แสงสว่างเข้ามาโดยอัตโนมัติ แม้แต่สวิตช์ไฟภายในห้องชุดหรู ก็ถอดเพื่อใช้งานแบบไร้สายได้

 

หากถามว่า จะติดตั้งระบบนี้จะใช้งบประมาณเท่าไหร่ สำหรับบ้าน 1 หลัง

 

ชไนเดอร์ยืนกรานว่า เป็นคำถามที่ตอบยาก เพราะราคาขึ้นกับระบบ อุปกรณ์ และจำนวนที่เลือกใช้

 

“ปัฐวิน วงศ์เสถียร” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ คอนโดมิเนียม กล่าวว่า นอกจากเจ้าของห้องจะสั่งเปิด-ปิดไฟ ผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังสามารถดูความเคลื่อนไหวภายในบ้าน แม้จะอยู่คนละที่

 

ทางพฤกษา พยายามใช้เทคโนโลยีไอทีเข้ามาอำนวยความสะดวกแก่ลูกบ้านให้มากที่สุด จะบ้านใหม่ บ้านเก่า ก็สามารถประยุกต์ระบบนี้ได้ แต่หากยังไม่มีสตางค์ติดตั้งระบบไฮเทค เพื่อให้บ้านของเราอัจฉริยะ แบบสมาร์ทลีฟวิ่ง ขอแนะนำให้ใช้วิธีเดียวกับผู้เขียน...ชี้นิ้วสั่งการคนข้าง ๆ รับรองประหยัด ทั้งเงินและพลังงานของตัวเอง.

 

ปรารถนา ฉายประเสริฐ

prathana.chai@gmail.com

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181