ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

แนวทางการดำเนินการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

http://www.aseanthai.net

โดย สันติพจน์ กลับดี 

 

ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน นอกจากระบุคุณลักษณะของความร่วมมือไว้ 6 คุณลักษณะ 33 ประเด็นความร่วมมือ และ 338 มาตรการแล้ว ในแผนงานดังกล่าวยังได้ระบุแนวทางการดำเนินงานซึ่งประกอบด้วย กลไกการดำเนินงาน การระดมทุน ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ และกลไกการทบทวนแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนไว้ดังนี้ 

 

1. กลไกการดำเนินงาน 

1.1 คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน จะรับผิดชอบภาพรวมการดำเนินงานของแผนงาน และจะทำหน้าที่ประสานงานภายใต้ขอบเขตการปฏิบัติงานของตน รวมถึงประเด็นที่คาบเกี่ยวกับคณะมนตรีด้านอื่น ๆ 

1.2 คณะทำงานอาเซียนระดับรัฐมนตรีทุกคณะหรือคณะทำงานที่เทียบเท่า จะรับผิดชอบในการสร้างความมั่นใจว่าจะมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพขององค์ประกอบ มาตรการ และพันธกรณีในแผนงาน โดยจะบรรจุไว้ในแผนงานที่เกี่ยวข้อง จะระดมทรัพยากรเพื่อการดำเนินการ และจะดำเนินข้อริเริ่มระดับชาติเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณี 

1.3 เพื่อสร้างความมั่นใจว่าแผนงานจะมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ ควรจะต้องมีการดำเนินมาตรการ ดังต่อไปนี้ 

1) บูรณาการยุทธศาสตร์ เป้าหมายและการดำเนินการแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยบรรจุในแผนงานพัฒนาระดับชาติ 

2) พยายามให้สัตยาบันความตกลงอาเซียนที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่สอดคล้องกับกระบวนการภายในของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน 

3) ร่วมกับประเทศคู่เจรจา ภาคเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการที่ได้ตกลงไว้จะปฏิบัติทันเวลา 

4) กำหนดและดำเนินการตามโครงการศึกษาและการฝึกอบรมเฉพาะในประเด็น ด้านหรือหัวข้อ ต้องมีการวิเคราะห์และการสนับสนุนในด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถ 

5) เสริมสร้างขีดความสามารถของสำนักเลขาธิการอาเซียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาคมด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

6) เสริมสร้างขีดความสามารถของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะในด้านการวิจัยและการพัฒนาทุนมนุษย์ 

7) จัดทำโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถที่เหมาะสม เพื่อช่วยประเทศสมาชิกใหม่(กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ในการบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

 

2. การระดมทุน แหล่งเงินทุน ความเชี่ยวชาญ การวิจัย และการเสริมสร้างขีดความสามารถสำหรับการดำเนินงานของแผนงาน จะถูกระดมจากแหล่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 

(1) ประเทศสมาชิกอาเซียน 

(2) ประเทศคู่เจรจา ประเทศหุ้นส่วนเฉพาะด้าน และประเทศหุ้นส่วนด้านการพัฒนา 

(3) สถาบันในภูมิภาคและสถาบันระหว่างประเทศ โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(ADB) ธนาคารโลก/บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) และสหประชาชาติ (UN) 

(4) มูลนิธิระหว่างประเทศและในภูมิภาค 

(5) ภาคเอกชน 

 

3. ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ 

(1) เริ่มแผนประชาสัมพันธ์อย่างครอบคลุมเพื่ออธิบายแก่เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ และสาธารณชนทั่วไปเกี่ยวกับเป้าหมาย ผลประโยชน์ และความท้าทายของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

(2) ดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเปิด และการแบ่งปันข้อมูลในการดำเนินการของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

(3) ประเทศสมาชิกจัดตั้งกลไกในระดับประเทศ เพื่อรายงานผลและกระบวนการรวมตัวเป็นประจำ 

(4) พัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มเติมในการเข้าถึงประชาคมนี้ในวงกว้าง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถสะท้อนความเห็นข้อริเริ่มด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

 

4. กลไกการทบทวน 

(1) สำนักเลขาธิการอาเซียนจะทำหน้าที่ติดตามและทบทวนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่ากิจกรรมต่าง ๆ สามารถตอบสนองความต้องการและความเร่งด่วนของอาเซียน 

(2) สำนักเลขาธิการอาเซียนจะพัฒนาและจัดทำตัวชี้วัด ระบบการติดตามและการประเมินความคืบหน้าการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ในแผนงานของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

(3) การทบทวนกลางรอบของการดำเนินการตามแผนงานของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน สามารถจัดให้มีขึ้นได้ตามความจำเป็นโดยจะคำนึงถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคและสภาพแวดล้อมของโลก 

 

สิ่งที่น่าสนใจต่อไปก็คือเมื่อถึงขั้นที่ต้องนำมาตรการต่าง ๆ ไปปฏิบัติต่อไปนั้น อาเซียนจะมีการจัดตั้งองค์กรรองรับภารกิจต่าง ๆ อย่างไร มีองค์กรใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในครั้งนี้ 

 

 

 

ส่วนอาเซียน สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ 

กรมประชาสัมพันธ์ 

 

 

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก