ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

สหภาพพม่า (UNION OF MYANMMAR)

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ

สหภาพพม่า (UNION OF MYANMMAR)
 
•     สหภาพพม่ามีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดการค้า แรงงาน และแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน (ก๊าซและไฟฟ้าพลังน้ำ) และเป็นทางเชื่อมสู่จีนและอินเดีย
•     สหภาพพม่าเป็น “critical factor” ในยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคของไทย ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภายในพม่าหลายประการ อาทิ ยาเสพติด แรงงานผิดกฎหมาย ความมั่นคงบริเวณชายแดน ฯลฯ
 

ข้อมูลทั่วไป

 

• ที่ตั้ง

ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจีน (2,185 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับลาว (235 กิโลเมตร) และไทย (2,401 กิโลเมตร) ทิศตะวันตกติดกับอินเดีย (1,463 กิโลเมตร)และบังกลาเทศ (193 กิโลเมตร)ทิศใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล

 

• พื้นที่

657,740 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)

 

• เมืองหลวง

นครเนปิดอว์ (Nay Pyi Taw)

 

• ประชากร

58.38 ล้านคน (ปีงบประมาณ 2551 - 2552)

 

• ภาษาราชการ

เมียนมาร์/พม่า

 

• ศาสนา

ศาสนาพุทธ (ร้อยละ 89) ศาสนาคริสต์ (ร้อยละ 5) ศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 4) อื่น ๆ (ร้อยละ 2)

 

• ประมุข

นายเต็ง เส่ง (U Thein Sein)

 

หมายเหตุ* พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) อดีตประมุข ซึ่งยังคงดำรงยศทางทหาร แต่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางกฎหมายตามรัฐธรรมนูญเมียนมาร์

 

• ผู้นำรัฐบาล

นายเต็ง เส่ง (General Thein Sein) (ประธานาธิบดี)

 

• รัฐมนตรีต่างประเทศ

นายวันนะ หม่อง ลวิน (U Wunna Maung Lwin)

 

• ระบอบการปกครอง

รัฐสภาที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขประเทศและหัวหน้ารัฐบาล

 

• เขตการปกครอง

แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ (state) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย และ 7 ภาค (region) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า

 

• วันชาติ

4 มกราคม ค.ศ. 1948 (2491)

 

• วันสถาปนาความสัมพันธ์

ทางการทูตกับไทย

24 สิงหาคม ค.ศ. 1948 (2491)

 

• หน่วยเงินตรา

จั๊ต อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 725 จั๊ตเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 24 จั๊ตเท่ากับประมาณ 1 บาท (ณ เดือนกันยายน 2554)

 

• ผลิตภัณฑ์มวลรวม

ภายในประเทศ

49,079 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2555)

 

• รายได้ประชาชาติต่อหัว

2,858 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2553)

 

• การขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ร้อยละ 3.3 (ปี 2553)

 

• สินค้านำเข้าสำคัญ

เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันสำเร็จรูป

 

• สินค้าส่งออกสำคัญ

ก๊าซธรรมชาติ ไม้ เมล็ดพืชและถั่ว
 
 

การศึกษาสหภาพพม่า
กระทรวงศึกษาธิการของพม่า เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารการศึกษาของประเทศ ใช้ระบบการศึกษาเป็นระบบ 5 :4 : 2  ดังนี้
• ประถมศึกษา 5  ปี (อนุบาล 1  ปี และประถม 4  ปี)
• มัธยมศึกษาตอนต้น 4  ปี
• มัธยมศึกษาตอนปลาย 2  ปี
และอาชีวศึกษา 1- 3 ปี อุดมศึกษา 4 -6 ปี
กรมการศึกษาพื้นฐานของพม่า เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางนโยบายและบริหารการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษามัธยมศึกษารวมทั้งการฝึกหัดครู แต่เดิมนั้นเป็นระบบบริหารซึ่งรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ต่อมาได้มีการกระจายอำนาจการบริหารออกไปสู่ระดับรัฐและหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีหัวหน้าส่วนการศึกษานั้น ๆ เป็นผู้ควบคุมดูแลและประสานงาน รัฐเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณของทุกโรงเรียนโดยนักเรียนจะเสียค่าเล่าเรียนเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของพม่านั้นพม่าพยายามที่จะจัดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศแต่ยังมีปัญหาที่ไม่สามารถจัดหาอาคารสถานที่วัสดุและอุปกรณ์ให้กับโรงเรียนในบางท้องที่ได้รัฐบาลพม่าได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้มีโรงเรียนอย่างน้อยหนึ่งแห่งในทุกหมู่บ้าน กรมการเทคโนโลยีกษตรและอาชีวศึกษา เป็นหน่วยงานที่ดูแลจัดการศึกษาด้านเกษตรกรรมพณิชยกรรม  วิศวกรรมเครื่องกล  การประมง  คหกรรมและการฝึกหัดครู ทางด้านช่างเทคนิการเรียน-การสอนมีทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา มีทั้งหลักสูตรระยะยาวและระยะสั้นเพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในสภาพเศรษฐกิจและสังคมของพม่าที่กำลังเปลี่ยนแปลง กรมอุดมศึกษา ทำหน้าที่วางแผนนโยบายและดำเนินการด้านอุดมศึกษาของประเทศจัดการศึกษาในรูปแบบของมหาวิทยาลัยใน3เมืองสำคัญคือมหาวิทยาลัยYangon Mandalay และ Manlamyine นอกจากนี้ยังมีสถาบันเทคโนโลยีที่จัดการศึกษาวิชาชีพระดับสูงที่ใช้เวลาในการศึกษา 4-6 ปี ตามลักษณะวิชาอีกด้วย

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181