ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC RREPUBLIC)

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC RREPUBLIC)
• เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับไทยทั้งทางบกและทางน้ำ ถึง 1,810 กิโลเมตร พัฒนาการต่าง ๆ ในลาว จึงส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
• สามารถเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบ แหล่งพลังงานสำรอง และแหล่งลงทุนของไทย เพื่อการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่สามที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ลาว
• เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล แต่สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (land bridge หรือ land link) ด้านการคมนาคมขนส่งและการส่งออกสินค้าของไทยไปยังประเทศที่สาม ในอนุภูมิภาค
ข้อมูลทั่วไป 
พื้นที่              236,800 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง     นครหลวงเวียงจันทน์ 
ประชากร      ประมาณ 6 ล้านคน 
ภาษาราชการ  ภาษาลาว
ศาสนา           พุทธ (75%) นับถือผี (16-17%)
วันชาติ          2 ธันวาคม
ประธานประเทศ         พลโทจูมมะลี ไชยะสอน 
(Choummaly SAYASONE)
นายกรัฐมนตรี             นายบัวสอน บุบผาวัน 
(Bouasone BOUPHAVANH)
รอง นรม./รมว.กต.      นายทองลุน สีสุลิด 
(Thongloun SISOULITH)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 19 ธันวาคม 2493
ข้อมูลเศรษฐกิจ 
GDP                    3.94 พันล้าน USD 
GDP Per Capita           678 USD
Real GDP Growth       ร้อยละ 7.6
สกุลเงิน                       กีบ
อัตราเงินเฟ้อ                ร้อยละ 4.4
ทรัพยากรสำคัญ          ไม้ ข้าว ข้าวโพด เหล็ก ถ่านหิน ทองคำ แหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า
อุตสาหกรรมหลัก     โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องนุ่งห่ม
สินค้านำเข้าที่สำคัญ   รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่ออุปโภคบริโภค
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ   ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี
ตลาดส่งออกที่สำคัญ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์
 

การศึกษา สปป.ลาว

 

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Democratic Republic) เป็นประเทศที่อยู่ในวงล้อมของ 5 ประเทศ  คือ เวียดนาม กัมพูชา  ไทย พม่า และจีน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล พื้นที่ประเทศทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาและที่ราบสูง ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ เมืองหลวงชื่อเวียงจันทน์ (Vientiane) ปกครองในระบบสังคมนิยม  การจัดการศึกษาของลาวเริ่มด้วยการศึกษาในระดับอนุบาลและก่อนวัยเรียน โรงเรียนอนุบาลในประเทศลาวจะมีทั้งโรงเรียนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน เปิดรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 3-6 ปี ใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นชั้นอนุบาล 1-3 เมื่อจบชั้นอนุบาลแล้วจะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป  นับตั้งแต่ลาวได้เปลี่ยนการปกครองเมื่อปี ค.ศ.1975 (พ.ศ.2528) เป็นต้นมา ลาวได้ใช้ระบบการศึกษาเป็นแบบ 11 ปี คือระบบ 5 :3 :3 ดังนี้

 

• ประถมศึกษา

ใช้เวลาในการศึกษา 5 ปี เด็กจะเริ่มเข้าเรียนเมื่ออายุ 6 ปี การศึกษาในระดับนี้คือเป็นการศึกษาภาคบังคับ เด็กทุกคนต้องจบการศึกษาในระดับนี้ แต่ในทางปฏิบัติการศึกษาภาคบังคับจะมีผลดีแต่เฉพาะเด็กในเมืองใหญ่เท่านั้น เนื่องจากลาวมีพื้นที่ประเทศกว้างขวางและประชากรกระจายกันอยู่

• มัธยมศึกษาตอนต้น

ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี และในอนาคตจะให้เด็กได้เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น

• มัธยมศึกษาตอนปลาย  ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี

การศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบ 5 -3 -3 นี้อยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกรมสามัญศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ

• อุดมศึกษาหรือการศึกษาชั้นสูง  รวมถึงการศึกษาด้านเทคนิค สถาบันการศึกษาชั้นสูงหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกรมอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นการศึกษาเฉพาะทางซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงอื่น โดยเมื่อเด็กจบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษาแล้ว จะมีการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเสนอกระทรวงศึกษาธิการให้เด็กได้เข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ได้แก่

 

• สายอาชีพ

ใช้เวลาศึกษา 3 ปี ในวิทยาลัยเทคนิคต่างๆ เช่น ทางด้านไฟฟ้า ก่อสร้าง บัญชี ป่าไม้ เป็นต้น

 

• มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาที่สำคัญได้แก่

1. มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (เวียงจันทน์) ใช้เวลาศึกษา 6 ปี ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุข

2. มหาวิทยาลัยแห่งชาติ (ดงโดก) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี

3. สถาบันสรรพวิชา (National Polytechnic Institute) ใช้เวลาศึกษา 6 ปี

 
 

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก