ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม(THE SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM)

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

(THE SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM)

• เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และมีบทบาทสำคัญด้านความมั่นคงในภูมิภาค

• เป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน การบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่องศักยภาพการผลิตสูง แรงงานในประเทศมีคุณภาพ และยังคงมีค่าจ้างแรงงานต่ำ

• ถูกจับตามองว่าจะเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวไม่สมดุล อัตราเงินเฟ้อสูงมาก

• ตั้งเป้าหมายเป็นประเทศอุตสาหกรรมภายในปี 2563

 

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่             331,690 ตร.กม.

เมืองหลวง      กรุงฮานอย

ประชากร                    87 ล้านคน

ภาษาราชการ  เวียดนาม

ศาสนา          พุทธ (มหายาน)

ประธานาธิบดี               นายเหวียน มินห์ เจี๊ยต (Nguyen Minh Triet)

เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์   นายหน่ง ดึ๊ก หมั่น (Nong Duc Manh)

นายกรัฐมนตรี               นายเหวียน เติน ซุง (Nguyen Tan Dung)

รัฐมนตรีต่างประเทศ    นายฝ่าม ซา เคียม (Pham Gia Khiem)

วันชาติ                          2 กันยายน

วันสถาปนา คสพ. ทางการทูตกับไทย 6 สิงหาคม 2519

ข้อมูลเศรษฐกิจ

GDP                    73.5 พันล้าน USD

GDP Per Capita           835 USD

Real GDP Growth       ร้อยละ 6.52

ทรัพยากรสำคัญ          น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แร่บ๊อกไซต์

อุตสาหกรรมหลัก       อาหาร สิ่งทอ รองเท้า เหมืองแร่ ปูนซีเมนต์

สกุลเงิน                  ด่ง

อัตราเงินเฟ้อ                ร้อยละ 22.14

สินค้านำเข้าที่สำคัญ    วัตถุดิบ วัสดุสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

สินค้าส่งออกที่สำคัญ              น้ำมันดิบ เสื้อผ้า และสิ่งทอ อาหารทะเล ยางพารา ข้าว กาแฟ รองเท้า

ตลาดนำเข้าที่สำคัญ    สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน

ตลาดส่งออกที่สำคัญ  ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป

การศึกษาของเวียดนาม

 

ปัจจุบันเวียดนามแบ่งลักษณะของการจัดการศึกษาไว้ 5 ลักษณะ คือ

1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (Pre-School Education)

ประกอบด้วยการเลี้ยงดูเด็ก สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี และอนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี

2. การศึกษาสามัญ (5 - 4 – 3)

• ระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับ 5 ปี ชั้น 1-5

• ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือชั้น 6-9

• ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือชั้น 10-12

3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ  มีเทียบเคียงทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา  แบ่งเป็นระดับอนุปริญญา (Associate degree) และระดับปริญญา

5. การศึกษาต่อเนื่อง  เป็นการศึกษาสำหรับประชาชนที่พลาดโอกาสการศึกษาในระบบสายสามัญและสายอาชีพ

การศึกษาสามัญ 12 ปี (General Education) ของเวียดนามนั้นเวียดนามมีวัตถุประสงค์ที่จะ ให้ประชาชนได้มีวิญญาณในความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ และมีความสามารถในด้านอาชีพนอดีตการศึกษาสามัญของเวียดนามมีเพียง 10 ปีเท่านั้น และไม่มีอนุบาลศึกษามาก่อนจนถึงปีการศึกษา 2532 - 2533 จึงมีการศึกษาถึงชั้นปีที่ 9 ทั้งประเทศ ซึ่งได้เรียกการศึกษาสามัญ 9 ปี ดังกล่าวนี้ว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic Education) และเมื่อได้ขยายไปถึงปีที่ 12 แล้วจึงได้เรียกการศึกษาสามัญ 3 ปีสุดท้ายว่า มัธยมชั้นสูง (Upper Secondary School) ปี 2535-2536 ระบบการศึกษาสามัญในเวียดนามจึงกลายเป็นระบบ 12 ชั้นเรียนทั้งประเทศ โดยเด็กที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 จะมีอายุย่างเข้าปีที่ 6เมื่อเวียดนามได้ใช้ระบบการศึกษาเป็น 12 ปีแล้ว จำนวนนักเรียนในทุกระดับชั้นยังมีน้อย ดังนั้นปี 2534 สภาแห่งชาติของเวียดนามจึงได้ออกกฎหมายการกระจายการศึกษาระดับประถมศึกษา (Law of Universal Primary Education) ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกว่าด้วยการศึกษาของเวียดนาม

 

 

 

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก