ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

มาเลเซีย (MALAYSIA)

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ

มาเลเซีย (MALAYSIA)

• มุ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน ค.ศ. 2020 (Vision 2020) และมีแผนพัฒนาต่อเนื่อง (Mission 2057) เป็นแนวทางพัฒนาประเทศจนถึง ค.ศ. 2057

• มีบทบาทสำคัญในองค์การการประชุมอิสลาม (OIC)

• ต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ OIC ภายในปี ค.ศ. 2009 โดยใช้ศักยภาพด้านการบริหารธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

• ในปี ค.ศ. 2007 นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง และเป็น คู่ค้าสำคัญของไทยในอาเซียน

 

ข้อมูลทั่วไป

 

• ที่ตั้ง

ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์และปะลิส มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์และซาราวัก นอกจากนี้ ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐ อีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน

 

• พื้นที่

329,758ตารางกิโลเมตร (ประมาณร้อยละ 64 ของไทย)

 

• เมืองหลวง

กรุงกัวลาลัมเปอร์

 

• ประชากร

28.9 ล้านคน

 

• ภาษาราชการ

มาเลย์

 

• ศาสนา

อิสลาม (ร้อยละ 60) พุทธ (ร้อยละ 19) และคริสต์ (ร้อยละ 12)

 

• ประมุข

สมเด็จพระราชาธิบดีอัลวาทิก ตวนกู มิซาน ไซนัล อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลต่านมะห์มูด อัลมุกดาฟี บิลลาห์ ซาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 (His Majesty Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah)

 

• ผู้นำรัฐบาล

ดาโต๊ะ ซรี มูห์ฮัมมหัด นาจิบ บิน ตุน อับดุล ราซัก (Dato- Sri Mohd Najib bin Tun Abdul Razak)

 

• รัฐมนตรีต่างประเทศ

ดาโต๊ะ ซรี อานิฟาห์ บิน ฮัจญี อามาน (Dato’ Sri Anifah bin Haji Aman)

 

• ระบอบการปกครอง

สหพันธรัฐ โดมีสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang di-Pertuan Agong)เป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเจ้าผู้ปกครองรัฐ 9 แห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานู ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์

 

กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประและปะลิส) และผลัดเปลี่ยนหมุดเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระละ

 

5 ปี โดมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ (Menteri Besarในกรณี

 

ที่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือChief Ministerในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ

 

• เขตการปกครอง

มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 รัฐ ได้แก่ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ ปะลิส ซาบาห์และซาราวัก และ 3 ดินแดนสหพันธ์ ได้แก่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน

 

• วันชาติ

31 สิงหาคม

 

• วันสถาปนาความสัมพันธ์

ทางการทูตกับไทย

31 สิงหาคม พ.ศ. 2500

 

• หน่วยเงินตรา

ริงกิต (1 ริงกิตประมาณ 10.22 บาท )

 

• ผลิตภัณฑ์มวลรวม

ภายในประเทศ

191.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

• รายได้ประชาชาติต่อหัว

6,760 ดอลลาร์สหรัฐ

 

• การขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ร้อยละ 6.8

 

• สินค้านำเข้าสำคัญ

ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ด้านการขนส่ง ผลิตภัณฑ์โลหะ

 

• สินค้าส่งออกสำคัญ

ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันปาล์ม เคมีภัณฑ์ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) น้ำมันดิบ

 

 

การศึกษามาเลเซีย

 

ระบบการบริหารการศึกษาของประเทศมาเลเซียอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งระดับการบริหารเป็น  5  ระดับ  คือ   ระดับชาติ   ระดับรัฐ  ระดับอำเภอ  ระดับกลุ่มโรงเรียนและระดับโรงเรียน  การบริหารการศึกษาระดับชาติอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลกลาง ( Federal Government) การศึกษาทุกประเภททุกระดับอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเพียงกระทรวงเดียว ยกเว้นการศึกษาที่มีลักษณะเป็นการศึกษานอกระบบ (Non-formal Education) จะมีกรมจากกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ เช่น กรมแรงงาน  กรมเกษตร เป็นต้น

 

ระบบการจัดการศึกษาของมาเลเซีย  (National Education System) เป็นระบบ 6:3:2  คือ

-  ระดับประถมศึกษา    หลักสูตร  6  ปีการศึกษา

-  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  หลักสูตร  3  ปีการศึกษา

-  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย   หลักสูตร  2  ปีการศึกษา

-  ระดับเตรียมอุดมศึกษา   หลักสูตร  1  หรือ 2 ปีการศึกษา

-  ระดับอุดมศึกษา    หลักสูตรเฉลี่ยประมาณ  3  ปีครึ่งถึง  4  ปีการศึกษา

 

และแบ่งการศึกษาออกเป็น 5  ระดับดังนี้

1.  การศึกษาระดับเตรียมความพร้อม  (Pre-school Education)

2.  การศึกษาระดับประถมศึกษา  (Primary Education)

3.  การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education)

4.  การศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษาหรือเตรียมอุดมศึกษา (Post-secondary Education)

5.  การศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education)

 

ส่วนสถานศึกษาที่ทำหน้าที่จัดการศึกษาระดับต่าง ๆ นั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.  สถานศึกษาของรัฐบาล (Government Education Institutions)

2.  สถานศึกษาในอุปถัมภ์ของรัฐบาล (Government-aided Educational Institutions)

3.  สถานศึกษาเอกชน (Private Educational Institutes)

ในโรงเรียนของรัฐบาลกำหนดให้ใช้ภาษาประจำชาติคือ  ภาษามลายู (Bahasa Malayu) ที่เขียนด้วยอักษรรูมี (อักษรภาษาอังกฤษ) เป็นภาษาหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

 

 

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก