ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (INDONESIA)

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (INDONESIA)

•  เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก

•  ทรัพยากรธรรมชาติมาก (น้ำมัน ถ่านหิน ทองคำ สัตว์น้ำ)

•  เป็นแหล่งประมงที่ใหญ่ที่สุดของไทย

•  มีบทบาทสูงในกลุ่ม NAM และ OIC

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่           5,193,250 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงจาการ์ตา (Jakarta)

ประชากร   245.5 ล้านคน

ภาษาราชการ   อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)

ศาสนา        อิสลาม (88%) คริสต์ (8%) ฮินดู (2%) พุทธ (1%) ศาสนาอื่น ๆ (1%)

พื้นที่           5,193,250 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงจาการ์ตา (Jakarta)

ประชากร   245.5 ล้านคน

ภาษาราชการ   อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)

ศาสนา        อิสลาม (88%) คริสต์ (8%) ฮินดู (2%) พุทธ (1%) ศาสนาอื่น ๆ (1%)

ข้อมูลเศรษฐกิจ

GDP                    432.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

GDP Per Capita           1,946 ดอลลาร์สหรัฐ

Real GDP Growth       ร้อยละ 6.3

ทรัพยากรสำคัญ          น้ำมัน ถ่านหิน สัตว์น้ำ

อุตสาหกรรมหลัก       น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า เหมืองแร่

สกุลเงิน                   รูเปียห์

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ   11.85

สินค้านำเข้าที่สำคัญ    น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์

สินค้าส่งออกที่สำคัญ ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้ สิ่งทอ

ตลาดนำเข้าที่สำคัญ    สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ

ตลาดส่งออกที่สำคัญ EU ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน สิงคโปร์

การศึกษาอินโดนีเซีย

 

ระบบการศึกษาในโรงเรียนประกอบด้วยระดับการศึกษาขั้นต่างๆ ดังนี้คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาชั้นมัธยมและการศึกษาระดับสูง นอกเหนือจากระดับการศึกษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการศึกษาก่อนวัยเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กด้วย

 

การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามเกณฑ์จะใช้เวลา 9 ปีโดยเรียนชั้นประถมศึกษา 6 ปีและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มีเป้าหมายเพื่อจัดหาทักษะพื้นฐานในการพัฒนาตนเองในฐานะที่เป็นปัจเจกชน สมาชิกในสังคม ประชากรในประเทศและโลก เท่าๆ กับที่เตรียมก้าวเข้าสู่การศึกษาระดับมัธยมศึกษา

 

โรงเรียนประถมศึกษาจะกำหนดโครงการการศึกษาเป็นเวลา 6 ปีซึ่งโรงเรียนจะมีลักษณะแตกต่างกัน 2 แบบ คือ โรงเรียนประถมศึกษาแบบทั่วไป (general primary school) และโรงเรียนประถมศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ (special primary school for handicapped children) สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจะกำหนดการเรียนเป็นเวลา 3 ปีและมีลักษณะแบบเดียวกับของโรงเรียนระดับประถมศึกษาคือ มีโรงเรียนแบบทั่วไปและโรงเรียนพิเศษสำหรับเด็กพิการ

 

โรงเรียนมัธยมศึกษา  รับผู้จบการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้เวลาเรียน 3 ปี โดยมีรูปแบบของการจัดการศึกษาหลายแบบ เช่น แบบสามัญทั่วไป แบบสามัญวิชาชีพ แบบสามัญทางศาสนา แบบสามัญบริการ และแบบการศึกษาพิเศษ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษามีดังนี้คือ

1.พัฒนาความรู้แก่นักเรียนให้ได้ศึกษาต่อเนื่องไปถึงขั้นสูง และเพื่อพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์แขนงต่างๆ

2.พัฒนาความสามารถของนักเรียนในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

การศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั่วไป  หลักสูตรประกอบด้วยโครงการวิชาการสอนทั่วไปและการสอนเฉพาะวิชา เพื่อเตรียมความรู้และพัฒนาทักษะสำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป

การศึกษาระดับมัธยมศึกษาทางวิชาชีพ  เหมาะสำหรับผู้ต้องการเข้าสู่วิชาชีพ สามารถแยกการศึกษานี้ออกเป็น 6 กลุ่มในสาขาวิชาชีพต่างๆ ดังนี้คือ

• เกษตรกรรมและการป่าไม้

• เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม

• ธุรกิจและการจัดการ

• ความเป็นอยู่ของชุมชน

• การท่องเที่ยว

• ศิลปะหัตถกรรม

 

การศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านศาสนา เป็นการจัดการศึกษาด้านศาสนาโดยเฉพาะ

การศึกษาระดับมัธยมศึกษาแบบบริการ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความรู้ความสามารถสำหรับผู้ที่จะเข้าเป็นพนักงานหรือข้าราชการ

การศึกษาระดับมัธยมศึกษาพิเศษ   เป็นการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่พิการทางร่างกายและ/หรือจิตใจ

 

การศึกษาระดับสูง หรืออุดมศึกษา  เป็นการขยายไปจากการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ระดับปริญญาตรีใช้เวลาเรียน 3-4 ปี ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี สถาบันที่ให้การศึกษาระดับสูงนี้มีลักษณะเป็นสถาบันวิชาการ โพลีเทคนิค สถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัย

 

 

 

 

 

 

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก