ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ราชอาณาจักรไทย Thailand

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ

ราชอาณาจักรไทย Thailand
 

•     ปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

•     ประกอบด้วยประชาชนเชื้อสายไทยกว่า 80% ชาวจีน 10% ชาวมาเลย์อีก 3% นอกจากนั้นยังมีชาวเขาเผ่าต่าง ๆ

•     ความเป็นมิตรและการรับรองแขกผู้มาเยือน จนได้รับสมญานามว่าเป็น "สยามเมืองยิ้ม"

•     เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจจากยุโรป
 
ที่ตั้ง:ทิศตะวันออกติดกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
ทิศใต้ติดกับอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและประเทศพม่า
และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว
พื้นที่:513,115 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง:กรุงเทพมหานคร
ประชากร:65,926,261 คน

ภาษาราชการ: ภาษาไทย

 

ศาสนา พุทธศาสนา ร้อยละ 95

ประมุข: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ผู้นำรัฐบาล: นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 
รัฐมนตรีต่างประเทศ  นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
 
ระบอบการปกครอง: ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มีลักษณะเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยผ่านระบบรัฐสภาหรือประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐผู้ทรงบริหารพระราชอำนาจตามขอบเขตที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
การบริหารประเทศประชาชนจะใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีที่ผ่านการคัดเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
มีผู้นำรัฐบาล คือนายกรัฐมนตรี (ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี)
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เขตการปกครอง: ประเทศไทยแบ่งเขตการบริหารออกเป็น การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด 77 จังหวัด 877 อำเภอ และ 7,255 ตำบล และการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล
วันชาติ: วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
หน่วยเงินตรา: บาท (1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 29.37 บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 379.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว 5,587 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.5-6.5
สินค้านำเข้าสำคัญ
น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
สินค้าส่งออกสำคัญ
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป
ประชากร 65,926,261 คน
ภาษาราชการ ภาษาไทย
ศาสนา พุทธศาสนา ร้อยละ 95

การศึกษาไทย
ระบบการศึกษาไทยปัจจุบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดับชั้น) หรือระบบ 6-3-3นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน  การศึกษานอกระบบโรงเรียน  และการศึกษาตามอัธยาศัย ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะไม่พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน  แต่จะถือว่าการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียนการสอน หรือรูปแบบของการเรียนการสอนที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Modes of learning"  ฉะนั้น แนวทางใหม่คือสถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ  และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาฯ มาตรา 15  กล่าวว่าการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย คือ
(1) การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม  รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงานการสอน และจะส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ
 

การศึกษาในระบบมีสองระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
1. การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นสามระดับ
1.1  การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
1.2  การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
1.3  การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้
1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
 
2.  การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา การใช้คำว่า "อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย"  ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา  ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วทั้งนี้การศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ
 
 
 

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181