ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ความร่วมมือที่สำคัญ ของอาเซียน

ความร่วมมือด้านพลังงานในอาเซียน

อาเซียนเริ่มจัดการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน (ASEAN Ministers on Energy Meeting – AMEM) ครั้งแรกในปี 2525 โดยเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางพลังงานเพื่อรองรับการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยการสร้างเครือข่ายด้านพลังงานในระดับภูมิภาคที่อาศัยจุดแข็งและศักยภาพ ของแต่ละประเทศในอาเซียนที่มีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตลอดจนพลังงานทดแทน ในรูปแบบต่างๆ ความร่วมมือด้านพลังงานที่สำคัญในอาเซียน ได้แก่

1. โครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน อาเซียนได้ลงนาม Memorandum of Understanding on the ASEAN Power Grid ปี 2550 เพื่อเป็นแนวทางในการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าใน อาเซียน ปัจจุบันมีโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าที่ก่อสร้างเสร็จและ ดำเนินการแล้ว 3 โครงการ กำลังก่อสร้างอยู่ 3 โครงการ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาอีก 9 โครงการ โดยในส่วนของไทยมีอยู่ 4 โครงการ

2. โครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน อาเซียนได้ลงนาม Memorandum of Understanding on the Trans-ASEAN Gas Pipeline (TAGP) ปี 2545 เพื่อเป็นแนวทางในการก่อสร้างระบบเครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมโยงกัน ระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงส่งเสริมการค้าก๊าซธรรมชาติอย่างเสรีผ่านระบบเครือข่ายท่อก๊าซระหว่าง ประเทศสมาชิก ปัจจุบันอาเซียนมีการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติในอาเซียน 8 โครงการ รวมระยะทาง 2,300 กม. และมีแผนการที่จะก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 7 โครงการในอนาคต โดยแหล่งก๊าซนาทูน่าตะวันออกของอินโดนีเซียจะเป็นแหล่งก๊าซหลักที่จะ สนับสนุนโครงการท่อก๊าซในอาเซียน โดยในส่วนของไทยมีอยู่ 5 โครงการ

3. การจัดทำASEAN Plan of Action for Energy Cooperation (APAEC) อาเซียนมี
แผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานมาแล้วรวม 2 ฉบับ คือ APAEC ปี 2542-2547 และปี 2547-2552 มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมความมั่นคงและความยั่งยืนในการจัดหาพลังงาน มีการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันไทยเป็นประธานยกร่าง APAEC ปี 2553-2558 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานและการพัฒนาที่ ยั่งยืนของอาเซียนสนับสนุนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

4. ศูนย์พลังงานอาเซียน (ASEAN Centre of Energy) อาเซียนได้จัดตั้งศูนย์พลังงานอาเซียนในปี 2539 โดยยกฐานะ "ศูนย์ฝึกอบรม เพื่อการจัดการและวิจัยพลังงานอาเซียน-ประชาคมยุโรป (ASEAN-EU Energy Management Training and Research Centre)" ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2531 เป็นศูนย์พลังงานอาเซียน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และดำเนินโครงการที่เกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์ รวบรวม ข้อมูล จัดฝึกอบรม ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานอาเซียนคนปัจจุบันคือ นาย Nguyen Manh Hung ชาวเวียดนาม

5. ความตกลงด้านพลังงานที่สำคัญ
ความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (ASEAN Petroleum Security Agreement: APSA) เป็นความตกลงฉบับปรับปรุงจากความตกลงฉบับเดิม ซึ่งได้ลงนามมาตั้งแต่ปี 2529 APSAเป็นกลไกในการแบ่งปันปิโตรเลียมในภาวะฉุกเฉินสำหรับน้ำมันดิบและหรือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเวลาหรือสถานการณ์ทั้งที่มีการขาดแคลนและมีอุปทานมาก เกินไป
 

 

ความร่วมมือด้านความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน

ความเป็นมา

ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (AMAF) ครั้งที่ 30 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2551 ณ ประเทศเวียดนาม ได้มีมติเห็นชอบแผนนโยบายบูรณาการความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียนและแผน กลยุทธ์ความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน ค.ศ. 2009-2013 (ASEAN Integrated Food Security (AIFS) Framework and Strategic Plan of Action on Food Security in the ASEAN Region (SPA-FS) 2009 – 2013) ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม 2552 ก็ได้ให้การรับรองเอกสารนี้เพื่อดำเนินการตามแผนงานต่อไป

สรุปสาระสำคัญของแผน

เป้าหมาย เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร และยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร
วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มผลผลิตด้านอาหาร ลดการสูญเสียภายหลังการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการเข้าถึงตลาด การค้าสินค้าเกษตรและ
ปัจจัยการผลิต ให้เกิดเสถียรภาพด้านราคา และบรรเทาความขาดแคลนอาหารในกรณีฉุกเฉิน
ขอบเขต ครอบคลุมเฉพาะ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง น้ำตาล และมันสำปะหลัง
ระยะเวลา 5 ปี (ค.ศ.2009-2013)
องค์ประกอบ กลยุทธ์และแผนงาน

องค์ประกอบ กลยุทธ์ แผนงาน
1. ความมั่นคงอาหารและการบรรเทากรณีฉุกเฉิน/ขาดแคลน 1. สร้างความเข้มแข็งในการจัดการด้านความมั่นคงอาหาร - สร้างความเข้มแข็งด้านความมั่นคงอาหาร - พัฒนากลไกและความริเริ่มการสำรองอาหาร
2. การพัฒนาการค้าอย่างยั่งยืน 2. ส่งเสริมตลาดและการค้าสินค้า - สนับสนุนการค้าอาหารอย่างยั่งยืน
3. บูรณาการระบบข้อมูลสารสนเทศด้านความมั่นคงอาหาร 3. การบูรณาการระบบข้อมูลสารสนเทศ - ส่งเสริมให้โครงการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อความมั่นคงด้านอาหารอาเซียน (AFSIS) เป็นกลไกในระยะยาว
4. นวัตกรรมด้านการเกษตร

4. ส่งเสริมการผลิตอย่างยั่งยืน
5. กระตุ้นการลงทุนด้านอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร 
6. จำแนกและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอาหาร

- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร
- การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ 
- งานวิจัยและพัฒนา 
- ความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี 
- การพัฒนาอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร 
- แก้ไขปัญหาการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ
- แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

กลไกการดำเนินงานและแหล่งเงินทุน

คณะทำงานรายสาขาภายใต้รัฐมนตรี อาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (AMAF) และเป็นการร่วมลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน คู่เจรจา และองค์กรระหว่างประเทศ
 

โครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน

วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) ได้เรียกร้องให้อาเซียนมีความร่วมมือเพื่อที่จะดำเนินการเชื่อมโยงพลังงาน ไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ โดยการพัฒนาโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Gird) และโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline) พร้อมกับ ส่งเสริมความร่วมมือด้านประสิทธิภาพพลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ และพลังงานทดแทน โดยอาเซียนได้มอบหมายให้คณะมนตรีอาเซียนว่าด้วยปิโตรเลียม (ASEAN Council on Petroleum : ASCOPE) เป็นกลไกหลักในการดำเนินโครงการ

ASCOPE ได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเกี่ยวกับโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ อาเซียน (Task Force on ASEAN Gas Pipeline) และได้จัดทำแผนแม่บทโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน โดยปรับปรุงจากแผนแม่บทเพื่อการพัฒนา และการใช้ก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอาเซียน ปี 2539

ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 20 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2545 อาเซียนได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติ อาเซียน Memorandum of Understanding (MoU) on the Trans-ASEAN Gas Pipeline (TAGP) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบการทำงานอย่างกว้าง ๆ สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการประสานความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการให้ สัมฤทธิ์ผล และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของภูมิภาคอาเซียน

ปัจจุบันอาเซียนมีการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซ ธรรมชาติในระดับทวิภาคีรวม 8 โครงการ ระยะทางรวม 2,319 กม. และมีแผนการที่จะก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 7 โครงการในอนาคต โดยแหล่งก๊าซ นาทูน่าตะวันออกของอินโดนีเซียจะเป็นแหล่งก๊าซหลักที่จะสนับสนุนโครงการท่อ ก๊าซในอาเซีย

โครงการ

ระยะทาง (กม.)

หมายเหตุ

1.  โครงการที่สร้างเสร็จแล้ว

   

Malaysia – Singapore

5

สร้างเสร็จในปี 2534

Yanada, Myanmar - Ratchaburi, Thailand

470

สร้างเสร็จในปี 2542

Yetagun, Myanmar - Ratchaburi, Thailand

340

สร้างเสร็จในปี 2543

W.Natuna, Indonesia – Singapore

660

สร้างเสร็จในปี 2544

W.Natuna, Indonesia – Duyong, Malaysia

100

สร้างเสร็จในปี 2544

S.Sumatera, Indonesia – Singapore

470

สร้างเสร็จในปี 2546

Malaysia – Thailand (JDA)

270

สร้างเสร็จในปี 2548

Malaysia – Singapore

4

สร้างเสร็จในปี 2549

2. โครงการใหม่ที่เสนอในแผนแม่บท

   

Duri, Indonesia – Melaka, Malaysia

200

 

W.Natuna, Indonesia – Duyong, Malaysia

100

 

E.Natuna, Indonesia – Erawan, Thailand

975

 

E.Natuna, Indonesia – Kerteh, Malaysia

480

 

E.Natuna, Indonesia – Singapore

720

 

E.Natuna, Indonesia – Sabah, Malaysia – Palawan – Luzon, Philippines

1540

 

Malaysia – Thailand (JDA-Block B)

140

 

Pauh, Malaysia – Arun, Sumatera, Indonesia

365

 

 


ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารอาเซียน

ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อความมั่นคงทางด้าน อาหารอาเซียนได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2546 และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งประเทศ ญี่ปุ่น จนทำให้เกิดบูรณาการของระบบข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงอาหารในระดับภูมิภาค

วัตถุประสงค์ของระบบข้อมูลสารสนเทศนี้ก่อ ตั้งขึ้นเพื่อทำให้ประเทศสมาชิกสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศการเกษตรในภูมิภาค อาเซียนซึ่งการจัดทำระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่าง สะดวกนั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ถูกต้องครบถ้วน ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและจัดทำ นโยบาย รวมทั้งติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงทางด้านอาหารในภูมิภาค อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันการเกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร หรือการผลิตเกินความต้องการ อีกทั้งยังเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างระบบเตือนภัย เช่นการเกิดโรคระบาด ภาวะตกต่ำของราคาสินค้า เป็นต้น

ประเทศไทยโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งได้รับมอบหมายจากอาเซียนให้เป็นผู้จัดการโครงการนี้ได้จัดทำข้อมูลและ เป็นศูนย์กลางข้อมูลการเกษตรของกลุ่มประเทศอาเซียนโดยแต่ละประเทศจะจัดส่ง ข้อมูลมายังฐานข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งจะทำการรวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ผ่าน Website “afsis.oae.go.th” โดยข้อมูลประกอบด้วยการผลิต ราคา การนำเข้าและการส่งออกสินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงาน นอกจากนี้ยังมีข้อมูลประชากร แรงงาน ข้อมูลด้านการผลิต เช่น เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจการเกษตร เช่น ราคา บัญชีสมดุล รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับประชากร แรงงาน และ การใช้ที่ดิน เป็นต้น

จากความร่วมมือดังกล่าวทำให้ประเทศอาเซียน มีข้อมูลที่สำคัญยิ่งของภูมิภาคอาเซียน ที่ยังไม่เคยมีมาก่อนซึ่งจะช่วยเร่งผลักดันให้ประเทศสมาชิกมีความสามารถใน การจัดทำข้อมูลรวมทั้งมีระบบเครือข่ายหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและทำให้ สามารถมีข้อมูลเตือนภัย(Early Warning Information) และพยากรณ์สินค้าเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Commodity Outlook Report) เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการกำหนดนโยบายและการวางแผนทั้งด้านการผลิตและการ ตลาดให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน และคาดว่า จากการดำเนินงานดังกล่าว จะทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวไปสู่การเป็นผู้นำและศูนย์กลางด้านข้อมูล การเกษตรของภูมิภาคอาเซียนต่อไป


โครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียนมีนโยบายร่วมกันที่จะ พัฒนาและเชื่อมโยงโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid) เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของการจ่ายไฟฟ้าของภูมิภาคและส่งเสริมให้มีการซื้อ ขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยรวม ในการดำเนินการตามนโยบายให้เกิดผลเป็นรูปธรรม อาเซียนได้มอบหมายให้ผู้บริหารสูงสุดการไฟฟ้าของกลุ่มประเทศอาเซียน (Head of ASEAN Power Utilities/Authorities : HAPUA) มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลักดันให้เกิดโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอาเซียน

ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 21 ณ เมืองลังกาวี ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 ได้ให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Interconnection Master Plan Study: AIMS) ที่ HAPUA ได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงเพื่อใช้ในการดำเนินงานให้เกิดโครงการเชื่อมโยงระบบ สายส่งไฟฟ้าต่าง ๆ ในอาเซียน

ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 25 ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยเรื่อง โครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (Memorandum of Understanding on the ASEAN Power Grid) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2550 เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดนโยบายร่วมของภูมิภาคในการผลักดันให้การเชื่อมโยง ระบบสายส่งไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเกิดขึ้นเป็น รูปธรรม

HAPUA ตั้งเป้าว่าจะดำเนินการก่อสร้างโครงการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าอาเซียนทั้ง 15 โครงการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558

สถานะการดำเนินโครงการ

โครงการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้า

สถานะ

1. Peninsular Malaysia – Singapore ก่อสร้างเสร็จและดำเนินการส่งกระแสไฟฟ้าแล้วตั้งแต่ปี 2528
2. Thailand – Peninsular Malaysia ก่อสร้างเสร็จและดำเนินการส่งกระแสไฟฟ้าแล้วตั้งแต่ปี 2544
3. Thailand – Cambodia ก่อสร้างเสร็จและดำเนินการส่งกระแสไฟฟ้าแล้วตั้งแต่ปี 2550
4. Thailand – Lao PDR กำลังดำเนินการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2552/ 2553
5. Vietnam – Cambodia กำลังดำเนินการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2553
6. Lao PDR – Cambodia ลงนามสัญญาก่อสร้างแล้ว
7. Sumatra – Peninsular Malaysia อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
8. Batam – Bintan – Singapore อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
9. Sarawak – West Kalimantan อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
10. Philippines – Sabah อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
11. Sarawak – Sabah – Brunei อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
12. Sarawak – Peninsular Malaysia อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
13. Thailand – Myanmar อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
14. Lao PDR – Vietnam อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
15. Sabah – East Kalimantan เป็นโครงการเพิ่มเติม และอยู่ในขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้

 


โครงการถนนอาเซียน

การประชุมรัฐมนตรีด้านการขนส่งของอาเซียน (ASEAN Transport Minister Meeting-ATM) ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2540 มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของฝ่ายไทยที่ให้มีการกำหนดโครงข่ายทางหลวงอาเซียน เพื่อรองรับการพัฒนาและเชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงของประเทศสมาชิก ทั้งนี้เพื่อรองรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ขยายโอกาสและลู่ทางการค้า การไปมาหาสู่กันของประชาชนและการท่องเที่ยวโดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง การประชุมรัฐมนตรีด้านการขนส่งของอาเซียน ครั้งที่ 3 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 2-5 กันยายน 2540 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการของโครงการทางหลวงอาเซียน และให้จัดตั้งเป็นคณะผู้เชี่ยวชาญด้านทางหลวงอาเซียนโดยมีขอบข่ายการดำเนิน งาน 4 ประการ ดังนี้

  1. จัดทำโครงข่ายทางหลวงอาเซียน
  2. จัดทำมาตรฐานทางหลวงอาเซียนให้เป็นแบบเดียวกัน ทั้งนี้ให้รวมถึงป้ายจราจร สัญญาณ ระบบหมายเลขทางหลวง เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความร่วมมือในการวางแผนและพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวง อาเซียน
  3. กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ และอำนวยความสะดวกในการขนส่งผ่านแดน รวมทั้ง กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการขนส่งผ่านแดน
  4. จัดทำแผนพัฒนาทางหลวงอาเซียนเพื่อแสวงหาการสนับสนุนด้าน เงินลงทุนจากองค์กรที่ ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนา (Official Development Assistance-ODA) หรือภาคเอกชน หรือจากความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน  โครงข่ายทางหลวงอาเซียนที่กำหนดมีเป้าหมายที่จะเชื่อมโยงถนนในพื้นที่ซึ่งมี ศักยภาพสูงของประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าด้วยกัน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 23 สายทาง ระยะทาง 36,600 กิโลเมตร

ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการทางหลวงอาเซียน กำหนดเป้าหมายเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ( ปี พ.ศ. 2543) กำหนดโครงข่ายและเส้นทางทางหลวงอาเซียนให้แล้วเสร็จ
ระยะที่ 2 ( ปี พ.ศ. 2547) ทางหลวงที่กำหนด เป็นเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศอาเซียนจะได้รับการปรับปรุง พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องหมายจราจรบนเส้นทางเหล่านั้นให้แล้วเสร็จ มีการก่อสร้างเสริมถนนช่วงที่ขาดตอน และเปิดดำเนินการจุดผ่านแดนทั้งหมด 
ระยะที่ 3 ( ปี พ.ศ. 2563) ทางหลวงที่กำหนด เป็นเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศ จะได้รับการปรับปรุงเป็นถนนมาตรฐานชั้น 1 หรือชั้นพิเศษ แต่สำหรับเส้นทางที่มีปริมาณการจราจรต่ำและไม่เป็นโครงข่ายหลัก ยินยอมให้ก่อสร้างเป็นถนนมาตรฐานชั้น 2
 

โครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ในปี 2538 ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนได้ให้ความเห็นชอบโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ สิงคโปร์-คุนหมิง โดยลักษณะโครงการเป็นการเชื่อมโยงและปรับปรุงเส้นทางรถไฟที่มีอยู่แล้วของ ประเทศ 6 ประเทศที่ประกอบด้วย สิงคโปร์-มาเลเซีย-ไทย-กัมพูชา -เวียดนาม-จีน โดยมีการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟหลัก จากสิงคโปร์- กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-ปอยเปต-ศรีโสภณ-พนมเปญ-โฮจิ มินห์-ฮานอย-คุนหมิง ระยะทางรวม 5,382 ก.ม. ท้งนี้เพื่อเซื่อมการคมนาคมระหว่างอาเซียนกันเองและกับจีนทางตอนใต้ด้วย และจะเป็นทางเลือกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารอีกทางหนึ่งให้แก่ประเทศใน ภูมิภาค

โครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ สิงคโปร์-คุนหมิง มีเส้นทางรถไฟช่วงที่เรียกว่า missing link ในส่วนของ 6 ประเทศรวมระยะทาง 431 ก.ม. โดยในส่วนของไทยมีเส้นทางรถไฟช่วงที่เรียกว่า missing link ระยะทาง 153 กม. ที่จะเชื่อมโยงกับพม่า (เริ่มจาก สถานีน้ำตก- บ้านแก่งปโลม-หมู่บ้านช้างภู่ทอง-ห้วยอู่ล่อง-บ้านโชคดีสุพรรณ-อำเภอ สังขละบุรี จนถึงด่านเจดีย์สามองค์)

โครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ สิงคโปร์-คุนหมิง จำเป็นต้องใช้เงินทุนสนับสนุนโครงการมูลค่ากว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีบางประเทศเช่น จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น และองค์การระดับภูมิภาคเช่น ADB ให้การสนับสนุนในเรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
 

ความร่วมมืออาเซียนด้าน SMEs

การประชุม ASEAN SME Agencies Working Group เป็นเวทีซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาขิกอาเซียนได้หารือกันเพื่อจัดทำ แผนการพัฒนา SMEs ในภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม การประชุม ASEAN SME Agencies Working Group จะจัดให้มีขึ้น ครั้งต่อ ปี  โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ระหว่างผู้นำด้านนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน อาเซียน  เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านนโยบาย SMEs ภายในภูมิภาคอาเซียนและผลักดันโครงการพัฒนา SMEs ในระดับภูมิภาค

SMEs ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจรายย่อย เป็นรากฐานทางเศรษฐกิจในอาเซียนเนื่องจาก SMEsก่อให้เกิดการจ้างงานมากที่สุดในทุกๆสาขา นอกจากนี้ SMEs ยังเป็นช่องทางให้สตรีและเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ อีกด้วย SMEs ประสบกับความท้าทายทั้งทางด้านการเงินและมิใช่การเงิน รวมถึงปัญหา การเข้าถึงแหล่งเทคโนโลยี และตลาด นอกจากนี้ SMEs ยังขาดความตระหนักในการเป็นผู้ประกอบการและทักษะทางด้านการบริหารจัดการ รวมทั้งการขาดข้อมูล การกำหนดมาตรฐานในด้านการดำเนินการต่างๆ และยังต้องยกระดับการดำเนินธุรกิจของตนให้ทันต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ขนาดใหญ่ในแง่ต่างๆ อาทิเช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การ Outsourcing และการใช้เครือข่ายในการดำเนินธุรกิจ

SMEs ในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์และมีนวัตกรรม เพื่อที่จะสามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายในตลาดโลกได้ เนื่องจากในขณะนี้การดำเนินธุรกิจต่างๆมีการแข่งขันสูง เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ตลาดมีความต้องการที่ซับซ้อนมากขึ้น และผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนไป ดังนั้นการสร้าง Cluster ให้แก่ SMEs การสร้างเครือข่าย inter-firm networks และ การเชื่อมโยง SMEs ในอาเซียนจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภูมิภาคได้ ซึ่งภาครัฐในฐานะที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก และภาคเอกชนในฐานะที่เป็นผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องผนึกกำลังกันใน การสร้างและส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ

ในขณะนี้มีโครงการภายใต้กรอบนโยบายการพัฒนา SME ของอาเซียนจำนวนทั้งหมด 20 โครงการ โดยมีโครงการที่สำคัญดังนี้ การสร้างเครือข่ายบริษัทการค้า SMEs ในกลุ่มประเทศอาเซียน การจัดตั้งกองทุนพัฒนา SMEs และการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์ให้บริการครบวงจรสำหรับ SMEs ในภูมิภาค

ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน

การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 (The 14th ASEAN Summit) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2552 ประเทศอาเซียนได้มีมติเห็นชอบที่จะให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมการเดิน ทางท่องเที่ยวภายในภูมิภาค (Intra-ASEAN Travel and Tourism) เพื่อให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาค

แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวของ อาเซียน ได้แก่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับเยาวชน การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว ของอาเซียน ระหว่าง ปี 2554-2558    
การเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวของอาเซียน และการสร้างมาตรการจูงใจให้นัก ท่องเที่ยวที่มีสัญชาติอาเซียนเดินทางในภูมิภาคมากขึ้น  การส่งเสริมการจัด กิจกรรมท่องเที่ยวทางเรือสำหรับเยาวชน  การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว กับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดียและรัสเซีย โดยเน้นการกระตุ้นให้เกิดการท่อง เที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศเครือข่ายให้มากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากตลาดท่องเที่ยวอาเซียนและการสร้างจุดขายร่วม กับประเทศอาเซียนให้กับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยขณะนี้อาเซียนได้มีการจัดทำกรอบความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรา (visa exemption) ให้กับนักท่องเที่ยวอาเซียนและกำลังเจรจาจัดทำความตกลง single visa ให้กับนักท่องเที่ยวจากประเทศที่สาม

การส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงของเส้นทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Tourism Connectivity Corridors) จะสอดคล้องกับนโยบายการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัดของประเทศไทยและสมาชิกอาเซียน โดยแต่ละประเทศอาเซียนจะจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างกันเพื่อส่ง เสริมการเดินทางท่องเที่ยวภายในภูมิภาค (Intra-ASEAN Travel and Tourism) ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทยก็ได้จัดทำโครงการ ASEAN Family Car Rally ระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคม 2552 ที่อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  และวันที่ 8-10 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าวของอาเซียน

เนื่องจากการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการบรรเทาปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ อาเซียนจึงสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวของเยาวชนโดยประกาศให้ปี 2552-2553 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวเยาวชน (Youth Travellers’Years 200-2010) ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทยก็ได้จัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนการเดิน ทางของเยาวชน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการยุวทูตท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Youth Ambassadors) ระหว่างวันที่ 15-24 มกราคม 2552 และโครงการฟุตบอลเยาวชนอาเซียน (ASEAN Youth Football Cup) ในเดือนมิถุนายน 2552

อาเซียนได้ร่วมหารือกันในการหาแนวทางการกระตุ้นธุรกิจการท่องเที่ยวที่กำลัง ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจของโลกอยู่ในขณะนี้ โดยพยายามฟื้นฟูการท่องเที่ยวและจัดให้มีการนำเที่ยวในรูปแบบใหม่เพื่อ ดึงดูดลูกค้า นอกจากนี้ยังได้มีการหารือกันถึงเรื่องการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว อาเซียน พ.ศ. 2554-2558  (ASEAN Tourism Strategic Plan 2011-2015) การส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงของเส้นทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน การจัดตั้ง ASEAN Tourism Investment Corridor และวางแผนร่วมกันในการคัดเลือกโรงแรมในประเทศอาเซียนให้ใช้ชื่อ ASEAN Green Hotel การจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม รวมทั้งจัดฝึกอบรมภาษาให้กับมัคคุเทศก์ของ สมาชิกอาเซียนและจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการตลาดให้กับเจ้าหน้าที่ ด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก