ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

เส้นทางสู่การเขียน: เสริมความกระตือรือร้นในการเขียนให้แข็งแกร่ง ตอนที่ 3

Regina G. Richards (2008)
พานักเรียนเดินไปบนเส้นทางของการใช้เครื่องมือที่หลากหลาย
การจัดการเรียนรู้ที่นำมาใช้ ถ้ายิ่งชัดเจน (ชี้แนะตรงไปตรงมา) มากเท่าใด เด็กก็จะยิ่งได้เรียนรู้ถึงกิจกรรมย่อยต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเขียนได้ดีขึ้นเพียงนั้น เด็กจะได้รับประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลจากการที่ครูทำการสาธิตและจำลองแบบ ครูควรยก
ตัวอย่างของการเขียนที่ดีให้เด็กดูหลาย ๆ ตัวอย่าง เช่นเดียวกับตัวอย่างของการเขียนที่ยังมีความบกพร่อง พร้อมกับสนทนาถกเถียงกันในเรื่องข้อแตกต่างของการเขียนทั้งสองแบบ
นักเขียนที่ประสบความสำเร็จ จะผสมผสานทักษะย่อยต่างๆ เข้าด้วยกัน กล่าวคือ
1. ทักษะย่อยทั่วไป ที่เกิดตามธรรมชาติ (General Skills)           
    @ อาศัยความรู้จากประวัติความเป็นมา 
    @ มีทิศทางของเป้าหมายและเข้าใจวัตถุประสงค์ของงาน
2. ทักษะย่อยที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์ช่วย (Mechanical Skills)
    @ มีรูปแบบตัวอักษรที่ใช้ได้ผลพอควร เพื่อช่วยให้กลไกของการเขียนม่เข้ามาแทรกแซงกระบวนการของความคิด (เพราะเด็กบางส่วนเห็นว่าเป็นเรื่องยากอย่างที่สุด และการใช้คีย์บอร์ดแทนมีความจำเป็นถ้าต้องการให้ทำงานเขียนได้นานขึ้น)
    @ ใช้กลยุทธ์การวางแผน การเขียน และการปรับแก้ไข
    @ มีความรู้พอและนำอุปกรณ์ช่วยในการเขียนมาใช้งาน ซึ่งประกอบด้วยการเขียนอักษรตัวพิมพ์ใหญ่  เครื่องหมายวรรคตอน และการสะกดตัว (ความต้องการในระดับนี้ จะเพิ่มขึ้นเมื่อ เด็กเรียนรู้ประสบการณ์มากขึ้น 
3. ทักษะย่อยเรื่องข้อความแวดล้อม (บริบท) 
    @ ค่อย ๆ ทำตามขั้นตอนทีละน้อยจากการวางแผน และจัดระบบไปสู่การเขียน
    @ จัดระบบความคิดให้ยึดเกาะเกี่ยวกับการทำงานที่ซับซ้อนและประณีตขึ้น
    @ เข้าใจบทบาทของการเขียน เช่นเดียวกับความต้องการของผู้อ่าน
แผนภาพ (Visual Organizers)
เด็กหลายๆ คนได้รับประโยชน์จากแผนภาพต่อการจัดระบบความคิดให้เชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกันกับแนวคิดของตน แผนภาพเหล่านี้จะใช้มือวาดหรือสร้างขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็ได้  แผนภาพนี้มีประโยชน์มากโดยเฉพาะกับเด็กที่มีปัญหาด้านการทำงานของสมองระดับสูง หรือปัญหาอื่นๆ ให้สามารถจัดการกับสิ่งที่ตนเองรู้ได้ โปรแกรมบางอย่างช่วยให้เด็กสามารถเพิ่มประโยคที่เป็นประเด็นและคลิปภาพได้ด้วย 
ตัวอย่างภาพกราฟฟิกสองภาพที่ช่วยให้เด็กสามารถเชื่อมโยงและเข้าใจวิธีการจัดระบบข้อมูล คือ ภาพต้นแบบไดโนเสาร์ และภาพต้นแบบแฮมเบอร์เกอร์ 
ภาพต้นแบบไดโนเสาร์ : ใช้ภาพไดโนเสาร์แทนส่วนประกอบสำคัญของย่อหน้า ตัวเรื่องหรือรายงาน Richards, Regina G., ที่มาของ Dyslexia* และ Dysgraphia** (The Source for Dyslexia & Dysgraphia), 1999, หน้า 241.  
แผนภาพกราฟฟิกส์ใช้ได้ผลกับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กที่ชอบการรับรู้ข้อมูลทางการเห็นมากกว่า และ/หรือ เด็กที่อาจมีความยุ่งยากในการจัดระบบเรื่องภาษา ด้วยเหตุผลบางประการ คือ
   @ แผนภาพต่าง ๆ จะช่วยจุดประกายในการจัดระบบ หรือการจัดโครงสร้างของแนวคิดและความนึกคิด และแสดงออกถึงความเกี่ยวเนื่องกัน
   @ แผนภาพช่วยอธิบายวิธีจัดโครงสร้างและเชื่อมโยงข้อมูลที่สามารถสัมผัสจับต้องได้
   @ แผนภาพช่วยเด็กระดมความคิดเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ ของกิจกรรม หรือราย ละเอียดของแนวความคิด แล้วช่วยกันจัดระบบให้รวมกันอยู่ภายในกรอบงาน
   @ แผนภาพช่วยส่งเสริมเด็กให้รู้จักใช้ทักษะการคิดในการประมวลข้อมูลอย่างเป็นระเบียบในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิม อย่างเช่น การบอกใบ้เป็นการเตือนความจำเกี่ยวกับข้อมูลสำคัญ การตัดสินใจ การเก็บรวบรวมข้อมูล การระบุแนวความคิดหลักรวมทั้งรายละเอียดที่มาช่วยเสริม และการคัดเลือกข้อมูล
-----------------------------------------------------
* ภาวะผิดปกติของสมองที่สัมพันธ์กับการอ่าน เขียน และการสะกดคำ
** เด็กแอลดีที่บกพร่องทางการเขียนที่เกี่ยวข้องกับวิธีการจัดรูปแบบข้อมูล
แผนภาพแฮมเบอร์เกอร์
ภาพต้นแบบแฮมเบอร์เกอร์: เป็นการใช้ภาพแฮมเบอร์เกอร์แทนส่วนประกอบสำคัญของย่อหน้า ตัวเรื่อง หรือรายงาน
    @ ขนมปังชิ้นบน: อารัมภบท (Introduction), ประโยคแสดงความคิดหลัก (Topic Sentence) หรือเกริ่นนำเรื่อง (Introductory Paragraph)
    @ ไส้เบอร์เกอร์: รายละเอียด และความคิดสนับสนุน
    @ ขนมปังชิ้นล่าง: บทสรุป หรือสาระสำคัญ
แผนภาพต่างๆ สามารถนำมาใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์, Richards, Regina G., แหล่งข้อมูลสำหรับการเรียนรู้และระบบความจำ (The Source for Learning and Memory), 2003, หน้า 209
การพิสูจน์อักษร (Proofreading)
คำหรือวลีที่ช่วยในการจำ (Mnemonics) หรือเทคนิคช่วยจำเป็นกลยุทธ์ที่มีประโยชน์สำหรับงานพิสูจน์อักษร การพิสูจน์อักษรหรือการตรวจทานงานเขียนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยเพ่งความสนใจไปที่ส่วนประกอบเพียงส่วนเดียวในการทำงานแต่ละครั้งนี้ จะมีคุณค่ามากโดย เฉพาะสำหรับเด็กที่มีปัญหา
กลยุทธ์ต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นเพราะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการหยุดเป็นช่วงๆ และใช้วิธีตรวจทานงานไปทีละขั้นทีละตอน COPS และ C-SOOPS คือ กลยุทธ์ที่มาช่วยให้เด็กรู้จักมุ่งความสนใจไปยังทักษะย่อยที่มีความสำคัญที่สุด STOPS เป็นกลยุทธ์ในการพิสูจน์อักษรที่ค่อนข้างทันสมัยกว่าเล็กน้อย  การเลือกใช้กลยุทธ์ที่เฉพาะเจาะจงนั้น จะขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ต้องศึกษาบทเรียน และอายุของผู้เรียน เด็กที่บกพร่องทางการอ่าน (dyslexia) และ เด็กที่บกพร่องทางการเขียน (dysgraphia) ออกจะมีปัญหาในเรื่องการพิสูจน์อักษร เพราะตรงกับความบกพร่องที่ตนมี ขอให้ช่วยเด็กด้วยการใช้ตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ขึ้น หรือใช้ซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์ที่พูดกับเด็กได้ ขอให้แน่ใจว่ามีการประเมินเนื้อหาที่เด็กจะเขียน และพยายามอย่ายอมให้คำศัพท์และวรรคตอนที่เด็กเขียนผิด มาทำให้เราต้องเสียสมาธิไปจากการสังเกตว่าเด็กกำลังพยายามสื่อสารอะไรอยู่
การปรับแก้ (การแก้ไข)
    @ COPS 
         C apitalization การเขียนอักษรตัวพิมพ์ใหญ่
         O rganization  การจัดระบบระเบียบ
         P unctuation  การเว้นวรรคตอน
         S pelling การสะกดตัว
 
    @ C- SOOPS
         C apitalization การเขียนอักษรตัวพิมพ์ใหญ่
         S entence Structure การจัดโครงสร้างประโยค
         O raganization  การจัดระบบระเบียบ
         O verall format รูปแบบโดยรวม
         P unctuation  การเว้นวรรคตอน
         S pelling การสะกดตัว
 
     @ STOPS
          S entence Structure การจัดโครงสร้างประโยค
          T ense  กาล
          O raganization การจัดระบบระเบียบ
          P unctuation การเว้นวรรคตอน
          S pelling การสะกดตัว
 
กลยุทธ์พิสูจน์อักษรช่วยให้เด็กรู้จักหยุดเมื่อจบงาน กลับไปทบทวนและตรวจทานทีละขั้นตอนอย่างเป็นระบบ 
 

แปลและเรียบเรียงจาก The Writing Road: Reinvigorate Your Students’ Enthusiasm for Writing By Regina G. Richards (2008) โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก