ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“การยอมรับว่าป่วย การฟื้นฟู และการได้รับโอกาสการจ้างงาน”

บทสัมภาษณ์ : คุณธิติพร พริ้งเพิด เจ้าหน้าที่ สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย

          คุณฐิติพร กล่าวว่า ในช่วงที่กำลังศึกษามหาวิทยาลัย รู้สึกว่าแปลกจากคนอื่น เก็บตัว ชอบอยู่คนเดียว เก็บกด คิดมาก เกิดความวิตกกังวลมากเกินไป และมีความคาดหวังในชีวิตสูงมากเกินไป จนสะสมเป็นแรงกดดันเก็บไว้ในใจและไม่มีโอกาสพูดคุยกับใคร เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ไม่ค่อยดีเท่าที่ควรทำให้สะสมไว้จนรู้สึกเก็บกด ทำให้กดดันตัวเอา เก็บปัญหาทุกอย่างไว้ที่ตัวเอง จึงเป็นสาเหตุให้เกิดโรคซึมเศร้า 

          โรคซึมเศร้านี้หากได้รับการรักษาผู้ที่เป็นจะอาการดีขึ้นมาก อาการซึมเศร้า ร้องไห้บ่อยๆ หรือรู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ จะกลับมาดีขึ้นจนผู้ที่เป็นบางคนบอกว่าไม่เข้าใจว่าตอนนั้นทำใมจึงรู้สึกเศร้าไปได้ถึงขนาดนั้น ข้อแตกต่างระหว่างโรคนี้กับโรคจิตที่สำคัญประการหนึ่งคือ ในโรคซึมเศร้าถ้าได้รับการรักษาจนดีแล้วก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม ขณะที่ในโรคจิตนั้นแม้จะรักษาได้ผลดีผู้ที่เป็นก็มักจะยังคงมีอาการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่สามารถทำอะไรได้เต็มที่เหมือนแต่ก่อน ยิ่งหากมารับการรักษาเร็วเท่าไรก็ยิ่งจะอาการดีขึ้นเร็วเท่านั้น ยิ่งป่วยมานานก็ยิ่งจะรักษายาก

          การรักษาที่สำคัญในโรคนี้คือการรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้า โดยเฉพาะในรายที่อาการมาก ส่วนในรายที่มีอาการไม่มาก แพทย์อาจรักษาด้วยการช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหาต่างๆ ในมุมมองใหม่ แนวทางในการปรับตัว หรือการหาสิ่งที่ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง ร่วมกับการให้ยาแก้ซึมเศร้าหรือยาคลายกังวลเสริมในช่วงที่เห็นว่าจำเป็น

          การดูแลตัวเอง คือ การออกกำลังกาย ช่วยให้จิตใจดีขึ้น โดยในผู้ที่มีอาการซึมเศร้าไม่มาก จะรู้สึกว่าจิตใจคลายความเศร้า และแจ่มใสขึ้นได้ การออกกำลังกายที่ดีเป็นการออกกำลังแบบแอโรบิก เช่น วิ่ง เดิน ว่ายน้ำ ซึ่งช่วยให้หลับได้ดีขึ้น การกินอาหารดีขึ้น การขับถ่ายดีขึ้น ถ้าได้ออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่นด้วยก็จะยิ่งช่วยเพิ่มการเข้าสังคม ไม่รู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยว ส่วนในเรื่องเป้าหมาย อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงานและการปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ยังต้องการการพักผ่อน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การกระตุ้นตนเองมากไปกลับยิ่งทำให้ตัวเองรู้สึกแย่ที่ทำไม่ได้อย่างที่หวัง หามีเวลาว่างเลือกกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีๆ โดยเป็นสิ่งที่เราเคยชอบ เช่น ไปเที่ยวสวนสาธารณะ ไปเที่ยวชายทะเล ชวนเพื่อนมาที่บ้าน พยายามทำกิจกรรมที่ทำร่วมกับคนอื่นมากกว่าที่จะอยู่คนเดียว หลักการเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกอย่างหนึ่งคือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้จะไม่คงอยู่ตลอดไป แต่จะขึ้นๆ ลงๆ ในแต่ละช่วง คนที่มีความโศกเศร้ามักจะรู้สึกหมดหวัง คิดว่าความรู้สึกนี้จะคงอยู่กับตนเองตลอดเวลา ในความเป็นจริงแล้วจะมีอยู่บางช่วงที่อารมณ์เศร้านี้เบาบางลง ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ให้เราเริ่มกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เพื่อให้มีความรู้สึกที่ดีขึ้น

        คุณฐิติพร ทิ้งท้ายว่า “โชคดีที่ได้รับการจ้างงาน รู้สึกดีเหมือนเราสามารถอยู่ในจุดนี้ได้ ตอนแรกมีปัญหาเรื่องเงินและงาน แต่เมื่อได้รับการจ้างงานทำให้รู้สึกว่าชีวิตเรามีคุณค่ามากขึ้น มีงานทำ สุขภาพชีวิตดีขึ้น สามารถนำเงินเดือนไปจุนเจือครอบครัวได้”   

 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181