ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“เส้นทางสู่การทำงานในองค์กรของสหประชาชาติ ของคนตาบอด”

คุณณิชกานต์ กวีวรญาณ องค์การสหประชาชาติ

          คุณณิชกานต์ เล่าว่า เป็นคนกรุงเทพฯ และเป็นคนพิการทางการเห็น ตาบอดตั้งแต่กำเนิดโดยไม่สาเหตุ ปัจจุบันทำงานที่ UNDP หรือ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สำหรับประเทศไทย ตำแหน่ง โปรแกรมแอสโซซิเอส หลัก ๆ คือดูงานเรื่องคนพิการ เรื่องการศึกษาตอนเด็ก ๆ เรียนที่ศูนย์ EI ซี่งเรียนร่วมกับคนทั่วไป แล้วพบว่าไม่ได้มีส่วนร่วมในห้องเรียน เพราะไม่สามารถเขียนอักษรไทยได้ ที่บ้านได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเต็มและส่งเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ ตอนประถมศึกษา หลังจากนั้นศึกษาต่อที่ โรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ ในชั้นมัธยมศึกษาซึ่งเป็นรุ่นแรกที่เข้าไปศึกษา ต้องมีการปรับตัวหลายอย่าง เนื่องจากเอกสารไม่มีอักษรเบรลล์ หลังจากนั้นสอบติดครุศาสตร์ จุฬา วิชาเอกภาษาไทยควบคู่ภาษาอังกฤษ หลังจากศึกษาจบมาเป็นครูที่โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ สอนได้ประมาณ 1 ปี ได้ทุนไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ สาขาแอพพลายด์ฟิสิกส์ ได้สมัครโปรแกรมอินเทนทิฟ ของมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ได้ประมาณ 7 เดือน หลังจากนั้นได้อยู่ที่ UNDP
         วันที่เข้าไปทำงานวันแรกรู้สึกตื่นเต้น เพราะต้องพยายามเรียนรู้ สร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม จะเดินไปแต่ละจุดไปอย่างไร หรือเรียกว่า O&M ต้องพยายามจำเสียงของเพื่อนร่วมงาน เป็นการฝึกมนุยสัมพันธ์ของตัวเอง การทำงานที่ UNDP มีความท้าทายอยู่เรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน อย่างแรกคือ เรื่องภาษา ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร การติดต่อ สองคือ การเข้าถึงของเอกสารหรือเทคโนโลยี เป็นความท้าทาย โดยเฉพาะในช่วงที่ทำงานที่บ้าน WFH การไม่ได้เจอตัว การติดต่อประสานงาน ผ่านทางอีเมล์และไลน์ ในส่วนการประชุมเป็นในลักษณะออนไลน์ เว็บไซต์บางเว็บไซต์ไม่สามารถเข้าไปอ่านได้ เนื่องจากต้องอาศัยตัวช่วยเสริม และต้องใช้เวลาในศึกษา และอีกหนึ่งทักษะที่กำลังเรียนรู้ คือ จะพยายามสื่อสารความต้องการจำเป็นของเราให้คนอื่นเข้าใจได้อย่างไร เป็นความท้าทายอีกอย่างหนึ่ง
          สัญญาที่ทำแค่ปีเดียว และเริ่มงานเมื่อปลายปีที่แล้ว ณ ตอนนี้ยังไม่ได้มองถึงเป้าหมาย แต่การทำงานที่นี่ทำให้รู้สึกว่า มีอะไรให้ได้เรียนรู้ ทุก ๆ วันที่ผ่านไป คือ ได้เรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น กฎ ระเบียบ ของ UN ภาษา เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทำให้สามารถทำงานกับคนอื่น ๆ ได้ และมีความท้าทายเข้ามาเรื่อย ๆ เนื้องานที่ทำกับคนพิการ ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับคนพิการในไทย หรือ ต่างประเทศ ส่วนในเรื่องของอนาคต อยากพบเจอในสิ่งที่ใช่สำหรับตัวเองและชอบ และมีความสุขกับมัน
          คุณณิชกานต์ เล่าเทคนิคศึกษาภาษาอังกฤษว่า เวลาเรียนภาษาอังกฤษ เรียนแค่ในห้องเรียน และเน้นเรียนแกรมม่า แต่ปัญหาคือ เวลาพูด พูดไม่ออก เขียนไม่ได้ ไม่สามารถดึงคำศัพท์ที่รู้มาใช้ได้ทันที พอไปเรียนปริญญาโท จะได้ภาษาอังกฤษจากการใช้จริง การฟังให้บ่อย และลองฝึกพูด ต้องสร้าง Output และ Input ซึ่งเป็นเทคนิคหรือกฎในการเรียนภาษาที่ 2 ทำให้รู้สึกว่า เวลาเรียนภาษาอังกฤษไม่ต้องเครียดว่าต้องท่องศัพท์ ตัดความกลัวออกไป แต่ต้องพยายามใช้ให้เยอะและให้รู้สึกสนุกเวลาใช้ภาษาอังกฤษ ถ้าฟังเพลงให้ฟังเพลงภาษาอังกฤษ หรือ ชอบดูหนังให้ดูหนังภาษาอังกฤษ

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก