ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“การทำงานของเครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ”

คุณสมพร สายกลิ่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมและบริการของเครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ และครูสอนดนตรีของสถาบัน Music inspired

          คุณสมพร  เล่าว่า เริ่มจากต้องการที่จะหาสถานที่ที่เรียนดนตรี โดยมีพื้นฐานกีต้าร์ แต่อยากเก่งมากขึ้น จึงหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตไปเจอโครงการพัฒนาทักษะด้านดนตรีที่เครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ ซึ่งทางเครือข่ายจัดขึ้นในช่วงประมาณกลางปี 2550 จึงสมัครเข้ามาเรียนกีต้าร์ในโครงการ ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่เปลี่ยนความรู้สึก จากเรียนเป็นอาสาสมัคร ทางทีมงานชักกชวนให้เข้าร่วมงานกับเครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ เลยได้ออกลาออกจากงานประจำ มาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ของเครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2553 ปัจจุบันนี้ 13 ปี
          เครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ เป็นกลุ่มคนพิการที่มารวมตัวกันด้วยความชอบในเรื่องของดนตรี ซึ่งไม่จำกัดประเภท ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2549 เกิดจากความตั้งใจอยากพัฒนาทักษะด้านดนตรี และพัฒนาศักยภาพของคนพิการ พร้อมทั้งทีอยากนำเสนอความสามารถ ผลงานของคนพิการให้เป็นที่รู้จักของสังคม เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสก้าวไปสู่สังคมและก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพในด้านดนตรี ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเด็กพิการ ให้การสนับสนุนพื้นที่ในการทำงานซึ่งมีห้องเล็ก ๆ เป็นห้องทำงาน และอีกห้องหนึ่งเป็นห้อง Studio เอาไว้ในการซ้อมดนตรี อัดเสียง ทำเพลงและใช้ในการสอนดนตรี ทำโครงการจัดฝึกอบรมด้านดนตรีให้กับกลุ่มคนพิการ เป็นโครงการที่ผสมผสานระหว่างคนไม่พิการกับคนพิการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนพิการและคนไม่พิการไปควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านดนตรี หลังฝึกอบรมได้สร้างผลงานในนามของ Human Station ส่งเสริมให้ให้ตัวนักร้องนักดนตรีที่ผ่านการฝึกอบรมมาได้ออกไปแสดงเป็นมินิคอนเสิร์ตโชว์ศักยภาพ เป็นอีกวันหนึ่งที่ที่ช่วยส่งเสริมเขาให้มีประสบการณ์ ได้รู้สึกว่าตัวเองมีวิธีในการแสดงออก เครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ มีโอกาสจัดงานคอนเสิร์ตใหญ่ เป็นมหกรรมดนตรีระดับนานาชาติ ชื่อว่า “ดนตรีวาตาบูชิ” จัดขึ้น ณ โรงละครแห่งชาติ ในปี 2555 โดยมีภาคีเครือข่ายคนพิการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกว่า 10 ประเทศให้เกียรติมาร่วมงาน
          มาตรา 33 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ได้สนับสนุนให้กลุ่มคนพิการที่ที่มีความสามารถด้านดนตรี แต่ไม่ได้มีศักยภาพถึงขนาดเป็นศิลปินชั้นแนวหน้าได้ แต่สามารถแตกแขนงงานหรือว่าคิดกิจกรรมทางด้านดนตรี ในรูปแบบที่เหมาะสมและทำให้เกิดการจ้างงานคนพิการ ตามที่ได้บัญญัติในกฎหมาย ช่วยให้เกิดการพัฒนาตัวเอง และมีรายได้ ซึ่งถือเป็นโอกาส โครงการชื่อว่า ดนตรีดลใจ เป็นตัวแทนการให้บริการทางด้านดนตรี โดยนำโครงการไปเสนอให้กับนายจ้าง ได้รับการจ้างงานจากมาตรา 35 จำนวน 10 คน ปัจจุบันนี้มีนักดนตรีคนพิการประมาณ 17 - 18 คน นายจ้างคือโรงพยาบาลสมิติเวช มีเรื่องของการบริการดนตรี เป็นการไปเล่นดนตรีให้กับทางโรงพยาบาล สถานที่ ที่ โรงพยาบาลสมิติเวช ที่ศรีนครินทร์ สุขุมวิท ชลบุรี อีกส่วนสอนดนตรีอยู่ที่ โรงเรียนศรีสังวาล ซึ่งเป็นลูกน้องนักเรียนที่เป็นกลุ่มของคนพิการ และอีกส่วนหนึ่งทำงาน ที่ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ เป็นเรื่องการเล่นดนตรีผ่อนคลายให้กับผู้ปกครองและน้อง ๆ เด็กพิการที่มารับบริการ และการฟื้นฟูที่มูลนิธิฯ กิจกรรมดนตรีเพื่อพัฒนาฟื้นฟูช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ซึ่งแบ่งเป็น 3 ทีม
          คุณสมพร ทิ้งท้ายว่า “ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เพจ เครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ ค้นหาได้ใน Facebook หรือเบอร์โทรศัพท์ 085 3379660 ตั้งอยู่ที่ เครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ (ศดพ.) ชั้น 2 อาคารมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ 546 ซอยลาดพร้าว 47 แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กทม. 10310 โทรศัพท์/โทรสาร: 02-539-9958, 02-539-2916 ต่อ 25, 08-5337-9660
 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก