ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“การขับเคลื่อนงานของเครือข่ายคนพิการรักสุขภาพ (ตอนที่ 2)”

บทสัมภาษณ์ : คุณวันเสาร์ ไชยกุล เลขาธิการเครือข่ายคนพิการรักสุขภาพ

          คุณวันเสาร์ กล่าวว่า การเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์ ซึ่งตอนนี้บริการของศูนย์ร่วมให้บริการสำหรับผู้ใช้บัตรทอง สามารถเข้าใช้บริการได้ทั้ง 3 ศูนย์ ส่วนค่าบริการไม่เสีย เพราะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการได้ และตอนนี้กำลังผลักดันให้สิทธิอื่น ๆ สามารถเข้ารับบริการได้ เช่น สิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม เรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพ เรื่องการฝึกทักษะการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานเข้าไปด้วย ซึ่งตอนนี้มีข้อจำกัดเฉพาะ 3 ศูนย์ที่เป็นของคนพิการ ซึ่งคนที่จัดต้องเป็นผู้ให้บริการที่ผ่านหลักสูตรผู้ให้บริการฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระ โดยเข้าเรียน 6 วัน ระหว่างเรียนมีการทำแบบทดสอบ เมื่อเรียนจบ ต้องทำกับเคส 3 เคส และต้องมีรายงาน ซึ่งมีคณะกรรมการหลักสูตรเป็นผู้ตรวจสอบ ในปีที่ผ่านมาให้บริการทางการแพทย์ 12 ท่าน ใน 3 ศูนย์ เนื่องจากเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่ภาคประชาชนโดยคนพิการเข้ามาจัดบริการทางการแพทย์ซึ่งไม่มีใครเคยทำ จึงยังไม่เน้นปริมาณ แต่ขอเน้นคุณภาพก่อน และมีการตั้งทีมประเมินขึ้น เพื่อติดตามการจัดบริการ และผลการจัดบริการฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระขั้นพื้นฐาน เป็นสิ่งที่คนพิการด้วยกันเข้าใจและรับรู้ว่าเป็นบริการที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงชีวิต จิตใจ
          ต้องขอบคุณ คุณหมอวัชรา เป็นฝ่ายวิชาการ และช่วยพัฒนาบริการ และพัฒนาหลักสูตรอบรมผู้ให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งคุณหมอพูดประโยคหนึ่งว่า “1.ต้องเข้าใจนะว่าบริการทางการแพทย์ที่จัดมันต้องไม่ทำลายระบบ คือ ต้องจัดบริการตามขั้นตอน 1 2 3 4 5 6 7 เพราะมีขั้นตอนแนวทางอยู่แล้ว 2.ผู้รับบริการที่มารับบริการจากเราต้องได้รับบริการตามขั้นตอนทุกอย่าง และต้องได้รับข้อมูลทุกอย่าง และต้องได้รับการคุ้มครองจากการจัดบริการของเรา” ฉะนั้น โจทย์ใหญ่คือ จะเป็นผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับมิติทางด้านสุขภาพ ถ้าจัดไม่ดีมันจะส่งผลกับระบบของเขา เพราะฉะนั้นจึงเน้นย้ำว่า จะไม่ทำลายระบบ ไม่ทำลายผู้รับบริการ เขาเป็นผู้รับบริการ เราเป็นผู้ให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน คุณหมอยกตัวอย่าง ถ้าเราเป็นคนไข้เข้าโรงพยาบาล เราอยากได้รับบริการอย่างไร ก็คิดกลับกันเมื่อเราเป็นผู้ให้บริการ เราต้องยึดคำนั้นไว้
          ในปีนี้งานที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การเชื่อมร้อยเครือข่ายการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความเข้มแข็งของเครือข่ายที่สนใจทำเรื่องสุขภาพ ให้มีความรู้ความเข้าใจในกลไกต่าง ๆ ของระบบสาธารณสุข กลไกต่าง ๆ ของ สปสช. หรือกลไกอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวช้องกับเรื่องสุขภาพ เพื่อให้เข้าใจ และสามารถเอาตัวเองเข้าไปทำงานเชื่อมต่อกับสิ่งเหล่านั้นได้ ข้อดีของกลไกสาธารณสุขคือ กลไกถูกสร้างไว้ดี ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับเขต คือทั่วประเทศแบ่งออกเป็น 13 เขต และยังมีในระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย คือสร้างความเข้าใจในกลไกต่าง ๆ เพื่อตนเองเข้าไปทำงานในกลไกที่มีอยู่แล้วได้ และอีกหนึ่งเรื่องคือ การเชื่อมร้อยเครือข่ายทำให้เห็นคนใหม่ ๆ ที่มีความสนใจการทำงานเรื่องสุขภาพ และเชื่อมโยงเครือข่ายคนพิการกับเครือข่ายภาคประชาชนให้ทำงานด้วยกัน ซึ่งภาคประชาชนเข้มแข็งอยู่แล้ว มีเครือข่ายที่ทำงานในพื้นที่ในท้องถิ่น ฉะนั้นการสร้างความเข้มแข็ง ร้อยเรียงเครือข่ายให้สามารถทำงานในกลไกหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้
          คุณวันเสาร์ ทิ้งท้ายว่า “ขอขอบคุณสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เพราะสภาฯ ทราวว่าคนทำเรื่องสุขภาพจริง ๆ ชวนให้มาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในทางการแพทย์ของคณะกรรมการ ขอบคุณสภาฯ ที่สนับสนุนอย่างเต็มที่ และเปิดโอกาสไม่ว่าจะปรึกษาเรื่องอะไร อยากขับเคลื่อนเรื่องอะไรช่วยเต็มที่ พยายามจะบอกว่าเครือข่ายไม่ใช่ขของเรา เป็นของคนทุกคน เราเป็นแค่คนกลางระหว่างคนที่อยากมาทำ วันหนึ่งอาจไม่ใช่เรา แต่เป็นคนที่พร้อมมาร่วมกันทำ ร่วมกันคิดแผนยุทธศาสตร์ ทำงานร่วมกันในอนาคต”

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181