ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“เพศศึกษากับคนพิการ ตอนที่ 2”

บทสัมภาษณ์ : คุณเทิดเกียรติ ฉายจรุง อาจารย์ประจำสาขาการศึกษาพิเศษและภาษาไทยคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และอดีตนักให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ สถาบันสิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์

          เทิดเกียรติ  ฉายจรุง เล่าว่า การสร้างครอบครัวของคนพิการ คนพิการไม่มีใครรักเราจริง เพราะฉะนั้นไม่ควรมีแฟน ไม่ควรมีครอบครัว เป็นคำเตือนที่อิงประวัติศาสตร์ ศาสนา นิทาน คนพิการจะได้รับการสงเคราะห์ การมองในมุมของเวทนานิยม ในบ้านเราถูกปลูกฝั่งในเรื่องศาสนา การให้การสงเคราะห์กลุ่มคนที่ด้อยกว่า แต่ในปัจจุบันคนพิการออกมาทำงานมากขึ้น มีอิสระในการใช้ชีวิต Indepemdent Living สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งคนพิการไม่จำเป็นต้องอาศัยวัด สถานสงเคราะห์ แต่หลาย ๆ คนพยายามดิ้นรนเพื่อดูแลตัวเองได้ สามารถออกนอกกรอบที่เคยสร้างไว้ได้ ด้วยเหตุนี้ ทำไมคนพิการไม่ควรมีครอบครัว การปรับเปลี่ยนเจตคติ ทัศนคติ แนวคิดใหม่ ๆ ว่า คนพิการคือบุคคลบุคคลหนึ่ง คนธรรมดาทั่วไป สามารถมีความรัก โลภ โกรธ หลง ได้ คนพิการไม่ใช่บุคคลที่อ่อนแอ ควรให้เกียรติคนพิการ แต่ถ้าเขาไม่ไหวค่อยยื่นมือเข้าไปช่วย

          จากข้อมูลการเลิกราของคนพิการหลังเกิดภาวะความพิการ มี 2 กลุ่ม คือ มาพบรักกันหลักจากเกิดความพิการ ไม่ว่าจะเป็นคนพิการกับคนพิการ หรือคนไม่พิการกับคนพิการ และ กลุ่มที่เลิกรากันหลังความพิการ สาเหตุเกิดจากเรื่องของความไม่เข้าใจที่เกิดขึ้นระหว่างคนพิการและคนไม่พิการ เป็นภาวะกดดันที่เกิดขึ้นในครอบครัว ยกตัวอย่าง ผู้ชายพิการ ผู้หญิงไม่พิการ สามารถปรับตัวเข้ากันได้เร็ว สามารถมีลูกสร้างครอบครัวและสามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยกันได้ แต่หากไม่สามารถปรับตัวได้ สิ่งแรกคนพิการเกิดภาวะกดดัน ทำให้ไม่สามารถยอมรับตัวเองได้ ผู้หญิงหรือคู่ครองมีความหวังว่า สามีต้องกลับมาเดินได้ รอประมาณ 3 เดือน ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้หญิงต้องดูแลทั้งลูกและสามี และยังภาระงานบ้าน และต้องหาเงินช่วยครอบครัว สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ นี่คือ ภาวะกดดันที่เกิดขึ้นนำไปสู่การเลิกรา ฉะนั้นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจ คือ การปรับตัวให้เร็วที่สุด พัฒนาตัวเองให้มากที่สุด ในอนาคตคุณจะเดินได้หรือไม่ได้ปล่อยไปก่อน จงมองเฉพาะปัจจุบัน สามารถดูแลครอบครัว สามารถประกอบอาชีพได้ชีวิตกลับมาโดยไว

          การดำรงชีวิตร่วมกัน คือ ความใส่ใจ ความเอาใจใส่ ความเข้าใจ คุณเข้าใจเขาและเขาเข้าใจคุณพอหรือยัง อย่าหลอกตัวเองว่าเข้าใจ ต้องเข้าใจว่า เขากิน อยู่ ใช้ชีวิ และคุณจะช่วยเสริมเขาได้อย่างไร ไม่ใช่เข้ามาเพื่อเป็นนางฟ้าเป็นเทวดาที่มาเติมเต็มสิ่งที่ขาด ควรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

          ฝากทิ้งท้ายว่า บางทีบางคนบางท่านประทับใจกับคนพิการ หรือผู้ใช้รถวีลแลร์ หรือผู้ที่บกพร่องทางด้านอื่น ๆ อาจจะประทับใจในตัวเขา แต่ยังลังเลว่าจะคุยกับเขาดีไหม หรือข้อบกพร่องเหล่านี้ เขามีผลต่อเรื่องของการมีครอบครัวหรือเปล่า อยากให้ทุกคนลองศึกษา พูดคุยกัน ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำความเข้าใจ แต่ไม่ใช่เรื่องที่คุยจะคิดไปเอง จนเกิดปัญหาในการเลิกรากันต่อไปในอนาคต ศึกษาเขา ศึกษาเราสามารถอยู่ร่วมกันได้ เพราะโลกนี้เป็นสังคมที่หลากหลาย พวกเราเป็นมนุษย์ในโลกใบเดียวกัน

 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก