ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“ฟุตบอลคนหูหนวก”

บทสัมภาษณ์ : คุณวัขรินทร์ ชาลี(ต้น) อดีตนักฟุตบอลทีมชาติคนหูหนวก และล่ามภาษามือคุณนุชริน รัญยะวิช

          คุณวัชรินทร์ เล่าว่า ผมเป็นพิธีกรอิสระ ทำเว็บไซต์การแปลข้อมูลภาษามือ อดีตเคยเป็นนักฟุตบอลทีมชาติคนหูหนวก ตอนแรกที่ได้รับโอกาสคือ ศึกษาที่ ราชภัฏสวนดุสิต จบปริญญาตรี สาขาครูการศึกษาพิเศษ เอกการศึกษาพิเศษ เคยได้เป็นครูประมาณ 2 ปี
          อยากให้เข้าใจว่า มุมมองของแต่ละคนที่มองคนพิการ ในฐานะคนพิการอาจจะกังวลว่าคนพิการเวลาทำงานจะต่างกับคนทั่วไป อาจจะทำงานแบบมีข้อจำกัด ทำงานได้เฉพาะงานง่าย ๆ คนทั่วไปมองแบบนี้ แต่ที่จริงแล้วคนพิการมีศักยภาพ ยกตัวอย่าง คนพิการมีความสามารถซึ่งแตกต่าง หลากหลาย อย่างผมกล้าที่จะออกไปลอง กล้าที่จะไปเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในระหว่างเพื่อนคนหูหนวกของผมมีความคิดที่แตกต่างกัน แต่ในส่วนตัวผม ผมชอบออกไปลองสิ่งใหม่ ๆ ชอบทำงานหลากหลาย แต่ครอบครัวห่วงผมเหมือนกัน แต่ในความห่วงมีความผลักดันให้ออกไปเรียนรู้และทำอะไรด้วยตนเอง แต่ครอบครัวคนพิการคนอื่นไม่ยอมให้ออกไปไหน ห้ามทุกอย่างที่ลูกควรจะทำได้ จนเขาคิดว่าเขาไม่สามารถทำอะไรได้เลย ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ แต่สำหรับผมโชคดีที่ เพราะผมกล้าที่จะทำ กล้าออกไป ไม่อาย และที่สำคัญครอบครัวสนับสนุน นี่คือความโชคดีของผม เวลาผมออกข้างนอก ผมเจอคนหูดี ตอนเรียนก็เรียนกับคนหูดีด้วย ในความรู้สึกผมมีเพื่อนได้ทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งมีความแตกต่างกัน เช่น วัฒนธรรมเพราะคนหูดีเวลาที่เจอออกมาเป็นท่าทางธรรมชาติ ไม่เน้นเนื้อหาได้ แต่เพื่อนที่เป็นคนหูหนวกเวลาเจอกันนัดเจอเป็นกลุ่มเล็ก ๆ คุยกันจะเน้นเนื้อหากว่าเพื่อนคนหูดี เพราะการสื่อสารกับคนหูหนวกเข้าใจกว่าคนหูดี
          ฟุตบอลคนหูหนวกมีทั้งแข่งในประเทศและต่างประเทศ ในอดีตแข่งในโรงเรียนเป็นกีฬาคนพิการใน 1 ปี สามารถจัดได้ 2 – 3 ครั้ง มี 8 ประเภทกีฬา ฟุตบอล 11 คน ฟุตซอล กติกาแข่งขัน ใช้กติกาการแข่งขันฟุตซอล ของ FIFA เป็นหลัก กรรมการในสนามมี 2 คน โดยกรรมการแต่ละคนแบ่งกันรับผิดชอบคนละครึ่งสนาม แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือ ในหนึ่งปีมีการจัดครั้งเดียว โปรแกรมการแข่งมีน้อยทำให้ความสนใจน้อยลงตามไปด้วย และมีสมาคมกีฬาคนหูหนวก แต่อยากให้มีการจัดแข่งขันโดยแบ่งระดับ 2 ระดับ เช่น โรงเรียน ประชาชนคนทั่วไป โดยแบ่งในระดับเยาวชน 1 ปี 2 ครั้ง มีแผนการจัดที่ชัดเจน หรือ แบ่งตามระดับชั้น มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 – 3 หรือ มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 – 6 ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีการจัดการแข่งขันอาจจะเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19
          คุณวัชรินทร์ ทิ้งท้ายว่า ผมเป็นล่ามแปลข้อมูลตามเว็บไซต์และล่ามอิสระ รวมถึงเป็นพิธีกรอิสระในรายการทีวีช่อง 5 ในอนาคตได้ร่วมมือกับทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำรายการ “คนหูหนวกยิ้มสู้โควิด” เพื่อให้คนหูหนวกได้รับความรู้เกี่ยวโรคโควิด และสามารถติดตามผลงานได้ที่ รายการ “D-มีดี”  ออกอากาศทุกเสาร์-อาทิตย์ ททบ.5 เวลา 18.00น. และสามารถติดต่อผ่านล่ามนุช โทร. 065 – 741 – 5455

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก