ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“เติมรักให้ครอบครัวของคนพิการ ตอนที่ 2”

บทสัมภาษณ์ : อาจารย์เทิดเกียรติ ฉายจรุง อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และ อดีตผู้ร่วมก่อตั้งคลินิกเติมรักของสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ออกอากาศ : วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563 รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

             ความมั่นใจในตัวเอง สำหรับคู่รักที่พึ่งเริ่มกันใหม่มันขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความผูกพันธ์กัน คนที่ต้องการผู้หญิงไปเป็นภรรยา คือต้องการแม่ศรีเรือนแต่ถ้าสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แล้วอยู่ด้วยกันได้ มีลูกได้ ไปไหนมาไหนด้วยกันได้ ผมเห็นหลายคู่แล้วอยู่ด้วยกันและแต่งงานกัน ยกตัวอย่างคนไข้ที่ผ่านการฟื้นฟูไปเมื่อเขาออกไปเขาก็ไม่ได้ทิ้งกัน บางคู่ก็แต่งงานกัน ผู้ชายกลุ่มแรกมีความมั่นใจจนล้น คือมีซ้ำแล้วซ้ำอีกตอนแรกอาจจะขาดความมั่นใจ อาจจะมองในกลุ่มคนพิการด้วยกันอยู่กันได้ แต่พอมาถึงจุดหนึ่งเมื่อรู้ว่าตัวเองสามารถมีอะไรกับผู้หญิงได้ มีอาชีพ หรือสามารถพูดคุยกับผู้หญิงปกติอื่น ๆ ได้
            การสร้างมั่นใจของคู่ชีวิต จะต้องมั่นใจว่าสิ่งที่ได้ไปจะได้สิ่งที่ดีไป ไม่ได้ภาระไป วิธีคือคุณอยู่ได้ด้วยตัวเองได้แล้ว คุณเลี้ยงปากท้องตัวเองได้ ค่อยกลับมาคิดที่จะมีครอบครัว แต่ถ้าตราบใดที่คุณยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ คุณยังขอเงินพ่อแม่ใช้อยู่ คุณยังอยู่ในบ้านของตัวเองยังอยู่กับพ่อแม่ คุณไปนอนฝันว่าคุณมีครอบครัวแต่คุณยังไม่ได้ทำอะไรเลยไม่มีประโยชน์ ถ้าคุณคิดจะมีครอบครัวคุณเอาสิ่งนี้มาสร้างเป็นแรงผลักดัน ว่าจะต้องออกไปทำอะไรสักอย่างเพื่อที่จะมีครอบครัวของตัวเอง ความมั่นคงและมั่นใจของคู่ชีวิตที่จะอยู่เป็นครอบครัวด้วยกัน ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เรียนรู้และเข้าใจกันทั้งสองฝ่าย
            ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยา ถ้าเป็นครอบครัวในเชิงชู้สาว และครอบครัวในเชิงพี่น้อง ครอบครัวในเชิงสามีภรรยามันสำคัญมาก การดำเนินชีวิตต่อไปในวันข้างหน้าคุณจะต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันต่อให้เป็นคนพิการคุณต้องให้เกียรติในฐานะสามีหรือภรรยา ไม่ใช่ฐานะความเวทนาสงสารหรือการสงเคราะห์ในฐานะของคนป่วย ฉะนั้นแล้วสิ่งที่จะประคับประคองครอบครัวไปสู่จุดหมาย และช่วยกันดำเนินชีวิตต่อไปหลังความพิการ คือ ความเข้าใจเท่านั้น เคยเป็นอย่างไรกลับมาเป็นอย่างเดิมให้ไวเท่านั้น เคยนอนด้วยกันกลับขึ้นไปนอนด้วยกันไม่ใช่แยกกันนอน
 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net/

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก