ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“กฎหมายแรงงาน”

บทสัมภาษณ์ : เสียงบรรยาย (กฤษณ์พงษ์ เตชะพลี) ออกอากาศ : วันอาทิตย์ที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

          การจ้างแรงงานมันคือสัญญา 2 ฝ่ายคือฝ่ายหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงเข้าทำงานกับอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่านายจ้างจ้างสัญญาหรือตกลงกันว่าจะให้ค่าจ้างเป็นการตอบแทนในการทำงานมีอยู่ 2 อย่างคือ 1 ตกลงเข้าทำงาน 2 นายจ้างสัญญาว่าจะให้ค่าตอบแทนหรือว่าทางชาวบ้านเรียกว่าค่าจ้าง 2 แบบ กำหนดระยะเวลาเพียง 1 วัน 1 สัปดาห์ 1 เดือนหรือ 1 ปี แล้วแต่สัญญา สัญญาประเภทนี้จะเลิกสัญญาก็ต่อเมื่อ เวลาหมดเวลาที่กำหนดไว้เลยระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาอีกแบบหนึ่งเรียกว่า สัญญาที่ไม่กำหนดระยะเวลาคืนจากกันไปจนตายจนกว่าจะเบื่อกันไปข้างหนึ่งอันนี้เรียกว่า สัญญาไม่มีกำหนดเงื่อนระยะเวลา คือจะได้จ้างเมื่อไหร่สัญญาประเภทนี้ คือเมื่อลูกจ้างหรือนายจ้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกกับอีกไปก็คือ สมมุติถ้าลูกจ้างอยากเปลี่ยนงานใหม่ อยากเปลี่ยนบริษัทใหม่ ว่าเดือนนี้ทั้งเดือนจะขอบอกเลิกสัญญา ไม่ใช่ว่าเดินไปบอกเลิกสัญญาได้เลย สัญญาประเภทนี้คือต้องรอให้การจ่ายเงินเดือนอีกงวดหนึ่ง คือการจ่ายค่าจ้างอีกงวดหนึ่งจะทำให้สัญญาสมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทจ่ายเงินเดือนทุกวันที่ 1 ของเดือน วันที่ 1 พฤษภาคม บอกเลิกว่าไม่อยากทำแล้วโทรศัพท์ไปขอบอกเลิกสัญญา ในฐานะนายจ้างผลของการเลิกจ้างเขาจะไปสิ้นสุดก็จะไปมีผลเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนอันนี้เป็นสัญญาแบบไม่มีเงื่อนระยะเวลา การเลิกสัญญาทั้ง 2 แบบนี้ เป็นสัญญาแบบปกติแบบไม่มีการผิดกฎหมายกันเลยแต่ไม่มีสัญญาอีกแบบหนึ่งก็คือ มันจะเลิกสัญญาแบบนี้ก็คือการตกลงกันเพื่อเลิกสัญญาหรือมีการไล่ออกกันเหมือนเราเคยได้ยิน    การประเมินไม่ผ่านบ้างทดลองงานเมื่อไม่ผ่านก็มีการเลิกจ้างเกิดขึ้นซึ่งการเลิกจ้างก็ยังมีกฎหมายอื่น ๆ มารองรับแต่ก่อนที่ผมจะไปลงรายละเอียดได้อะไรขนาดนั้น ต้องมาชี้แจงว่าการทำงานของทั้งสองคนมันมีฐานะในกฎหมายคนพิการที่มันแตกต่างกันมากของเขามา

          มาตรา 33 กฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเขาเขียนคำว่านายจ้างหรือผู้ประกอบการจะต้องจ้างคนพิการเข้าทำงานตามที่กฎกระทรวงกำหนดซึ่งกฎกระทรวงกำหนดว่า 100 คนของพนักงานทั่วไป 100 คนจะต้องจ้างคนพิการเข้าทำงาน 1 คนหรือถ้ามีพนักงาน 200 คนกต้องจ้างงานคนพิการเข้าทำงาน 2 คน ถ้ามีพนักงาน 251 คนขึ้นไปก็ต้องจ้างงานคนพิการ 3 คน เป็นต้น ผู้ประกอบการหรือนายจ้างจะต้องส่งเงินกองทุนสะสมเงินของตัวนายจ้าง เข้าสู่กองทุนคนพิการซึ่งเราก็รู้ดีว่ากองทุนคนพิการ เอาไปกู้ยืมประกอบอาชีพสำหรับคนพิการ อาจจะคุ้นเคยกันอยู่ไปกู้เงินมาประกอบอาชีพ สามารถเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากโครงการที่กองทุน ที่นายจ้างต้องส่งเงินให้กับกองทุนหากไม่จ้างคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 34 และมาตรา 35 คือเป็นทางเลือกให้กับนายจ้าง 1)หากนายจ้างไม่อยากจ้างลูกจ้างเข้ามาประจำในบริษัทก็คือเป็นตัวเลือกให้กับนายจ้างว่า เป็นการช่วยเหลือเพื่อให้คนพิการมีอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการให้สถานที่หรือทรัพย์สินในการให้สัมปทานให้คนพิการไปทำประโยชน์ ใครขายสลากกินแบ่งรัฐบาล เช่น ไปอยู่ตามหน้าห้างสรรพสินค้า ตามร้านสะดวกซื้อ ตามปั๊มน้ำมัน อันนี้เขาเรียกว่า เป็นการให้พื้นที่สัมปทานในการคนพิการมาประกอบอาชีพ 2)คือการจ้างเหมาบริการบุคคลโครงการจ้างเหมาบริการเป็นการให้งบประมาณในการจัดอบรมเพื่อฝึกอาชีพคนพิการ เช่น การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 kHz

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181