ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ ตอนที่ 2”

บทสัมภาษณ์ : คุณองอาจ แก่นทอง รองประธานมูลนิธิสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย และผู้อำนวยการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจังหวัดชลบุรี ออกอากาศ : วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

          ศูนย์ IL(ศูนย์ไอแอล) มี 2 หน้าที่หลัก คือ การพิทักษ์ และการให้บริการกับคนพิการ เรื่องพิทักษ์ถือเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นพิทักษ์สิทธิส่วนบุคคล เกี่ยวกับเรื่องบริการ อาจจะถูกละเมิดสิทธิของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิการรักษาพยาบาล หรือสิทธิระดับสังคม เวลาคนพิการออกสู่สังคมปัญหาเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทั้งที่มีกฎหมายระบุไว้ที่เอื้อต่อคนพิการที่ออกมาใช้ชีวิตในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการบางทีก็ไม่จัดสิ่งอำนวยความสะดวก ก็ทำให้คนพิการไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระในสังคม เป็นเรื่องสำคัญที่ทางศูนย์ไอแอลกำลังทำอยู่เรื่องการพิทักษ์สิทธิ

          การให้บริการ บริการข้อมูลข่าวสาร กฎมาย อาชีพ คนพิการสามารถมีอาชีพอะไรได้บ้าง ตอนนี้ก็มีเรื่องการจ้างงานคนพิการ และมีการให้ข้อมูลข่าวสารแก่คนพิการทำให้สามารถรู้ข้อมูล รู้ว่ามีสิทธิอะไร เรื่องสำคัญที่เป็นบริการของไอแอล คือ เรื่องบริการให้คำปรึกษาฉันเพื่อน ถือว่าเป็นจุดเด่นของไอแอล คือการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างคนพิการกับคนพิการด้วยกัน โดยการพูดคุยไม่ได้คุยว่าใครเหนือกว่าใคร หรือใครรู้มากกว่าใคร เป็นการพูดคุยด้วยความเท่าเทียมกันในแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ช่วยเหลือกันในด้านจิตใจ ทำให้คนพิการเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง บางสิ่งทำให้คนพิการกล้าคิดและกล้าตัดสินใจด้วยตนเอง คนพิการบางทีเกิดความกดดันในตัวเองภายในจิตใจ เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ต้องนอนอยู่กับบ้านมันมีความเก็บกด กดดันอยู่ภายใน ครอบครัวอาจจะคิดว่าพิการขนาดนี้ไม่ต้องคิดและตัดสินใจอะไร คนพิการอยากจะออกความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องภายในบ้าน ไม่มีใครรับฟัง คนพิการเองก็เกิดความน้อยใจ กดดันคนในครอบครัวไม่ให้ความสนใจเหมือนตอนที่ยังไม่พิการ ปิดกั้นความคิดเห็น อย่างนี้การได้พูดคุยกันระหว่างคนพิการด้วยกัน

          แนวคิดของไอแอลที่เป็นหัวใจสำคัญ จะให้ตัวคนพิการคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง คนพิการที่เป็นคณะทำงานหรือคนพิการต้นแบบไม่สามารถบังคับ ชี้นำให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้ อาจจะให้ข้อมูลคนพิการต้นแบบให้เขาได้เห็น แต่เราไม่สามารถไปบังคับเขาได้ เพราะฉะนั้นกระบวนการบางคนยังไม่พร้อมทางด้านจิตใจก็ต้องใช้เวลา บางคนก็ใช้เวลาเป็นปีที่จะทำให้เขารู้สึกอยากเปลี่ยนแปลงตนเอง บางคนติดสบายกับครอบครัว ครอบครัวดูแลทุกอย่างอยากได้อะไรเอ่ยปากครอบครัวก็หามาให้

          เรื่องบริการผู้ช่วยคนพิการเป็นอีกบริการของศูนย์ไอแอล ตัวผู้ช่วยคนพิการต้องผ่านการอบรมเรื่องแนวคิดไอแอล ถ้าเป็นผู้ช่วยคนพิการจากทางภาครัฐให้การสนับสนุน ตัวผู้ช่วยต้องผ่านการอบรมจากหน่วยงานภาครัฐ รู้เรื่องการช่วยเหลือคนพิการ โดยได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ปัจจุบันนี้ผู้ช่วยยังไม่มีความเพียงพอกับความต้องการ แต่ก็เป็นจุดเริ่มที่ดีภาครัฐเริ่มเห็นความสำคัญ ยกตัวอย่างการฝึกทักษะการย้ายตัวผู้ช่วยก็จะมาคอยระวัง ผู้ช่วยต้องมีความเข้าใจแนวคิดไอแอล ช่วยสนับสนุนตามความต้องการของคนพิการ ผู้ช่วยไม่มีสิทธิคิดและตัดสินใจแทนคนพิการแต่อาจจะพูดคุยกันได้ถ้ามองแล้วว่าอันตรายสำหรับคนพิการ สุดท้ายแล้วต้องเกิดจากตัวคนพิการเอง

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 kHz

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181